ฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ (E-Thesis) SNRU

สืบค้นเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) จากฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ (Thesis Database) ของบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร

ชื่อวิทยานิพนธ์
ปัจจัยการบริหารที่ส่งผลต่อประสิทธิผลการบริหารงานวิชาการในโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษามุกดาหาร
Administrative Factors Affecting the Effectiveness of Academic Affairs Administration in Schools under Mukdahan Primary Educational Service Area Office
ผู้จัดทำ
กิตติชัย อาจหาญ รหัส 63421229103 ระดับ ป.โท ภาคพิเศษ
หลักสูตร
ครุศาสตรมหาบัณฑิต (ค.ม.) สาขาวิชา การบริหารการศึกษา
ปี พ.ศ.
2565
ที่ปรึกษา
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.เพลินพิศ ธรรมรัตน์ , ดร.เยาวลักษณ์ สุตะโคตร
บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อศึกษา เปรียบเทียบ ศึกษาความสัมพันธ์ ศึกษาอำนาจพยากรณ์  และหาแนวทางการพัฒนาปัจจัยการบริหารที่ส่งผลต่อประสิทธิผลการบริหารงานวิชาการในโรงเรียน  สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษามุกดาหาร  ตามความคิดเห็นของผู้บริหารโรงเรียนและครูผู้สอน จำแนกตามสถานภาพการดำรงตำแหน่ง ประสบการณ์ในการปฏิบัติงาน และขนาดของโรงเรียน การวิจัยในครั้งนี้เป็นงานวิจัยเชิงสหสัมพันธ์ กลุ่มตัวอย่างได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษาครูผู้สอนในปีการศึกษา 2564  จำนวน  353 คน จำแนกเป็นผู้บริหารสถานศึกษา จำนวน 98 คน ครูผู้สอน  จำนวน  255 คน จากจำนวน  98  โรงเรียน  กำหนดขนาดของกลุ่มตัวอย่างโดยใช้ตารางของเครจซี่และมอร์แกน  และสุ่มแบบหลายขั้นตอน เครื่องมือที่ใช้  ได้แก่ แบบสอบถาม และแบบสัมภาษณ์ คุณภาพของแบบสอบถามทั้งฉบับมีค่าอำนาจจำแนก อยู่ระหว่าง 0.239 - 0.690 และมีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.946 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน  สถิติทดสอบค่าที (t-test) ชนิด Independent Samples  การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์อย่างง่ายของเพียร์สัน และ การวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณแต่ละขั้นตอน 

ผลการวิจัยพบว่า

1. ปัจจัยการบริหารโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษามุกดาหาร โดยรวมอยู่ในระดับมาก

2. ประสิทธิผลการบริหารงานวิชาการในโรงเรียน  สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษามุกดาหาร โดยรวมอยู่ในระดับมาก

3. ปัจจัยการบริหารโรงเรียน พบว่า จำแนกตามสถานภาพการดำรงตำแหน่งโดยรวมแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 จำแนกตามประสบการณ์ในการปฏิบัติงานโดยรวมไม่แตกต่างกัน และจำแนกตามขนาดของโรงเรียนโดยรวมแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05  

4. ประสิทธิผลการบริหารโรงเรียน พบว่า จำแนกตามสถานภาพการดำรงตำแหน่ง โดยรวมแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 จำแนกตามประสบการณ์ในการปฏิบัติงานโดยรวมไม่แตกต่างกัน  จำแนกตามขนาดของโรงเรียนโดยรวมไม่แตกต่างกัน 

5. ปัจจัยการบริหารโรงเรียนและประสิทธิผลการบริหารโรงเรียนมีความสัมพันธ์ทางบวก อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 โดยมีความสัมพันธ์ระดับสูงมาก  

