ฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ (E-Thesis) SNRU

สืบค้นเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) จากฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ (Thesis Database) ของบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร

ชื่อวิทยานิพนธ์
ปัจจัยทางการบริหารที่ส่งผลต่อประสิทธิผลการบริหารงาน วิชาการของโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา มัธยมศึกษานครพนม
Administrative Factors Affecting Effectiveness of Academic Affairs Administration of Schools under the Secondary Educational Service Area Office Nakhon Phanom
ผู้จัดทำ
แคทรียา บุตรศรีผา รหัส 63421229107 ระดับ ป.โท ภาคพิเศษ
หลักสูตร
ครุศาสตรมหาบัณฑิต (ค.ม.) สาขาวิชา การบริหารการศึกษา
ปี พ.ศ.
2565
ที่ปรึกษา
รองศาสตราจารย์ ดร.ศิกานต์ เพียรธัญญกรณ์ , ดร.รัชฎาพร งอยภูธร
บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อศึกษา เปรียบเทียบ หาความสัมพันธ์ หาอำนาจพยากรณ์ของปัจจัยทางการบริหารที่มีผลต่อประสิทธิผลการบริหารงานวิชาการของโรงเรียน และหาแนวทางการพัฒนาปัจจัยทางการบริหารที่ส่งผลต่อประสิทธิผลการบริหารงานวิชาการของโรงเรียน กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้บริหารโรงเรียน และครูผู้สอน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษานครพนม ประจำปีการศึกษา 2563 ผู้วิจัยได้กำหนดกลุ่มตัวอย่างโดยใช้ตารางสำเร็จรูปของ Krejcie and Morgan ได้กลุ่มตัวอย่าง จำนวน  339 คน ประกอบด้วย ผู้บริหารจำนวน 51 คน และครู จำนวน 288 คน การสุ่มกลุ่มตัวอย่าง ใช้การสุ่มหลายขั้นตอน (Multi-stage Random sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถามเกี่ยวกับปัจจัยทางการบริหารของโรงเรียน มีค่าอำนาจจำแนกอยู่ระหว่าง .230-.844 และค่าความเชื่อมั่น เท่ากับ .955 และประสิทธิผลการบริหารงานวิชาการของโรงเรียน มีค่าอำนาจจำแนกอยู่ระหว่าง .230-.913 และค่าความเชื่อมั่น เท่ากับ .937 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ทดสอบค่าที (t-test) ชนิด Independent Samples การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One-Way ANOVA) ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์อย่างง่าย ของเพียร์สัน (Pearson’s Product-Moment Correlation Coefficient) และการวิเคราะห์ การถดถอยพหุคูณแต่ละขั้นตอน (Stepwise Multiple Regression Analysis) 

ผลการวิจัย พบว่า

1. ปัจจัยทางการบริหารของโรงเรียน ตามความคิดเห็นของผู้บริหารสถานศึกษาและครูผู้สอน อยู่ในระดับมาก

2. ประสิทธิผลการบริหารงานวิชาการของโรงเรียน ตามความคิดเห็นของผู้บริหารสถานศึกษาและครูผู้สอน อยู่ในระดับมาก

3. ปัจจัยทางการบริหารของโรงเรียน จำแนกตามสภาพการดำรงตำแหน่ง โดยรวมและรายด้านไม่แตกต่างกัน จำแนกตามขนาดของโรงเรียนโดยรวมและรายด้านแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01

4. ประสิทธิผลการบริหารงานวิชาการของโรงเรียน จำแนกตามสถานภาพการดำรงตำแหน่งโดยรวมและรายด้าน ทุกด้านไม่แตกต่างกัน จำแนกตามขนาดของโรงเรียน โดยรวมและรายด้าน แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ .01

5. ปัจจัยทางการบริหารและประสิทธิผลการบริหารงานวิชาการของโรงเรียน ภาพรวมและรายด้านมีความสัมพันธ์กันทางบวกอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 โดยมีความสัมพันธ์ระดับสูง (rxy= .784) 

6. ปัจจัยทางการบริหารของโรงเรียน ด้านครูผู้สอน  ด้านผู้บริหาร และ ด้านผู้ปกครองและชุมชน มีอำนาจพยากรณ์ประสิทธิผลการบริหารงานวิชาการของโรงเรียน โดยรวม ได้มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 โดยพยากรณ์ร้อยละ 67.2 และมีค่าความคลาดเคลื่อนมาตรฐานของการพยากรณ์เท่ากับ ±.20601 

