สืบค้นเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) จากฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ (Thesis Database) ของบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร
การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อศึกษา เปรียบเทียบ หาความสัมพันธ์ หาอำนาจพยากรณ์และหาแนวทางพัฒนาปัจจัยทางการบริหารที่ส่งผลต่อประสิทธิผลการปฏิบัติงานของครูในโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 3 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ผู้บริหารโรงเรียนและครูผู้สอน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 3 ปีการศึกษา 2564 จำนวน 339 คน โดยใช้ตาราง กำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างของ Krejcie and Morgan และใช้วิธีสุ่มแบบหลายขั้นตอน เครื่องมือ ที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็น แบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ ประกอบด้วย แบบสอบถามปัจจัยทางการบริหาร มีค่าอำนาจจำแนกอยู่ระหว่าง 0.28 - 0.72 และมีค่าความเชื่อมั่น เท่ากับ 0.93 และแบบสอบถามประสิทธิผลการปฏิบัติงานของครูในโรงเรียน มีค่าอำนาจจำแนกอยู่ระหว่าง 0.46 - 0.87 และมีค่าความเชื่อมั่น เท่ากับ 0.95 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบ t-test ชนิด Independent Samples การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว การวิเคราะห์ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์อย่างง่ายของเพียร์สัน และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณแต่ละขั้นตอน
ผลการวิจัยพบว่า
1. ปัจจัยทางการบริหารโรงเรียน ตามความคิดเห็นของผู้บริหารโรงเรียนและครูผู้สอน โดยรวมอยู่ในระดับมาก
2. ประสิทธิผลการปฏิบัติงานของครูในโรงเรียน ตามความคิดเห็นของผู้บริหารโรงเรียนและครูผู้สอน โดยรวมอยู่ในระดับมาก
3. ปัจจัยทางการบริหารโรงเรียน ตามความคิดเห็นของผู้บริหารโรงเรียนและครูผู้สอน จำแนกตามสถานภาพการดำรงตำแหน่ง ขนาดโรงเรียน โดยรวมแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 เมื่อจำแนกตามประสบการณ์ในการปฏิบัติงานต่างกัน พบว่า โดยรวมและรายด้านไม่แตกต่างกัน
4. ประสิทธิผลการปฏิบัติงานของครูในโรงเรียน ตามความคิดเห็นของผู้บริหารโรงเรียนและครูผู้สอน จำแนกตามสถานภาพการดำรงตำแหน่ง ขนาดของโรงเรียนที่ต่างกัน พบว่า โดยรวมแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01เมื่อจำแนกตามประสบการณ์ในการปฏิบัติงานต่างกัน พบว่า โดยรวมและรายด้านไม่แตกต่างกัน
5. ปัจจัยทางการบริหาร (X) กับประสิทธิผลการปฏิบัติงานของครูในโรงเรียน (Y) โดยรวมและรายด้าน มีความสัมพันธ์กันทางบวกอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 โดยมีความสัมพันธ์อยู่ในระดับปานกลาง (r = .572**)
6. ปัจจัยทางการบริหาร จำนวน 4 ด้าน ที่สามารถพยากรณ์ประสิทธิผลการปฏิบัติงานของครูในโรงเรียน ได้แก่ ด้านการบริหารจัดการ ด้านคุณลักษณะของบุคลากร ด้านระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ และด้านบรรยากาศและวัฒนธรรมองค์การ โดยมีอำนาจพยากรณ์ ร้อยละ 33.6 และมีความคลาดเคลื่อนมาตรฐานของการพยากรณ์เท่ากับ ± 0.29350 ซึ่งสามารถเขียนสมการพยากรณ์ได้ดังนี้
Y’ = 2.014 + 0.135(x5) + 0.172(x6) + 0.146(x4) + 0.092(x2)
Z’ = 0.246(z6) + 0.197(z4) + 0.181(z5) + 0.118(z2)
7. แนวทางการพัฒนาปัจจัยทางการบริหารที่ส่งผลต่อประสิทธิผลการปฏิบัติงานของครูในโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 3 ที่ควรได้รับการพัฒนา จำนวน 4 ด้าน ประกอบด้วย 1) ด้านการบริหารจัดการ ผู้บริหารควรกำหนดเป้าหมายวัตถุประสงค์ จุดมุ่งหมาย วิสัยทัศน์ร่วมกันอย่างชัดเจน เน้นการทำงาน เป็นทีม 2) ด้านคุณลักษณะของบุคลากร ผู้บริหารควรส่งเสริม สนับสนุน จัดให้มีการพัฒนาตนเองของบุคลากรและกำกับให้บุคลากรปฏิบัติงานภายใต้จรรยาบรรณวิชาชีพของตนเอง 3) ด้านระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ ผู้บริหารควรส่งเสริม สนับสนุนให้ครูใช้เทคโนโลยีประกอบการปฏิบัติงานและจัดอบรมพัฒนาบุคลากรให้มีความรู้ความสามารถในการใช้เทคโนโลยี 4) ด้านบรรยากาศและวัฒนธรรมองค์การ ผู้บริหารควรส่งเสริมให้ทำงานกัน เป็นทีม มีความเป็นกัลยาณมิตร ทำให้เกิดบรรยากาศและวัฒนธรรมองค์การที่ดี
