ฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ (E-Thesis) SNRU

สืบค้นเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) จากฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ (Thesis Database) ของบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร

ชื่อวิทยานิพนธ์
ภาวะผู้นำของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อประสิทธิผลการสร้างความสัมพันธ์กับชุมชนของโรงเรียน สังกัดสำนักงาน เขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสกลนคร
ommunity RelationsLeadership of School Administrators Affecting the Effectiveness of School – Chip under the Secondary Educational Service Area Office Sakon Nakhon
ผู้จัดทำ
ลำแพน มหาวงศ์ รหัส 63421229125 ระดับ ป.โท ภาคพิเศษ
หลักสูตร
ครุศาสตรมหาบัณฑิต (ค.ม.) สาขาวิชา การบริหารการศึกษา
ปี พ.ศ.
2565
ที่ปรึกษา
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สวัสดิ์ โพธิวัฒน์ , ดร.เยาวลักษณ์ สุตะโคตร
บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อ 1) ศึกษาระดับภาวะผู้นำของผู้บริหารสถานศึกษาและประสิทธิผลการสร้างความสัมพันธ์กับชุมชนของโรงเรียน 2) วิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำของผู้บริหารสถานศึกษากับประสิทธิผลการสร้างความสัมพันธ์กับชุมชนของโรงเรียน 3) ค้นหาภาวะผู้นำของผู้บริหารสถานศึกษาที่เป็นตัวพยากรณ์ที่ดีของประสิทธิผลการสร้างความสัมพันธ์กับชุมชนของโรงเรียนและสมการพยากรณ์ 4) หาแนวทางในการพัฒนาภาวะผู้นำของผู้บริหารสถานศึกษาที่เป็นตัวพยากรณ์ที่ดีของประสิทธิผลการสร้างความสัมพันธ์กับชุมชนของโรงเรียน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ บุคลากรในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสกลนคร จำนวน 333 คน จำแนกเป็นผู้บริหารสถานศึกษา จำนวน 45 คน และครูผู้สอน จำนวน 288 คน กลุ่มตัวอย่างใช้การสุ่มแบบแบ่งชั้น (Stratified Random Sampling)เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถามประมาณค่า จำนวน 2 ด้าน คือ ด้านที่ 1 ภาวะผู้นำของผู้บริหารสถานศึกษา มีค่าความเชื่อมั่น .971 ด้านที่ 2 ประสิทธิผลการสร้างความสัมพันธ์กับชุมชนของโรงเรียน มีค่าความเชื่อมั่น .827 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ทดสอบสมมติฐานโดยการใช้ค่าสหสัมพันธ์อย่างง่ายของเพียร์สัน (Pearson’s Product – Moment Correlation Coefficient) และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณแบบเป็นขั้นตอน (Stepwise Multiple Regression Analysis) 

ผลการวิจัย พบว่า

1. ภาวะผู้นำของผู้บริหารสถานศึกษา และประสิทธิผลการสร้างความสัมพันธ์กับชุมชนของโรงเรียน โดยภาพรวม อยู่ในระดับมาก

2. ภาวะผู้นำของผู้บริหารสถานศึกษา มีความสัมพันธ์ทางบวกกับประสิทธิผลของการสร้างความสัมพันธ์กับชุมชนของโรงเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01    

3. ภาวะผู้นำของผู้บริหารสถานศึกษาที่เป็นตัวพยากรณ์ที่ดีของประสิทธิผลการสร้างความสัมพันธ์กับชุมชน คือ ภาวะผู้นำแบบดิจิทัล ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงและภาวะผู้นำแบบสุนทรียสนทนา มีความคลาดเคลื่อนมาตรฐานของการพยากรณ์ เท่ากับ ±.23848 สามารถเขียนสมการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ ในรูปคะแนนดิบและคะแนนมาตรฐาน ได้ดังนี้ 
        Y′ = 1.684 + .210 (X2) + .226 (X4) + .166 (X3) 
        Z′ = .260 (Z2) + .257 (Z4) + .206 (Z3)

