สืบค้นเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) จากฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ (Thesis Database) ของบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษา เปรียบเทียบ หาความสัมพันธ์ หาอำนาจพยากรณ์ และหาแนวทางการปรับระดับความเครียดในการปฏิบัติงานของผู้บริหารที่ส่งผลต่อประสิทธิผลการบริหารงานโรงเรียนประถมศึกษาในจังหวัดสกลนคร ตามความคิดเห็นของผู้บริหาร การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงสหสัมพันธ์ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ผู้บริหารโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 1-3 ประจำปีการศึกษา 2564 จำนวน 279 คน ประกอบด้วย ผู้บริหารโรงเรียนเพศชายจำนวน 213 คน และผู้บริหารโรงเรียนเพศหญิงจำนวน 66 คน การสุ่มกลุ่มตัวอย่างใช้การสุ่มแบบหลายขั้นตอน (Multi – Stage Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้ ได้แก่ แบบสอบถามและแบบสัมภาษณ์ คุณภาพของแบบสอบถามเกี่ยวกับความเครียดในการปฏิบัติงานของผู้บริหารโรงเรียนประถมศึกษาในจังหวัดสกลนคร มีค่าอำนาจจำแนกอยู่ระหว่าง .305 - .851 มีค่าความเชื่อมั่น เท่ากับ .946 และแบบสอบถามเกี่ยวกับประสิทธิผลการบริหารงานโรงเรียนประถมศึกษาในจังหวัดสกลนคร มีค่าอำนาจจำแนกอยู่ระหว่าง .210 - .961 และมีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ .893 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบ t-test ชนิด Independent Samples การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One-Way ANOVA) การวิเคราะห์ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ อย่างง่ายของเพียร์สัน (Pearson’s Product-Moment Correlation Coefficient) และ การวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณแต่ละขั้นตอน (Stepwise Multiple Regression Analysis)
ผลการวิจัยพบว่า
1. ความเครียดในการปฏิบัติงานของผู้บริหารโรงเรียนประถมศึกษาโดยรวม อยู่ในระดับปานกลาง
2. ระดับประสิทธิผลการบริหารงานโรงเรียนประถมศึกษา โดยรวม อยู่ในระดับมาก
3. ความเครียดในการปฏิบัติงานของผู้บริหารโรงเรียนประถมศึกษาจำแนกตามเพศของผู้บริหารโรงเรียน และสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาที่โรงเรียนสังกัดโดยรวม ไม่แตกต่างกัน ส่วนจำแนกตามขนาดโรงเรียนและประสบการณ์ในการปฏิบัติงานแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
4. ประสิทธิผลการบริหารงานโรงเรียนประถมศึกษา จำแนกตามเพศของผู้บริหารโรงเรียน ประสบการณ์ในการปฏิบัติงาน และสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาที่โรงเรียนสังกัด โดยรวมแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ส่วนจำแนกตามขนาดโรงเรียนโดยรวม ไม่แตกต่างกัน
5. ความเครียดในการปฏิบัติงานของผู้บริหารโดยรวมกับประสิทธิผลการบริหารงานโรงเรียนประถมศึกษา มีความสัมพันธ์กันในทางบวก อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 โดยมีความสัมพันธ์อยู่ในระดับต่ำ (rxy= .158).
6. ความเครียดในการปฏิบัติงานของผู้บริหารโรงเรียน ด้านบทบาทหน้าที่ในองค์การ ด้านความสัมพันธ์ของบุคคลในหน่วยงาน สามารถพยากรณ์ประสิทธิผลการบริหารงานโรงเรียนประถมศึกษา ได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ส่วนด้านลักษณะงานสามารถพยากรณ์ประสิทธิผลการบริหารงานโรงเรียนประถมศึกษาได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยมีอำนาจพยากรณ์ ร้อยละ 6.50 และ มีความคลาดเคลื่อนมาตรฐานของการพยากรณ์เท่ากับ ± .40402
7. แนวทางการปรับระดับความเครียดในการปฏิบัติงานของผู้บริหารที่ส่งผลต่อประสิทธิผลการบริหารงานโรงเรียนประถมศึกษาในจังหวัดสกลนคร เสนอแนะไว้ 3 ด้าน ประกอบด้วย 1) ด้านบทบาทหน้าที่ในองค์การ ได้แก่ ผู้บริหารกำหนดโครงสร้างในการบริหาร และกำหนดภาระงานของแต่ละฝ่ายหรือบุคคลให้ชัดเจน 2) ด้านความสัมพันธ์ของบุคคลในหน่วยงาน ได้แก่ ผู้บริหารโรงเรียนยอมรับฟังความคิดเห็นจากทุกฝ่าย แลกเปลี่ยนความคิดเห็นซึ่งกันและกันและสร้างขวัญและกำลังใจที่ดีให้กับบุคคลในหน่วยงาน และ 3) ด้านลักษณะงาน ได้แก่ จัดลำดับของความสำคัญของงานให้เหมาะสม สร้างเครือข่ายในการทำงาน และมอบหมายงานให้ตรงกับความสามารถของบุคคล
The purposes of this correlational research were to examine, compare, determine the relationship, identify the predictive power, and establish guidelines for reducing the levels of work-related stress of administrators affecting the administrative effectiveness of primary schools. The sample group, obtained through a multi-stage random sampling, consisted of 279 school administrators, including 213 male administrators and 66 female administrators working under Sakon Nakhon Primary Educational Service Area Office 1 to 3 in the academic year 2021. The tools for data collection were a structured interview and two sets of questionnaires comprising work-related stress with the discriminative power ranging from .305 to .851 and the reliability of .964 and the administrative effectiveness of primary schools with the discriminative power ranging from .210 to .961 and the reliability of.893, Statistics for data analysis were frequency, percentage, mean, standard deviation, t-test for Independent Samples, One-Way ANOVA, Pearson’s product-moment correlation coefficient, and Stepwise multiple regression analysis.
The findings were as follows:
1. The work-related stress of primary school administrators was overall at a moderate level.
2. The administrative effectiveness of primary schools was overall at a high level.
3. The overall work-related stress of primary school administrators, classified by gender and individual affiliated offices, showed no differences, whereas there was a difference at the .05 level of significance in terms of school sizes, and work experience.
4. The overall administrative effectiveness of primary schools, classified by gender, work experience, and individual affiliated offices showed differences at the .01 level of significance, whereas in terms of school sizes, there was no difference.
5. The work-related stress of administrator and the administrative effectiveness of primary schools had a positive relationship at the .01 level of significance with a low level (rxy= .158).
6. The two aspects of work-related stress of school administrators, consisting of organizational roles and duties, and interpersonal relations, could predict the effectiveness of primary school administration at the .01 level of significance, whereas in terms of work characteristics could predict the effectiveness of primary school administration at the .05 level of significance with the predictive power of 6.50 percent and the standard error of estimate of ± .40402.
7. The proposed guidelines for reducing work-related stress of administrators affecting the administrative effectiveness of primary schools in Sakon Nakhon comprised three aspects: 1) Organizational Roles and Duties, school administrators should set clear administrative structures and tasks for individual department or personnel; 2) Interpersonal Relations, school administrators should listen to different arguments from all departments, have knowledge-sharing practices, and improve good morale among personnel within organizations; and 3) Work Characteristics, school administrators should prioritize tasks appropriately using importance as criteria, build a network, and assign tasks according to individual competencies.
ลำดับที่ | ดาวน์โหลดไฟล์ | ขนาดไฟล์ |
1 | fulltext | 8,216.08 KB |