7. ในการวิจัยในครั้งนี้ได้นำเสนอแนวทางยกระดับปัจจัยทางการบริหาร 3 ด้าน ที่ส่งผลต่อประสิทธิผลการบริหารงานวิชาการของโรงเรียน ดังนี้ คือ
            7.1 ด้านครูผู้สอน ครูผู้สอนควรเป็นครูคุณภาพ เชี่ยวชาญในการจัดการเรียนรู้ทั้ง Onsite และ Online และเป็นแบบอย่างที่ดี สามารถขับเคลื่อนกระบวนการปฏิรูปการศึกษาอย่างต่อเนื่องและจริงจัง มีการสร้างชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (PLC)
            7.2 ด้านผู้บริหาร  ผู้บริหารควรเข้าใจโลกของการเปลี่ยนแปลงและผู้บริหารต้องเป็นตัวแบบที่ดีในการพัฒนาค้นคว้า แสดงให้เห็นถึงการพัฒนาตนเองในด้านต่าง ๆ เป็นต้นแบบให้กับครูและนักเรียน
            7.3 ด้านผู้ปกครองและชุมชน ผู้ปกครองและชุมชนควรคอยสอดส่องดูแล สนับสนุนด้านงบประมาณ ด้านเวลา สื่อการเรียน และมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษาร่วมกับโรงเรียน 
 

Abstract

The purposes of this research aimed to examine, compare, identify the relationship, determine the predictive power of administrative factors affecting the effectiveness of schools’ academic affairs administration, and establish guidelines for developing administrative factors affecting the effectiveness of schools’ academic affairs administration. The sample group, obtained through multi-stage random sampling, consisted of a total of 339 participants, including 51 administrators and 288 teachers working in schools under the Secondary Educational Service Area Office Nakhon Nahanom in the academic year 2020. The sample size was determined using Krejcie and Morgan’s table. The tool for data collection was a set of questionnaires, divided into two parts: school administrative factors with the discriminative power ranging between .230 and .844 and the reliability of .955, the effectiveness of schools’ academic affairs administration with the discriminative power values between .230-.913 and the reliability of .937. Statistics for data analysis were mean, standard deviation, t-test for Independent Samples, One-Way ANOVA, Pearson’s product-moment correlation coefficient, and Stepwise multiple regression analysis

The findings were as follows:

1. The administrative factors in schools as perceived by school administrators and teachers were at a high level.

2. The effectiveness of schools’ academic affairs administration as perceived by school administrators and teachers was at a high level.

3. The administrative factors in schools, classified by positions as a whole and each aspect showed no differences. In terms of school sizes, as a whole and in each aspect there were differences at the .01 level of significance.

4. The effectiveness of schools’ academic affairs administration, classified by positions as a whole and in each aspect showed no differences. In terms of school sizes, as a whole and each aspect, there was differed at the .01 level of significance.

5. The administrative factors and the effectiveness of academic affairs administration in schools as a whole and each aspect had a positive correlation at the .01 level of significance with a hight level (rxy= .784)   

6. The schools’ administrative factors in terms of teachers, administrators, and parents and communities as a whole were able to predict the effectiveness of schools’ academic affairs administration at the .01 level of significance, with 67.2 percent and the standard error of estimate of ±.20601.

7. The guidelines were proposed for improving the level of administrative factors in three aspects as follows:
        7.1 Teachers should be qualified and specialized in both onsite and online learning management, good role models as the driving force of continuous and active support for education reform and to build Professional Learning Communities (PLCs). 
        7.2 Administrators should understand the changes in the contemporary world and be good role models for teachers and students for a search for information and development to demonstrate self-development in various professional aspects.
        7.3 Parents and communities are required to monitor school budgeting, provide support in terms of budget, time, and learning materials, and participate in education management along with schools.
 

คำสำคัญ
ปัจจัยทางการบริหาร ประสิทธิผลการบริหารงานวิชาการของโรงเรียน
Keywords
Administrative Factors, Effectiveness of Academic Affairs Administration
ไฟล์วิทยานิพนธ์
ลำดับที่ ดาวน์โหลดไฟล์ ขนาดไฟล์
1 fulltext 7,452.50 KB
วันที่นำเข้าข้อมูล
10 ตุลาคม 2565 - 11:15:44
View 500 ครั้ง


^