ฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ (E-Thesis) SNRU

สืบค้นเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) จากฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ (Thesis Database) ของบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร

ชื่อวิทยานิพนธ์
ปัจจัยการบริหารที่ส่งผลต่อประสิทธิผลการดำเนินงานกิจการนักเรียน ของโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสกลนคร
Administrative Factors Affecting the Operational Effectiveness of Student Affairs of Schools under the Secondary Educational Service Area Office Sakon Nakhon
ผู้จัดทำ
สุกัญญา นามธรรม รหัส 63421229108 ระดับ ป.โท ภาคพิเศษ
หลักสูตร
ครุศาสตรมหาบัณฑิต (ค.ม.) สาขาวิชา การบริหารการศึกษา
ปี พ.ศ.
2565
ที่ปรึกษา
ดร.เยาวลักษณ์ สุตะโคตร , รองศาสตราจารย์ ดร.ศิกานต์ เพียรธัญญกรณ์
บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อศึกษา เปรียบเทียบ หาความสัมพันธ์ และ หาอำนาจพยากรณ์ของปัจจัยทางการบริหารที่ส่งผลต่อประสิทธิผลการดำเนินงานกิจการนักเรียนของโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสกลนคร ตามความ คิดเห็นของผู้บริหารสถานศึกษา ครูผู้สอนที่รับผิดชอบงานกิจการนักเรียน และครูผู้สอนที่ไม่ได้รับผิดชอบงานกิจการนักเรียน จำแนกตามสถานภาพการดำรงตำแหน่งและขนาดของโรงเรียนที่ต่างกัน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยในครั้งนี้ ประกอบด้วย ผู้บริหารสถานศึกษา ครูผู้สอนที่รับผิดชอบงานกิจการนักเรียน และครูผู้สอนที่ไม่ได้รับผิดชอบงานกิจการนักเรียนในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสกลนคร จำนวน 339 คน จำแนกเป็นผู้บริหารสถานศึกษา จำนวน 98 คน ครูผู้สอนที่รับผิดชอบงานกิจการนักเรียน จำนวน 98 คน และครูผู้สอนที่ไม่ได้รับผิดชอบงานกิจการนักเรียน จำนวน 143 คน การกำหนดขนาดของกลุ่มตัวอย่างใช้ตารางของ Krejcie and Morgan และเลือกกลุ่มตัวอย่างด้วยวิธีสุ่มแบบแบ่งชั้น (Stratified Random Sampling) โดยเลือกโรงเรียนทุกโรงเรียนเป็นหน่วยการสุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ ประกอบด้วย แบบสอบถามเกี่ยวกับปัจจัยการบริหารในโรงเรียน มีค่าอำนาจจำแนกอยู่ระหว่าง 0.657-0.877 มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.983 และแบบสอบถามเกี่ยวกับประสิทธิผลการดำเนินงานกิจการนักเรียนในโรงเรียน มีค่าอำนาจจำแนกอยู่ระหว่าง 0.298-0.904 มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.97 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One-Way ANOVA) ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์อย่างง่ายของเพียร์สัน (Pearson’s Product-Moment Correlation Coefficient) และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณแต่ละขั้นตอน (Stepwise Multiple Regression analysis)

ผลการวิจัยพบว่า

1. ปัจจัยการบริหารของโรงเรียน โดยรวมอยู่ในระดับมาก

2. ประสิทธิผลการดำเนินงานกิจการนักเรียนของโรงเรียน โดยรวมอยู่ในระดับมาก

3. ปัจจัยการบริหารของโรงเรียน จำแนกตามสถานภาพการดำรงตำแหน่ง โดยรวม แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 แต่จำแนกตามขนาดของโรงเรียน โดยรวม ไม่แตกต่างกัน

4. ประสิทธิผลการดำเนินงานกิจการนักเรียนของโรงเรียน จำแนกตามสถานภาพการดำรงตำแหน่ง และขนาดของโรงเรียน โดยรวม แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 

5. ปัจจัยการบริหารของโรงเรียน และประสิทธิผลการดำเนินงานกิจการนักเรียนของโรงเรียน มีความสัมพันธ์กันทางบวก อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 โดยมีความสัมพันธ์อยู่ในระดับสูง (rxy= .788)  