4. ภาวะผู้นำของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อประสิทธิการสร้างความสัมพันธ์กับชุมชนของโรงเรียน ที่ควรได้รับการพัฒนา จำนวน 3 ด้าน ที่สามารถพยากรณ์ประสิทธิผลการสร้างความสัมพันธ์กับชุมชนของโรงเรียน คือ 1) ภาวะผู้นำแบบดิจิทัล องค์กรมีความจำเป็นจะต้องปรับวัฒนธรรมและวิธีการบริหาร มีการสร้างองค์ความรู้  ใหม่ ๆ นำเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ในการสื่อสาร และผู้บริหารต้องสนับสนุนให้บุคลากรกล้าที่จะทำอะไรต่างที่แตกต่าง 2) ภาวะผู้นำแบบสุนทรีย์สนทนา ผู้บริหารต้องสร้างมนุษยสัมพันธ์ที่ดี มีการพบปะพูดคุยกับชุมชนของโรงเรียน สามารถพูดโน้มน้าวให้บุคลากรคล้อยตามได้ พูดดี พูดจาไพเราะ พูดจาสุภาพ พูดจาอ่อนน้อมถ่อมตน และต้องมีการสร้างองค์ความรู้ในกระบวนการใหม่ ๆ ให้เกิดขึ้น และ 3) ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลง ผู้บริหารต้องมีการเปลี่ยนแปลงตัวเองตามยุคตามสมัย มีการส่งเสริมให้นำองค์ประกอบภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงมาใช้ในการบริหารงาน ทำกิจกรรมใหม่ ๆ ทำโครงการใหม่ ๆ ตามความเปลี่ยนแปลงไปของสังคม เปลี่ยนแปลงทั้งที่เป็นรูปธรรม นามธรรม 
บริบทรอบตัว ที่เห็นด้วยตา และนำสิ่งใหม่ ๆ เข้ามาใช้ในการดำเนินงาน
 

Abstract

The purposes of this research were to 1) examine the level of school administrators’ leadership and the effectiveness of school - community relationship 2) analyze the relationship between school administrators’ leadership and the effectiveness of school – community relationship 3) to determine the school administrators’ leadership which could be a good predictor on the effectiveness of school – community relationship and a predictive equation, 4) establish guidelines for developing school administrators' leadership that could be a good predictor of the effectiveness of  school – community relationship The sample consisted of 45 school administrators and 288 teachers, yielding a total of 333 participants from schools under the Secondary Educational Service Area Office Sakon Nakhon. The Sample Obtained Through Stratified Random Sampling The research instrument for data collection was a rating scale questionnaire containing two aspects: Aspect 1: school administrators’ leadership, with the reliability of .971; Aspect 2: effectiveness of school – community relationship with the reliability of .827. The statistics for data analysis were frequency, percentage, mean, and standard deviation. The hypothesis was tested using Pearson's product-moment correlation coefficient, and Stepwise multiple regression analysis.    

The findings were as follows:

1. The school administrators’ leadership and the effectiveness of school -community relationship were overall at a high level.

2. The school administrators’ leadership and the effectiveness of school – community relationship had a positive relation at the .01 level of significance.

3. The components of school administrators’ leadership which were good predictors of the effectiveness of school – community relationship consisted of Digital Leadership, Transformational Leadership, and Conversational Leadership, with the standard error estimation of ±.23848. The multiple regression analysis equations could be written as raw scores and standard scores: 
            Y′ = 1.684 + .210 (X2) + .226 (X4) + .166 (X3)
            Z′ = .260 (Z2) + .257 (Z4) + .206 (Z3)

4. Three aspects of school administrators’ leadership were able to predict the effectiveness of school – community relationship and recognized as needing improvement: 1) Digital Leadership, organizations must adjust their culture and administrative methods, construct new bodies of knowledge by utilizing information technologies for communication, and encourage personnel to take risks and attempt new things, 2) Conversational Leadership, administrators must build good human relations, communicate and connect with school communities, have ability to influence personnel, use positive, courteous, and modest verbal communication, and build a body of knowledge through the new processes, and 3) Transformational Leadership, administrators must change themselves responding to the latest developments, adopt components of transformational leadership as part of their administration, create new activities, and projects according to the changes in societies, make adjustments to practices that can be visually perceived in terms of concrete, abstract, and surrounding contexts, and apply new things for operations.
 

คำสำคัญ
ภาวะผู้นำของผู้บริหารสถานศึกษา, การสร้างความสัมพันธ์กับชุมชนของโรงเรียน
Keywords
Leadership of School Administrators, School – Community relationship
ไฟล์วิทยานิพนธ์
ลำดับที่ ดาวน์โหลดไฟล์ ขนาดไฟล์
1 fulltext 8,168.98 KB
วันที่นำเข้าข้อมูล
23 มกราคม 2566 - 23:24:52
View 214 ครั้ง


^