ฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ (E-Thesis) SNRU

สืบค้นเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) จากฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ (Thesis Database) ของบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร

ชื่อวิทยานิพนธ์
คุณลักษณะผู้บริหารมืออาชีพที่ส่งผลต่อประสิทธิผลการบริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 1
Characteristics of Professional Administrators Affecting The Effectiveness of School Administration under Sakon Nakhon Primary Educational Service Area Office 1
ผู้จัดทำ
กฤษณพงษ์ ศรีทรัพย์ รหัส 63421229105 ระดับ ป.โท ภาคพิเศษ
หลักสูตร
ครุศาสตรมหาบัณฑิต (ค.ม.) สาขาวิชา การบริหารการศึกษา
ปี พ.ศ.
2565
ที่ปรึกษา
ดร.สุรัตน์ ดวงชาทม , ดร.เพ็ญผกา ปัญจนะ
บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมาย เพื่อศึกษา เปรียบเทียบ หาความสัมพันธ์ หาอำนาจพยากรณ์ และหาแนวทางการพัฒนาคุณลักษณะผู้บริหารมืออาชีพที่ส่งผลต่อประสิทธิผลการบริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 1 กลุ่มตัวอย่างประกอบด้วย ผู้บริหารสถานศึกษาและครูผู้สอน ปีการศึกษา 2564 จำนวน 384 คน การกำหนดกลุ่มตัวอย่างใช้ตารางของ Krejcie and Morgan วิธีการเลือกกลุ่มตัวอย่างใช้การสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน (Multi – Stage Random Sampling) โดยใช้โรงเรียนเป็นหน่วยการสุ่ม จำแนกเป็นผู้บริหารสถานศึกษา จำนวน 99 คน และครูผู้สอน จำนวน 285 คน จาก 99 โรงเรียน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถาม มาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ ประกอบด้วย แบบสอบถามคุณลักษณะผู้บริหารมืออาชีพ ค่าอำนาจจำแนกอยู่ระหว่าง .537 – .806 และมีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ .967 และแบบสอบถามประสิทธิผลการบริหารสถานศึกษา มีค่าอำนาจจำแนก อยู่ระหว่าง .465 – .790 และมีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ .959 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ทดสอบค่าที (t-test) และการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว  (One-Way ANOVA) การวิเคราะห์ค่าสัมประสิทธิสหสัมพันธ์ อย่างง่ายของเพียร์สัน (Pearson’s Product - Moment Correlation Coefficient) และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณแบบเป็นขั้นตอน (Stepwise Multiple Regression Analysis)

ผลการวิจัย พบว่า

1. คุณลักษณะของผู้บริหารมืออาชีพ โดยรวมอยู่ในระดับมาก

2. ประสิทธิผลการบริหารสถานศึกษา โดยรวมอยู่ในระดับมาก

3. คุณลักษณะผู้บริหารมืออาชีพ จำแนกตามสถานภาพการดำรงตำแหน่ง ประสบการณ์ในการบริหารของของผู้บริหารสถานศึกษาและขนาดของโรงเรียน 
ไม่แตกต่างกัน

4. ประสิทธิผลการบริหารสถานศึกษา จำแนกตามสถานภาพการดำรงตำแหน่ง ประสบการณ์ในการบริหารของของผู้บริหารสถานศึกษาและขนาดของโรงเรียน ไม่แตกต่างกัน 

5. ความสัมพันธ์ระหว่างคุณลักษณะผู้บริหารมืออาชีพและประสิทธิผลการบริหารสถานศึกษาโดยรวม พบว่ามีความสัมพันธ์กันทางบวก อยู่ในระดับสูงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 โดยมีความสัมพันธ์อยู่ในระดับสูง (rxy= .875)  

6. คุณะลักษณะผู้บริหารมืออาชีพที่สามารถพยากรณ์ประสิทธิผลการบริหารสถานศึกษา จำนวน 4 ด้าน ได้แก่ ด้านวิสัยทัศน์กว้างไกล (X3)  ด้านภาวะผู้นำและเป็นผู้นำการเปลี่ยนแปลง (X6)  ด้านทักษะการบริหารจัดการที่ดีแบบผู้บริหารยุคใหม่ (X2) และด้านทักษะการสื่อสารและมนุษยสัมพันธ์ที่ดี (X5) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ระดับ .01 สามารถร่วมกันพยากรณ์ประสิทธิผลการบริหารสถานศึกษาได้ร้อยละ 78.40 และมีความคลาดเคลื่อนมาตรฐานของการพยากรณ์เท่ากับ ±.182008

