ฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ (E-Thesis) SNRU

สืบค้นเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) จากฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ (Thesis Database) ของบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร

ชื่อวิทยานิพนธ์
ภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารที่ส่งผลต่อประสิทธิผล การดำเนินงานชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพในโรงเรียนขนาดเล็กสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 1
Instructional Leadership of Administrators Affecting Operational Effectiveness of Professional Learning Community in Small-Sized Schools under Sakon Nakhon Primary Educational Service Area Office 1
ผู้จัดทำ
ขวัญเรือน พรหมสาขา ณ สกลนคร รหัส 63421229114 ระดับ ป.โท ภาคพิเศษ
หลักสูตร
ครุศาสตรมหาบัณฑิต (ค.ม.) สาขาวิชา การบริหารการศึกษา
ปี พ.ศ.
2565
ที่ปรึกษา
รองศาสตราจารย์ ดร.ศิกานต์ เพียรธัญญกรณ์ , ดร.รัชฎาพร งอยภูธร
บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา เปรียบเทียบ หาความสัมพันธ์ หาอำนาจพยากรณ์ของภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารที่ส่งผลต่อประสิทธิผลการดำเนินงานชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพในโรงเรียนขนาดเล็ก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 1 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ผู้บริหารและครูผู้สอน ปีการศึกษา 2564 จำนวน 250 คน ประกอบด้วย ผู้บริหารโรงเรียน จำนวน 58 คน และครูผู้สอน จำนวน 192 คน กำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างตามตารางของ Krejcie and Morgan และใช้การสุ่มแบบหลายขั้นตอน (Multi-Stage Random Sampling)  เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ ประกอบด้วย แบบสอบถามภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหาร มีค่าอำนาจจำแนก .239 - .889 มีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ .940 และแบบสอบถามประสิทธิผลการดำเนินงานชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพในโรงเรียนขนาดเล็ก มีค่าอำนาจจำแนก .251 - .853 มีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ .890 และแบบสัมภาษณ์แนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารที่ส่งผลต่อประสิทธิผลการดำเนินงานชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพในโรงเรียนขนาดเล็ก สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบ t-test ชนิด Independent Samplesการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One-Way ANOVA) การวิเคราะห์ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์อย่างง่ายของเพียร์สัน (Pearson’s Product-Moment Correlation Coefficient) และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณแต่ละขั้นตอน (Stepwise Multiple Regression Analysis) 

ผลการวิจัยพบว่า

1. ภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารโดยรวมอยู่ในระดับมาก

2. ประสิทธิผลการดำเนินงานชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพในโรงเรียนขนาดเล็ก โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด

3. ภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหาร จำแนกตามสถานภาพการดำรงตำแหน่ง ประสบการณ์ในตำแหน่งโดยรวมแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ส่วนจำแนกตามที่ตั้งของโรงเรียนโดยรวมแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 

4. ประสิทธิผลการดำเนินงานชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพในโรงเรียนขนาดเล็ก จำแนกตามสถานภาพการดำรงตำแหน่ง ประสบการณ์ในการปฏิบัติงาน และที่ตั้งของโรงเรียน โดยรวมไม่แตกต่างกัน 

5. ภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารและประสิทธิผลการดำเนินงานชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพในโรงเรียนขนาดเล็ก มีความสัมพันธ์ทางบวกอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 โดยมีความสัมพันธ์กันในระดับปานกลาง (rxy = .671)

6. ภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหาร มีจำนวน 4 ด้าน ที่สามารถพยากรณ์ประสิทธิผลการดำเนินงานชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ ได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ได้แก่ ได้แก่ ด้านการประเมินคุณภาพการจัดการศึกษา/การนิเทศกำกับและติดตาม (x6) ด้านการพัฒนาผู้เรียน (x4) และมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 จำนวน 1 ด้าน คือ ด้านการส่งเสริมทรัพยากรทางการศึกษา (x7) โดยมีอำนาจพยากรณ์ ร้อยละ 50.10 และมีความคลาดเคลื่อนมาตรฐานของการพยากรณ์เท่ากับ ±.30929

7. แนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหาร ได้แก่ ด้านการประเมินคุณภาพการจัดการศึกษา/การนิเทศกำกับและติดตาม โดยผู้บริหารและครูผู้สอนมีการระดมความคิดเพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้ให้เกิดความเข้าใจไปในทิศทางเดียวกัน เพื่อพัฒนาและมุ่งผลสัมฤทธิ์ทางการจัดการศึกษาอย่างมีมาตรฐานตามกำหนดด้านการพัฒนาผู้เรียน โดยทุกฝ่ายมีส่วนร่วมในการวางแผนเพื่อพัฒนาผู้เรียน โดยผ่านกระบวนการ PLC ด้านการส่งเสริมทรัพยากรทางการศึกษา ดำเนินการโดยมีภาคีเครือข่ายให้ทุกฝ่ายเข้ามามีส่วนร่วมในการวางแผนเพื่อระดมทรัพยากรที่หลากหลาย
 

Abstract

The purposes of this research were to examine, compare, determine the relationship, identify the predictive power of administrators’ instructional leadership affecting the operational effectiveness of Professional Learning Community (PLC) in small-sized schools under Sakon Nakhon Primary Educational Service Area Office 1. The sample size was determined using the Krejcie and Morgan table and Multi-Stage Random Sampling, which yielded a total of 250 participants consisting of 58 school administrators and 192 teachers in small-sized schools in the academic year 2021. The tools for data collection were two sets of five-point scale questionnaires, comprising a set of questionnaires on administrators’ instructional leadership with the discriminative values ranging from 0.239 to 0.889 and the reliability of 0.940, a set of questionnaires on the PLC operational effectiveness in small-sized schools with the discriminative values ranging from 0.251 to 0.853 and the reliability of 0.890, and a structured interview form examining the guidelines for developing administrators’ instructional leadership affecting the PLC operational effectiveness in small-sized schools. Statistics for data analysis were frequency, percentage, mean, standard deviation, t-test Independent Samples, One-Way ANOVA, Pearson’s product-moment correlation coefficient, and Stepwise multiple regression analysis.

The findings were as follows:

1. The administrators’ instructional leadership was overall at a high level.

 2. The PLC operational effectiveness in small-sized schools was overall at the highest level.

3. The administrators’ instructional leadership, classified by different positions, and work experience was different at the .01 level of significance overall, whereas in terms of work experience, there was a difference at a .05 level of significance overall.

4. The PLC operational effectiveness of administrators, classified by positions, work experience, and school location as a whole showed no differences.  

5. The administrators’ instructional leadership and the PLC operational effectiveness in small-sized schools had a positive relationship at the .01 level of significance with the medium level (rxy = .671). 

6. The four aspects of administrators’ instructional leadership were able to predict the PLC operational effectiveness in small-sized schools at the .01 level of significance, namely the quality assessment of educational management/supervision and monitoring (x6), and learner development (x4), whereas only one aspect, the promotion of educational resources aspect (x7) reached the .05 level of significance. The predictive power of the aforementioned variables was 50.10 percent with a standard error estimate of ±.30929.

7. Guidelines for developing administrators’ instructional leadership consisted of the quality assessment of educational management/ supervision and monitoring. School administrators and teachers should brainstorm for knowledge sharing to create cohesive understanding to develop achievement motivation of educational management following the set standards for learner development. All parties should participate in planning for learner development through the PLC process. For promoting educational resources, the network partners should be involved in planning to mobilize a variety of resources.
 

คำสำคัญ
ภาวะผู้นำทางวิชาการ ประสิทธิผลการดำเนินงานชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ
Keywords
Instructional Leadership, Operational Effective of Professional Learning Community
ไฟล์วิทยานิพนธ์
ลำดับที่ ดาวน์โหลดไฟล์ ขนาดไฟล์
1 fulltext 6,777.54 KB
วันที่นำเข้าข้อมูล
10 ตุลาคม 2565 - 11:19:15
View 621 ครั้ง


^