6. ปัจจัยการบริหารโรงเรียนที่สามารถพยากรณ์ประสิทธิผลการบริหารโรงเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 คือ ด้านภาวะผู้นำ (X1)  ด้านงบประมาณ (X2)  ด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ (X5)  โดยอำนาจพยากรณ์ได้ร้อยละ 71.9 และมีความคลาดเคลื่อนมาตรฐานของการพยากรณ์เท่ากับ  ±0.20345

7. การวิจัยในครั้งนี้ได้นำเสนอแนวทางการพัฒนาปัจจัยการบริหารโรงเรียน จำนวน 3 ด้าน คือ 1) ด้านภาวะผู้นำ ได้แก่ ผู้บริหารโรงเรียนมีวิสัยทัศน์กว้างไกล ใช้หลักเหตุผลในการบริหารงานในโรงเรียน 2) ด้านงบประมาณ ได้แก่ ผู้บริหารโรงเรียนมีระบบ บัญชี และวิธีการต่าง ๆ ในการตรวจสอบการใช้จ่ายเงิน มีการวางแผนการใช้งบประมาณให้มีประสิทธิภาพเป็นไปตามมาตรฐาน และ 3) ด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ ได้แก่ ผู้บริหารโรงเรียนส่งเสริมให้มีการอบรมเกี่ยวกับการใช้สื่อเทคโนโลยีสารสนเทศในการจัดการเรียน การสอน 
 

Abstract

The objectives of this correlation research were to examine, compare, determine the relationship, identify the predictive power, and establish guidelines  for developing administrative factors affecting the effectiveness of academic affairs administration in schools under Mukdahan Primary Educational Service Area Office (PESAO), classified by participants’ positions, work experience, and school sizes. The sample group consisted of 98 school administrators and 255 teachers from 98 schools in the 2021 academic year, yielding a total of 353 participants selected using multi-stage random sampling and Krejcie and Morgan’s determination of sample size. The tools included a set of questionnaires with the discriminative power ranging from 0.239 to 0.690, and the reliability of 0.946, and structured interview forms. Statistics for data analysis were frequency, percentage, mean, standard deviation, Independent Samples t-test, One-Way ANOVA, Pearson’s product-moment correlation coefficient, and Stepwise multiple regression analysis.

The findings were as follows:

1. The school administrative factors in schools under Mukdahan PESAO as perceived by participants were overall at a high level.

2. The effectiveness of academic affairs administration in schools under Mukdahan PESAO as perceived by participants was overall at a high level.

3. The overall school administrative factors, as perceived by participants with different positions and school sizes, differed at the .05 level of significance, whereas in terms of work experience, overall, there were no differences.

4. The overall effectiveness of academic affairs administration in schools, as perceived by participants with positions, was different at the .01 level of significance, whereas in terms of work experience and school sizes, overall, there were no differences.

5. The school administrative factors and the effectiveness of academic affairs administration in schools had a positive relationship at the highest level with the .01 level of significance.

6. The school administrative factors, namely leadership (X1), budgeting and planning (X2), and information technology (X5), were able to predict the effectiveness of academic affairs administration in schools at the .01 level of significance with the predictive power of 71.9 percent and the standard error of estimate of ± 0.20345. 

7. The guidelines for developing the school administrative factors consisted of three aspects: 1) Leadership. Administrators should have a wide vision and apply the principle of reasoning in school administration; 2) Budgeting and Planning. Administrators should implement various accounting systems and methods for financial auditing and set up efficient budget planning to meet its standards, and 3) Information Technology. School administrators should promote training activities involving media, and the use of information technology in teaching and learning management.
 

คำสำคัญ
ปัจจัยการบริหารโรงเรียน ประสิทธิผลการบริหารงานวิชาการ
Keywords
School Administrative Factors, Effectiveness of Academic Affairs Administration
ไฟล์วิทยานิพนธ์
ลำดับที่ ดาวน์โหลดไฟล์ ขนาดไฟล์
1 fulltext 6,689.14 KB
วันที่นำเข้าข้อมูล
10 พฤษภาคม 2566 - 13:52:15
View 494 ครั้ง


^