The purposes of this research were to examine, compare, determine the relationship, identify the predictive power, and establish guidelines for developing administrative factors affecting the effectiveness of teacher performance in schools under Sakon Nakhon Primary Education Service Area Office 3 (PESAO 3). The research sample group, obtained through the Krejcie and Morgan’s sample size determination table and multi-stage random sampling, was a total of 339 participants, including school administrators and teachers working under Sakon Nakhon PESAO 3 in the academic year 2021. The instruments were sets of 5-level rating scale questionnaires on administrative factors with the discriminative power ranging from 0.28 to 0.72 and from 0.46 to 0.87 for the effectiveness of teacher performance, and the reliability of 0.93, and 0.95, respectively. The statistics were frequency, percentage, mean, standard deviation, Independent Samples t-test, One-Way ANOVA, Pearson's product-moment correlation coefficient, and Stepwise multiple regression analysis.
The findings were as follows:
1. School administrative factors as perceived by participants were overall at a high level.
2. The effectiveness of teacher performance in schools as perceived by participants was overall at a high level.
3. The overall school administrative factors, classified by participants’ positions, and school sizes, differed at the .01 level of significance, whereas there were no differences in terms of work experience overall and in each aspect.
4. The overall effectiveness of teacher performance in schools classified by participants’ positions, and school sizes differed at the .01 level of significance. There were no differences in terms of work experience overall and in each aspect.
5. The administrative factors (X) and the effectiveness of teacher performance in schools (Y) overall and each aspect had a positive relationship at the .01 level of significance with a moderate level (r = .572**).
6. The administrative factors that could predict the effectiveness of teacher performance comprised four aspects, namely administrative management, personnel characteristics, information technology system, and organizational atmosphere and culture with the predictive power at 33.6 percent and the standard error of estimate of ± 0.29350. The regression equation could be summarized in raw scores and standardized scores as follows:
Y’ = 2.014 + 0.135(x5) + 0.172(x6) + 0.146(x4) + 0.092(x2)
Z’ = 0.181(z5) + 0.246(z6) + 0.197(z4) + 0.118(z2)
7. Guidelines for developing administrative factors affecting the effectiveness of teacher performance in schools yield four aspects needing improvement, consisting of 1) Administrative management. Administrators should set clear goals, objectives, and shared visions emphasizing teamwork, 2) Personnel characteristics. Administrators should promote, support, provide personnel’s self-development, and supervise personnel performing under their professional ethics and code of conduct, 3) Information technology system. Administrators should promote and encourage teachers to use technology in practice and organize technology training for personnel development to improve their knowledge and ability in using technology, and 4) Organizational atmosphere and culture. Administrators should encourage teamwork, and a friendly environment to create a better organizational atmosphere and culture.
ลำดับที่ | ดาวน์โหลดไฟล์ | ขนาดไฟล์ |
1 | fulltext | 11,100.42 KB |