7. แนวทางการพัฒนาคุณลักษณะผู้บริหารมืออาชีพที่ส่งผลต่อประสิทธิผล การบริหารสถานศึกษา มีจำนวน 4 ด้าน ได้แก่ 1) ด้านวิสัยทัศน์กว้างไกลผู้บริหารสถานศึกษาควรพัฒนาวิสัยทัศน์ มีจุดเริ่มต้นจากความคิดที่สร้างสรรค์ คิดอย่างมีจินตนาการ ศึกษาต่อในระดับที่สูงขึ้น 2) ด้านภาวะผู้นำและเป็นผู้นำการเปลี่ยนแปลง ผู้บริหารสถานศึกษา ควรพัฒนาภาวะผู้นำไปสู่การเป็นผู้นำการเปลี่ยนแปลง นำไปสู่ การพัฒนาในทุก ๆ งาน นำเอาเทคโนโลยีดิจิทัลมาใช้ในการบริหารทั้ง 4 ด้าน 3) ด้านทักษะการบริหารจัดการที่ดีแบบผู้บริหารยุคใหม่ ผู้บริหารสถานศึกษา ควรพัฒนาการคิดเชิงวิสัยทัศน์ การคิดวิเคราะห์ การคิดเชิงอนาคต นำสิ่งนั้นมาจัดแผนปฏิบัติ เพื่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในการบริหารจัดการในการบริหารสถานศึกษา และ 4) ด้านทักษะการสื่อสารและมนุษยสัมพันธ์ที่ดี ผู้บริหารสถานศึกษา ควรพัฒนาทักษะ การพูด การฟัง การเขียน ทางภาษาที่ดี นำเทคโนโลยีมาประกอบการสื่อสาร
 

Abstract

The purposes of this research were to examine, compare, determine the relationship, identify the predictive power and establish guidelines fro developing the characteristics of professional administrators influencing the effectiveness of educational institution administration under Sakon Nakhon Primary Educational Service Area Office 1.   The sample size was estimated 384 paarticipants by using Krejcie and Morgan Table and multi-stage random sampling using schools as the sampling unit was used to select 99 school administrators and 285 teachers from 99 schools. The research tool included two sets of 5-Likert rating scale questionnairs consisting of a set of questionnaires on characteristics of professional administrators with the predictive power between 0.537 and 0.806 and reliability value of 0.967 and a set of questionnaires on the effectiveness of educational institution administration with the predictive power between 0.465 and 0.790 and the reliability of 0.959. The statistics for data analysis were frequency, percentage, mean, standard deviation, t-test and One-Way ANOVA, Pearson’s product - moment correlation coefficient and Stepwise multiple regression analysis.

The findings were as follows:

1. The characteristics of professional administrators were overall at a high level.

2. The effectiveness of educational institution administration was overall at a high level.

3. The characteristics of professional administrators, classified by positions,  administrative experiences of school administrators, and school sizes showed no differences.

4. The effectiveness of school administration, classified by positions,  administrative experiences of school administrators, and school sizes showed no differences.

5. The overall relationship between the characteristics of professional administrators and the effectiveness of educational institution administration was  positive at the .01 level of significance with a high level (rxy= .875).  

6. The characteristics of professional administrators that could predict the effectiveness of educational institution administration comprised four aspects as follows: wide visions (X3), leadership and transformational leaders (X6), good management skills of modern administrators (X2), and good communication and interpersonal skills (X5)  at the .01 level of significance. The said variables were able jointly predict the effectiveness if educational institution administration at 78.40 percent with a standard error of estimate of ±.182008.

7. The guidelines for developing characteristics of professional administrators influencing the effectiveness of educational institution administration consisted of four aspects as follows: 1) Wide visions, school administrators should develop visions starting from thinking creatively, thinking through the imagination, and pursuing higher education; 2) Leadership and transformational leaders, school administrators should develop transformational leaders leading to task development, and implement digital technology in four aspects of administration; 3) Good management skills of modern administrators, school administrators should develop their visionary, analytical, and futuristic thinking and translate them into performance plans to effectuate changes in administrative management for school administration; and  4) Good communication and interpersonal skills, school administrators should improve good language speaking, listening, and writing skills and use technology to support communication.
 

คำสำคัญ
คุณลักษณะผู้บริหารสถานศึกษามืออาชีพ ประสิทธิผลการบริหารสถานศึกษา
Keywords
Characteristics of Professional Administrators, Effectiveness of Educational Institution Administration
ไฟล์วิทยานิพนธ์
ลำดับที่ ดาวน์โหลดไฟล์ ขนาดไฟล์
1 fulltext 12,454.08 KB
วันที่นำเข้าข้อมูล
10 ตุลาคม 2565 - 11:13:17
View 1007 ครั้ง


^