6. ปัจจัยการบริหารของโรงเรียนที่สามารถพยากรณ์ประสิทธิผลการดำเนินงานกิจการนักเรียนของโรงเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 จำนวน 4 ด้าน ได้แก่ ด้านงบประมาณ ด้านโครงสร้างการบริหารงานกิจการนักเรียน ด้านภาวะผู้นำของผู้บริหาร และด้านบุคลากร โดยพยากรณ์ได้ร้อยละ 63.40 และมีความคลาดเคลื่อนมาตรฐานของการพยากรณ์เท่ากับ ±.34826

7. แนวทางการพัฒนาปัจจัยทางการบริหารที่ส่งผลต่อประสิทธิผลงานกิจการนักเรียนของโรงเรียน ประกอบด้วย ด้านงบประมาณ โดยจัดสรรงบประมาณให้เพียงพอ และเหมาะสม สนับสนุนสิ่งที่จำเป็นในการปฏิบัติงาน ด้านโครงสร้างการบริหารงานกิจการนักเรียน โดยกำหนดขอบข่ายโครงสร้างการบริหารงานอย่างชัดเจน  วางงานให้เหมาะสมกับคน ด้านภาวะผู้นำของผู้บริหาร โดยผู้บริหารจะต้องมีคุณธรรมจริยธรรม มีวิสัยทัศน์อันกว้างไกล และด้านบุคลากร โดยจัดบุคลากรให้เพียงพอต่อภาระงานและเหมาะสมกับงาน 
 

Abstract

The purposes of this research were to investigate, compare, identify the relationship, and determine the predictive power of school administrative factors affecting the operational effectiveness of student affairs in schools under the Secondary Educational Service Area Office Sakon Nakhon, as perceived by school administrators, teachers in charge of student affairs, and teachers, classified by positions, and school sizes. The samples consisted of 98 school administrators, 98 teachers in charge of student affairs, and 143 teachers from schools under Sakon Nakhon Secondary Educational Service Area Office, yielding a total of 339 participants. The sample size was determined by Krejcie and Morgan’s table, and stratified random sampling was used to select the sample group from all schools as a random unit. The tools for data collection were sets of 5-rating scale questionnaires consisting of school administrative factors with the discriminative power ranging from 0.657 to 0.877 and the reliability of 0.983; and the operational effectiveness of student affairs in schools with the discriminative power ranging from 0.298 to 0.904 and the reliability of 0.97. Statistics for data analysis were percentage, mean, standard deviation, One-Way ANOVA, Pearson’s product-moment correlation coefficient, and Stepwise multiple regression analysis.

The findings were as follows:

1. The school administrative factors were overall at a high level.

2. The operational effectiveness of student affairs in schools was overall at a high level. 

3. The school administrative factors as perceived by participants classified by positions overall were different at the .01 level of significance, whereas in terms of school sizes, overall, there were no differences. 

4. The effectiveness of student affairs in schools as perceived by participants classified by positions and school sizes overall was different at the .01 level of significance.

5. The school administrative factors and the operational effectiveness of student affairs in schools had a positive relationship at the .01 level of significance with a high level (rxy= .788).  

6. The school administrative factors could predict the operational effectiveness of student affairs in schools at the .01 level of significance, covering four aspects, namely budget, student affairs administration structure, administrators’ leadership, and personnel. The said variables were able to predict the operational effectiveness of student affairs in schools at 63.40 percent with a standard error of estimate of ±34826.

7. The guidelines for developing school administrative factors affecting the operational effectiveness of student affairs in schools consisted of  Budget, administrators should allocate sufficient budget and support what is needed for task performance; Student Affairs Administration Structure, administrators should clearly define the scope of the administrative structure and assign appropriate tasks to the quality of individuals; Administrators’ Leadership, administrators must have morals, ethics, and wide visions; Personnel, administrators should select adequately qualified personnel to perform duties and assign appropriate tasks.
 

คำสำคัญ
ปัจจัยการบริหาร ประสิทธิผลการดำเนินงานกิจการนักเรียน
Keywords
Administrative Factors, Operational Effectiveness of Student Affairs
ไฟล์วิทยานิพนธ์
ลำดับที่ ดาวน์โหลดไฟล์ ขนาดไฟล์
1 fulltext 8,928.18 KB
วันที่นำเข้าข้อมูล
10 ตุลาคม 2565 - 11:17:16
View 700 ครั้ง


^