ฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ (E-Thesis) SNRU

สืบค้นเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) จากฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ (Thesis Database) ของบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร

ชื่อวิทยานิพนธ์
ปัจจัยคัดสรรที่ส่งผลต่อประสิทธิผลการประกันคุณภาพภายในของโรงเรียนประถมศึกษาขนาดเล็ก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 3
Selected Factors Affecting the Effectiveness of Internal Quality Assurance in Small-Sized Schools under Sakon Nakhon Primary Educational Service Area Office 3
ผู้จัดทำ
พนาศักดิ์ ชาคำหลอย รหัส 63421229118 ระดับ ป.โท ภาคพิเศษ
หลักสูตร
ครุศาสตรมหาบัณฑิต (ค.ม.) สาขาวิชา การบริหารการศึกษา
ปี พ.ศ.
2565
ที่ปรึกษา
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สวัสดิ์ โพธิวัฒน์ , ดร.วรกัญญาพิไล แกระหัน
บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อ 1) ศึกษาระดับปัจจัยคัดสรร 2) ศึกษาระดับประสิทธิผลการประกันคุณภาพภายใน 3) วิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยคัดสรร  กับประสิทธิผลการประกันคุณภาพภายใน 4) ค้นหาปัจจัยคัดสรรที่เป็นตัวพยากรณ์ที่ดี ของประสิทธิผลการประกันคุณภาพภายใน และสมการพยากรณ์ และ 5) หาแนวทางในการพัฒนาปัจจัยคัดสรรที่เป็นตัวพยากรณ์ที่ดีของประสิทธิผลการประกันคุณภาพภายใน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ โรงเรียนประถมศึกษาขนาดเล็กสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 3 ปีการศึกษา 2564 จำนวนทั้งสิ้น 68 โรงเรียนกำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างตามตารางของ Krejcie and Morgan และใช้การสุ่มกลุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้น (Stratified Random Sampling)  เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ ประกอบด้วย แบบสอบถามปัจจัยคัดสรร มีค่าอำนาจจำแนกรายข้ออยู่ระหว่าง .418 - .812 มีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ .958 แบบสอบถามประสิทธิผลการประกันคุณภาพภายใน มีค่าอำนาจจำแนกรายข้ออยู่ระหว่าง .441 - .774 มีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ .933 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบ t-test ชนิด One samples การวิเคราะห์ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์อย่างง่ายของเพียร์สัน (Pearson’s Product-Moment Correlation Coefficient) และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณแต่ละขั้นตอน (Stepwise Multiple Regression Analysis) ส่วนการหาแนวทางในการพัฒนาใช้เทคนิคการศึกษาโดยการสัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญ

ผลการวิจัย พบว่า

1. ปัจจัยคัดสรรที่เลือกมาศึกษาโดยรวมมีการดำเนินงานอยู่ในระดับมาก

2. ประสิทธิผลการประกันคุณภาพภายในอยู่ในระดับมาก

3. ปัจจัยคัดสรรมีความสัมพันธ์กันทางบวกกับประสิทธิผลการประกันคุณภาพภายใน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ทุกด้าน โดยมีความสัมพันธ์อยู่ในระดับสูง (rxy = .770) 

4. ปัจจัยคัดสรรที่มีอำนาจพยากรณ์ประสิทธิผลการประกันคุณภาพภายใน นั้น มี 2 ปัจจัย เรียงตามลำดับความสำคัญ คือ ทรัพยากรการเรียนรู้ และการจัดโครงสร้าง การบริหาร โดยสามารถร่วมกันอธิบายความแปรปรวนของประสิทธิผล การประกันคุณภาพภายในโดยรวมได้ร้อยละ 65.2 และมีความคลาดเคลื่อนมาตรฐานของการพยากรณ์เท่ากับ ± .25668

