ฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ (E-Thesis) SNRU

สืบค้นเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) จากฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ (Thesis Database) ของบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร

ชื่อวิทยานิพนธ์
ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงกับประสิทธิผล การบริหารงานบุคคลของผู้บริหารโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่ การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 1
Relationship Between Transformational Leadership and Effectiveness of Personnel Administration of School Administrators under Sakon Nakhon Primary Educational Service Area Office 1
ผู้จัดทำ
เก็จกนก พลวงค์ รหัส 63421229109 ระดับ ป.โท ภาคพิเศษ
หลักสูตร
ครุศาสตรมหาบัณฑิต (ค.ม.) สาขาวิชา การบริหารการศึกษา
ปี พ.ศ.
2564
ที่ปรึกษา
รองศาสตราจารย์ ดร.ศิกานต์ เพียรธัญญกรณ์ , ดร.เพ็ญผกา ปัญจนะ
บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อศึกษา เปรียบเทียบ ความสัมพันธ์และแนวทางการพัฒนา ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงกับประสิทธิผลการบริหารงานบุคคลของผู้บริหารโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 1 ตามความคิดเห็นของผู้บริหารโรงเรียน หัวหน้ากลุ่มบริหารงานบุคคล และครูผู้สอน จำแนกตามสถานภาพการดำรงตำแหน่ง ประสบการณ์ในการปฏิบัติงานและขนาดของโรงเรียน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ ผู้บริหารโรงเรียน หัวหน้ากลุ่มบริหารงานบุคคล และครูผู้สอนในปีการศึกษา 2564 จำนวน 338 คน จำแนกเป็นผู้บริหารโรงเรียน จำนวน 52 คน หัวหน้ากลุ่มบริหารงานบุคคล จำนวน 52 คน และครูผู้สอน จำนวน 234 คน  จากจำนวน 52 โรงเรียน วิธีการสุ่มแบบหลายขั้นตอน (Multi-Stage Random Sampling)  เครื่องมือที่ใช้ในวิจัยเป็นแบบสอบถามและแบบสัมภาษณ์ คุณภาพของแบบสอบถามทั้งฉบับ มีอำนาจจำแนก อยู่ระหว่าง .736 - .918 และมีความเชื่อมั่นเท่ากับ .988 และระดับประสิทธิผลการบริหารงานบุคคล มีค่าอำนาจจำแนก อยู่ระหว่าง .383 - .868 และมีความเชื่อมั่นเท่ากับ .971 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย เป็นแบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One-Way ANOVA) การทดสอบความแตกต่างระหว่างค่าเฉลี่ยรายคู่ โดยวิธีการของ Scheffe’s method และการหาค่าสัมประสิทธิสหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน (Pearson’s Product-Moment Correlation Coefficient)

ผลการวิจัยพบว่า

1. ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารโรงเรียน โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก  

2. ประสิทธิผลการบริหารงานบุคคลของผู้บริหารโรงเรียน โดยรวมอยู่ในระดับมาก 

3. ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารโรงเรียน ตามความคิดเห็นของผู้บริหารโรงเรียน หัวหน้ากลุ่มบริหารงานบุคคลและครูผู้สอน พบว่า 1) จำแนกตามสถานภาพการดำรงตำแหน่ง โดยภาพรวมแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 2) จำแนกตามประสบการณ์ในการปฏิบัติงาน โดยภาพรวมและรายด้านไม่แตกต่างกัน และ 3) จำแนกตามขนาดของโรงเรียน โดยภาพรวมและรายด้านทุกด้านไม่แตกต่างกัน

4. ประสิทธิผลการบริหารงานบุคคลของผู้บริหารโรงเรียน ตามความคิดเห็นของผู้บริหารโรงเรียน หัวหน้ากลุ่มบริหารงานบุคคล และครูผู้สอน พบว่า 1) จำแนกตาม สถานภาพการดำรง โดยภาพรวมและรายด้านทุกด้านแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 2) จำแนกตามตำแหน่งประสบการณ์ในการปฏิบัติงาน โดยภาพรวมและรายด้านไม่แตกต่างกัน และ 3) ขนาดของโรงเรียน โดยภาพรวมไม่แตกต่างกัน

5. ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงกับการบริหารงานบุคคลของผู้บริหารโรงเรียน มีความสัมพันธ์เชิงบวก อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 โดยมีความสัมพันธ์อยู่ในระดับสูง (rxy = .713)    

6. ในการวิจัยครั้งนี้ได้นำเสนอแนวทางพัฒนาภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารโรงเรียน จำนวน 2 ด้าน ได้แก่ 1) ด้านการกระตุ้นทางปัญญาผู้บริหารควรส่งเสริมให้บุคคลากรมีความคิดสร้างสรรค์และเปิดโอกาสให้ครูอาสาปฏิบัติงาน 2) ด้านการเป็นบุคคลแห่งการเรียนรู้ ส่งเสริมให้ผู้บริหารโรงเรียนและครูเข้ารับการอบรมสัมมนา และจัดประชุมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ PLC
 

Abstract

The purposes of this research were to investigate, compare the relationship and establish guidelines for developing transformational leadership and effectiveness of personnel administration of school administrators under Sakon Nakhon Primary Educational Service Area Office 1, according to the opinions of school administrators, heads of the personnel management group, and teachers classified by positions, work experience, and school sizes. The sample consisted of 52 school administrators, 52 heads of the personnel management group, and 234 teachers, yielding a total of 338 participants from 52 schools, selected through a multi-stage random sampling in the 2021 academic year. The instruments for data collection were a questionnaire and an interview form. The research tools comprised sets of 5 – rating scale questionnaires with discriminative values from .736 to .918 and the reliability of .988, and the level of personnel management effectiveness with discriminative values from .383 to .868. and the reliability of .971.  The statistics for data analysis comprised percentage, mean and standard deviation, and One-Way ANOVA. Pearson’s product-moment correlation coefficient and Scheffe’s method for pair comparisons were also employed. 

The findings were as follows:

1. The transformational leadership of school administrators was at overall a high level.

2. The effectiveness of personnel management of school administrators was overall at a high level.

3. The transformational leadership of school administrators as perceived by participants revealed that 1) in terms of positions, there was a difference at the .01 level of significance, 2) in terms of work experience, there was no difference overall and each aspect, and 3) in terms of school sizes, all aspects showed no differences overall and each aspect.

4. The effectiveness of personnel management of school administrators as perceived by participants revealed that 1) in terms of positions, there was a difference at the .01 level of significance overall and each aspect, 2) in terms of work experience, there was no difference overall and each aspect, and 3) in terms of school sizes, there was no difference overall.

5. The overall transformational leadership of school administrators showed a positive relationship at the .01 level of significance with a high level (rxy = .713).

6. In this research, the guidelines for developing transformational leadership of school administrators were proposed in two aspects: 1) Intellectual Stimulation, school administrators should promote creativity in personnel and provide job opportunities for volunteer teachers, 2) Professional Development, school administrators and teachers should attend training and seminars and arrange PLC meetings for knowledge sharing.
 

คำสำคัญ
ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลง ประสิทธิผลการบริหารงานบุคคล
Keywords
Transformational leadership, Effectiveness of Personnel Administration
ไฟล์วิทยานิพนธ์
ลำดับที่ ดาวน์โหลดไฟล์ ขนาดไฟล์
1 fulltext 9,607.84 KB
วันที่นำเข้าข้อมูล
10 ตุลาคม 2565 - 11:18:24
View 517 ครั้ง


^