ฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ (E-Thesis) SNRU

สืบค้นเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) จากฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ (Thesis Database) ของบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร

ชื่อวิทยานิพนธ์
ภาวะผู้นำครูที่ส่งผลต่อประสิทธิผลการบริหารงานวิชาการ ของโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา สกลนคร เขต 1
Teacher Leadership Affecting the Effectiveness of Academic Affairs Administration in Schools under Sakon Nakhon Primary Educational Service Area Office 1
ผู้จัดทำ
วีระยุทธ แสงไชย รหัส 63421229120 ระดับ ป.โท ภาคพิเศษ
หลักสูตร
ครุศาสตรมหาบัณฑิต (ค.ม.) สาขาวิชา การบริหารการศึกษา
ปี พ.ศ.
2564
ที่ปรึกษา
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.วัฒนา สุวรรณไตรย์ , ดร.รัชฎาพร งอยภูธร
บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อศึกษา เปรียบเทียบ หาความสัมพันธ์ หาอำนาจพยากรณ์ของภาวะผู้นำครูและประสิทธิผลการบริหารงานวิชาการของโรงเรียน และหาแนวทางการยกระดับภาวะผู้นำครูที่ส่งผลต่อประสิทธิผลการบริหารงานวิชาการของโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 1 การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงสหสัมพันธ์ (Correlation Research) กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษาและครูผู้สอน ปีการศึกษา 2564 จำนวน 337 คน ประกอบด้วยผู้บริหารสถานศึกษา 73 คน และครูผู้สอน 264 คน กำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างตามตารางของ Krejcie and Morgan และใช้การสุ่มแบบหลายขั้นตอน (Multi-stage random sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลครั้งนี้เป็นแบบสอบถามแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ ประกอบด้วย ด้านภาวะผู้นำครู มีค่าอำนาจจำแนกระหว่าง .330 - .742 และมีค่าความเชื่อมั่น เท่ากับ .977 ด้านประสิทธิผลการบริหารงานวิชาการของโรงเรียน มีค่าอำนาจจำแนกระหว่าง .245 - .821 และมีค่าความเชื่อมั่น เท่ากับ .977 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ทดสอบสมมติฐานโดยใช้การวิเคราะห์ One–Way ANOVA  การวิเคราะห์ t-test ชนิด Independent Samples การวิเคราะห์หาค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน (Person’s Product-Moment Correlation Coefficient) และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ (Stepwise Multiple Regression Analysis)  

ผลการวิจัยพบว่า

1. ภาวะผู้นำครู โดยรวมและรายด้าน อยู่ในระดับมาก

2. ประสิทธิผลการบริหารงานวิชาการของโรงเรียน โดยรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก

3. การเปรียบเทียบภาวะผู้นำครู จำแนกตามสถานภาพการดำรงตำแหน่ง ขนาดของโรงเรียน และประสบการณ์ในตำแหน่ง โดยรวมไม่แตกต่างกัน  

4. การเปรียบเทียบประสิทธิผลการบริหารงานวิชาการของโรงเรียน จำแนกตามสถานภาพการดำรงตำแหน่ง ขนาดของโรงเรียน และประสบการณ์ในตำแหน่ง โดยรวมไม่แตกต่างกัน

5. ภาวะผู้นำครูกับประสิทธิผลการบริหารงานวิชาการของโรงเรียน โดยรวมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 โดยมีความสัมพันธ์ระดับสูง (rxy= .879)  

6. ภาวะผู้นำครูมีอำนาจพยากรณ์ประสิทธิผลการบริหารงานวิชาการของโรงเรียน ได้แก่ ด้านการเป็นผู้นำแห่งการเปลี่ยนแปลง ด้านการเป็นผู้นำการจัดการเรียนการสอน ด้านการมีส่วนร่วมในการพัฒนา และด้านการพัฒนาตนเองและเพื่อนครู โดยรวมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 โดยมีอำนาจพยากรณ์ร้อยละ 77.60 และมีความคลาดเคลื่อนมาตรฐานของการพยากรณ์เท่ากับ ± .21506 

