ฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ (E-Thesis) SNRU

สืบค้นเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) จากฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ (Thesis Database) ของบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร

ชื่อวิทยานิพนธ์
การบริหารโดยใช้สถานศึกษาและชุมชนเป็นฐานที่ส่งผลต่อประสิทธิผลโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครพนม เขต 2
School and Community-Based Administration Affecting Effectiveness of Schools under Nakhon Phanom Primary Educational Service Area Office 2
ผู้จัดทำ
มารินทร์ดา เมืองสนธ์ รหัส 63421229116 ระดับ ป.โท ภาคพิเศษ
หลักสูตร
ครุศาสตรมหาบัณฑิต (ค.ม.) สาขาวิชา การบริหารการศึกษา
ปี พ.ศ.
2565
ที่ปรึกษา
รองศาสตราจารย์ ดร.สายันต์ บุญใบ , ดร.วรกัญญาพิไล แกระหัน
บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อศึกษา เปรียบเทียบ ศึกษาความสัมพันธ์ ศึกษาอำนาจพยากรณ์ และหาแนวทางการพัฒนา การบริหารโดยใช้สถานศึกษาและชุมชนเป็นฐานที่ส่งผลต่อประสิทธิผลโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครพนม เขต 2 ตามทัศนะของผู้บริหารสถานศึกษาและครูผู้สอน จำแนกตามสถานภาพ ขนาดโรงเรียนและประสบการณ์ในการปฏิบัติงาน การวิจัยในครั้งนี้เป็นงานวิจัยเชิงสหสัมพันธ์ (Correlational research) กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษาครูผู้สอนในปีการศึกษา 2564 จำนวน 342 คน จำแนกเป็นผู้บริหารสถานศึกษา จำนวน 70 คน ครูผู้สอน จำนวน 272 คน จากจำนวน 70 โรงเรียน กำหนดขนาดของกลุ่มตัวอย่างโดยใช้ตารางของเครจซี่และมอร์แกนและสุ่มแบบหลายขั้นตอน (Multi-Stage Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้ ได้แก่ แบบสอบถามและแบบสัมภาษณ์ คุณภาพของแบบสอบถามทั้งฉบับมีค่าอำนาจจำแนกอยู่ระหว่าง 0.530 - 0.718 มีความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ 0.982 สถิติ ที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติทดสอบค่าที (t-test) ชนิด Independent Samples การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One-Way ANOVA) ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์อย่างง่ายของเพียร์สัน (Pearson’s Product-Moment Correlation Coefficient) และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณแต่ละขั้นตอน (Stepwise Multiple Regression Analysis)

ผลการวิจัยพบว่า

1. การบริหารโดยใช้สถานศึกษาและชุมชนเป็นฐาน ตามทัศนะของผู้บริหารสถานศึกษาและครูผู้สอนอยู่ในระดับมาก

2. การบริหารโดยใช้สถานศึกษาและชุมชนเป็นฐาน ตามทัศนะของผู้บริหารสถานศึกษาและครูผู้สอน จำแนกตามสถานภาพ ประสบการณ์ ขนาดของโรงเรียน
ที่ปฏิบัติงานโดยรวมไม่แตกต่างกัน

3. ประสิทธิผลโรงเรียน ตามทัศนะของผู้บริหารสถานศึกษาและครูผู้สอน อยู่ในระดับมาก

4. ประสิทธิผลโรงเรียนตามทัศนะของผู้บริหารสถานศึกษาและครูผู้สอนจำแนกตามสถานภาพ ประสบการณ์ ขนาดของโรงเรียนที่ปฏิบัติงานโดยรวมไม่แตกต่างกัน

5. การบริหารโดยใช้สถานศึกษาและชุมชนเป็นฐานที่ส่งผลต่อประสิทธิผลโรงเรียน ตามทัศนะของผู้บริหารสถานศึกษาและครูผู้สอน โดยมีความสัมพันธ์กันทางบวก

6. อำนาจพยากรณ์ของการบริหารโดยใช้สถานศึกษาและชุมชนเป็นฐานที่ส่งผลต่อประสิทธิผลโรงเรียน โดยรวมมี 3 ตัวแปร ได้แก่ ด้านหลักการตรวจสอบและถ่วงดุล ด้านหลักการคืนอำนาจการจัดการศึกษาให้แก่ประชาชนและด้านหลักการมีส่วนร่วม โดยรวมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01

7. แนวทางการบริหารโดยใช้สถานศึกษาและชุมชนเป็นฐานกับประสิทธิผลโรงเรียน มี 3 ด้าน คือ ด้านหลักการมีส่วนร่วม ด้านหลักการกระจายอำนาจและด้านหลักการบริหารตนเอง
 

Abstract

The purposes of this correlational research were to examine, compare, determine the relationship, identify the predictive power, and establish guidelines for developing school and community-based administration affecting the effectiveness of schools under Nakhon Phanom Primary Educational Service Area Office 2, as perceived by school administrators and teachers with different positions, school sizes, and work experience. The sample size was determined using Krejcie and Morgan’s table and multi-stage random sampling, which yielded a total of 342 participants consisting of 70 school administrators and 272 teachers from 70 schools in the 2021 academic year. The tools included a set of questionnaires with the discriminative power ranging from 0.530 to 0.718, and the reliability of 0.982, and structured interview forms. Statistics for data analysis were frequency, percentage, mean, standard deviation, Independent Samples t-test, One-Way ANOVA, Pearson’s product-moment correlation coefficient, and Stepwise multiple regression analysis.

The findings were as follows:

1. The school and community-based administration, as perceived by participants, was at a high level.

2. The overall school and community-based administration, as perceived by participants, classified by positions, work experience, and school sizes showed no difference.

3. The school effectiveness as perceived by participants was at a high level. 

4. The overall school effectiveness, as perceived by participants, classified by positions, work experience, and school sizes showed no difference.

5. The school and community-based administration affecting the school effectiveness, as perceived by participants, had a positive relationship.

6. The overall predictive power of the school and community-based administration affecting the school effectiveness consisted of three principles: Check and Balance, Returning the Power of Education to People, and Participation at the .01 level of significance.

7. The guidelines for school and community-based administration affecting the school effectiveness consisted of three principles: Participation, Decentralization, and Self-management.
 

คำสำคัญ
การบริหารโดยใช้สถานศึกษาและชุมชนเป็นฐาน ประสิทธิผลโรงเรียน
Keywords
School and Community-Based Administration, School Effectiveness
ไฟล์วิทยานิพนธ์
ลำดับที่ ดาวน์โหลดไฟล์ ขนาดไฟล์
1 fulltext 5,480.41 KB
วันที่นำเข้าข้อมูล
8 พฤษภาคม 2566 - 13:48:28
View 512 ครั้ง


^