5. แนวทางพัฒนาปัจจัยคัดสรรที่เป็นตัวพยากรณ์ที่ดีทั้ง 2 ด้าน ประกอบด้วย 1) ด้านทรัพยากรการเรียนรู้ โรงเรียนต้องมีแหล่งเรียนรู้ทั้งในและนอกโรงเรียน โรงเรียนต้องจัดให้มีวัสดุ อุปกรณ์ที่เหมาะสม เพียงพอ และมีคุณภาพ สื่อต่าง ๆ ต้องสอดคล้องกับสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไป มีการใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัย และผู้บริหารควรใช้กระบวนการมีส่วนร่วมในการระดมทรัพยากรการเรียนรู้ และ 2) ด้านการจัดโครงสร้างการบริหาร โครงสร้างต้องให้ชัดเจน มีผู้รับผิดชอบ ระบุขอบข่ายงาน ระบุตัวชี้วัด การวางตัวบุคคลต้องสอดคล้องกับความรู้ความสามารถ ประสบการณ์และความสนใจ และใช้หลักการมีส่วนร่วมในการบริหารจัดการ 
 

Abstract

The purposes of this research were to 1) examine the selected factors, 2) identify the level of the effectiveness of Internal quality assurance, 3) analyze the relationship between the selected factors and the effectiveness of Internal quality assurance, 4) determine the good predictors of the selected factors affecting the effectiveness of Internal quality assurance, and the forecasting equations, and 5) establish the guidelines for developing the selected factors that were identified as good predictors for the effectiveness of internal quality assurance. The samples, obtained through stratified random sampling, consisted of 68 small-sized schools under Sakon Nakhon Primary Educational Service Area Office 3 in the 2021 academic year. The Krejcie and Morgan table was applied for determining the sample size.  The instruments for data collection were two sets of 5-point rating scale questionnaires comprising a set of questionnaires on the selected factors with the discriminative power values ranging from .418 to .812 and the reliability of .958,  and a set of questionnaires on the effectiveness of Internal quality assurance with the discriminative power values ranging from .441 to .774 and the reliability of .933.  The statistics for data analysis were frequency, percentage, standard deviation, one-sample t-test, Pearson's product-moment correlation coefficient, and Stepwise multiple regression analysis.  Expert interviews were then conducted to establish the development guidelines. 

The findings were as follows:

1. The selected factors were overall at a high level. 

2. The effectiveness of Internal quality assurance was at a high level.

3. The selected factors had a positive relationship with the effectiveness of Internal quality assurance at the .01 level of significance. In addition, all aspects achieved a high level of correlation (rxy = 0.770). 

4. The two selected factors were able to predict the effectiveness of Internal quality assurance and arranged in the following descending order of importance: learning resources, and administrative structure. The factors were also able to explain the variance of the overall effectiveness of Internal quality assurance  at 65.2 percent with a standard error of estimate of ± .25668

5. The proposed guidelines for developing the selected factors that were identified as good predictors consisted of two aspects: 1) Learning Resources, schools must have learning resources both inside and outside formal school settings. In addition, schools must provide appropriate, adequate, and quality materials, equipment, and media to accommodate changes, and foster advanced technology integration and implementation. In addition, administrators should implement a participative process for mobilizing learning resources, and 2) Administrative Structure, the administrative structure must be straightforward and ensure that the responsibilities are clearly defined, such as designating the person in charge, identifying task allocation, determining indicators, selecting personnel according to their knowledge, abilities, experience, and interests, and implementing participative management.
 

คำสำคัญ
ปัจจัยคัดสรร การประกันคุณภาพภายใน โรงเรียนประถมศึกษาขนาดเล็ก
Keywords
Selected Factors, Internal Quality Assurance, Small-Sized Primary Schools
ไฟล์วิทยานิพนธ์
ลำดับที่ ดาวน์โหลดไฟล์ ขนาดไฟล์
1 fulltext 6,560.19 KB
วันที่นำเข้าข้อมูล
10 ตุลาคม 2565 - 11:20:42
View 535 ครั้ง


^