7. การวิจัยครั้งนี้ผู้วิจัยได้เสนอแนวทางยกระดับภาวะผู้นำครูในโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 1 ดังนี้ 1) ด้านการเป็นผู้นำแห่งการเปลี่ยนแปลง ครูควรกำหนดเป้าหมายในการพัฒนาตนเองและพัฒนางาน ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศที่ทันสมัยพัฒนางาน 2) ด้านการเป็นผู้นำการจัดการเรียนการสอน ครูควรมีความรู้ความเข้าใจด้านหลักสูตร ส่งเสริมให้ผู้เรียนมีทักษะในศตวรรษที่ 21 มีความคิดสร้างสรรค์ 3) ด้านการมีส่วนร่วมในการพัฒนา ครูมีส่วนร่วมในการวางแผนงาน สร้างภาคีเครือข่ายในการจัดการเรียนการสอน กำหนดวิสัยทัศน์ และ 4) ด้านการพัฒนาตนเองและเพื่อนครู สนับสนุนให้ครูสร้างชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพร่วมกัน (PLC)
 

Abstract

The purposes of this correlation research were to: examine, compare, identify the relationship, determine the predictive power of teacher leadership and the effectiveness of academic affairs administration in schools, and establish guidelines for upgrading teacher leadership affecting the effectiveness of academic affairs administration in schools under Sakon Nakhon Primary Educational Service Area Office 1. The sample size determination of 337 participants was based on Krejcie and Morgan’s table and determined via multi-stage random sampling to complete the requisite sample size of 73 school administrators and 264 teachers in the 2021 academic year. The research instruments were sets of 5-point rating scale questionnaires on teacher leadership and the effectiveness of academic affairs administration in schools with the item discrimination ranging between .330 - .742, and .245 - .821, respectively. The reliability of both questionnaires showed a similar level at .977. Statistics for data analysis were frequency, percentage, mean, and standard deviation. The statistics for hypothesis testing were One–Way ANOVA, t-test for Independent Samples, Pearson’s product-moment correlation coefficient, and Stepwise multiple regression analysis.

The findings were as follows:

1. The teacher leadership, as a whole and each aspect, was at a high level.

2. The effectiveness of academic affairs administration in schools, as a whole and each aspect, was at a high level.

3. The teacher leadership classified by positions, school sizes, and work experience, as a whole showed no difference.

4. The effectiveness of academic affairs administration in schools classified by positions, school sizes, and work experience, as a whole, showed no difference.

5. The teacher leadership and the effectiveness of academic affairs administration in schools were overall at the .01 level of significance with a high level of relationship (rxy= .879).  

6. The teacher leadership that could predict the effectiveness of academic affairs administration in schools consisted of transformational leadership, leaders of instructional management, participation in school development, and self-development and colleague development at the .01 level of significance with the predictive power of 77.60 percent and the standard error of estimate of ± .21506.  

7. In this research, the researcher proposed guidelines for upgrading teacher leadership in schools under Sakon Nakhon Primary Educational Service Area Office 1 consisting of four aspects: 1) Transformational leadership, teachers should set the goals for self-improvement, work development, and use modern information technology for work development; 2) Leaders of instructional management, teachers should have curriculum knowledge and understanding, and foster students’ 21st-century skills, and creative thinking; 3) Participation in school development, teachers should involve in planning, building network partners in instructional management, and creating visions; and 4) Self-development and colleague development, schools should support teachers to build the professional learning community (PLC).
 

คำสำคัญ
ภาวะผู้นำครู ประสิทธิผลการบริหารงานวิชาการ
Keywords
Teacher leadership, Effectiveness of Academic Affair Administration
ไฟล์วิทยานิพนธ์
ลำดับที่ ดาวน์โหลดไฟล์ ขนาดไฟล์
1 fulltext 10,406.06 KB
วันที่นำเข้าข้อมูล
10 ตุลาคม 2565 - 11:21:41
View 540 ครั้ง


^