สืบค้นเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) จากฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ (Thesis Database) ของบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร
การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมาย เพื่อศึกษา เปรียบเทียบ ความสัมพันธ์และอำนาจพยากรณ์ของวัฒนธรรมองค์การที่ส่งผลต่อประสิทธิผลการบริหารงานโรงเรียนและหาแนวทางการพัฒนาวัฒนธรรมองค์การที่ส่งผลต่อประสิทธิผลการบริหารงานโรงเรียน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ผู้บริหารโรงเรียนและครูผู้สอนโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษานครพนม ปีการศึกษา 2564 จำนวน 321 คน ประกอบด้วยผู้บริหารโรงเรียน 78 คน และครูผู้สอน 243 คน กำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างตามตารางของ Krejcie and Morgan และใช้การสุ่มกลุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้น (Stratified Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ ประกอบด้วย แบบสอบถามวัฒนธรรมองค์การ มีค่าอำนาจจำแนก .486 - .861 มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ .966 แบบสอบถามประสิทธิผลการบริหารงานโรงเรียน มีค่าอำนาจจำแนก .538 - .916 มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ .990 และแบบสัมภาษณ์แนวทางการพัฒนาวัฒนธรรมองค์การที่ส่งผลต่อประสิทธิผลการบริหารงานโรงเรียน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบ t-test ชนิด Independent Samples การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One-Way ANOVA) การวิเคราะห์ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์อย่างง่ายของเพียร์สัน (Pearson’s Product-Moment Correlation Coefficient) และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณแต่ละขั้นตอน (Stepwise Multiple Regression Analysis)
ผลการวิจัยพบว่า
1. วัฒนธรรมองค์การ โดยรวมอยู่ในระดับมาก
2. ประสิทธิผลการบริหารงานโรงเรียนโดยรวมอยู่ในระดับมาก
3. วัฒนธรรมองค์การ ตามความคิดเห็นของผู้บริหารโรงเรียนและครูผู้สอน จำแนกตามสถานภาพการดำรงตำแหน่ง ขนาดโรงเรียนและประสบการณ์ในการปฏิบัติงานที่แตกต่างกัน โดยรวม พบว่า ไม่แตกต่างกัน
4. ประสิทธิผลการบริหารงานโรงเรียน ตามความคิดเห็นของผู้บริหารโรงเรียนและครูผู้สอน จำแนกตามสถานภาพการดำรงตำแหน่ง ขนาดโรงเรียนและประสบการณ์ในการปฏิบัติงานที่แตกต่างกัน โดยรวม พบว่า ไม่แตกต่างกัน
5. วัฒนธรรมองค์การกับประสิทธิผลการบริหารงานโรงเรียนมีความสัมพันธ์กันในทางบวกอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 โดยมีความสัมพันธ์อยู่ในระดับสูงมาก (rxy=.907)
6. วัฒนธรรมองค์การ จำนวน 6 ด้าน ที่สามารถพยากรณ์ความเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ของโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษานครพนม ได้แก่ คือ 1) ด้านความรู้สึกเป็นส่วนหนึ่งขององค์การ 2) ด้านความมุ่งหมายขององค์การ 3) ด้านความมีคุณภาพ 4) ด้านความหลากหลายและการจัดการบุคลากร 5) ด้านการยอมรับ และ 6. ด้านคุณธรรมจริยธรรมในองค์การ โดยมีอำนาจพยากรณ์ ร้อยละ 82.10 และมีความคลาดเคลื่อนมาตรฐานของการพยากรณ์เท่ากับ ±.23136
7. แนวทางการพัฒนาวัฒนธรรมองค์การที่ส่งผลต่อประสิทธิผลการบริหารโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษานครพนม เสนอแนะไว้ 6 ด้าน คือ 1) ด้านความรู้สึกเป็นส่วนหนึ่งขององค์การ คือ บุคลากรทุกคนมีส่วนร่วมในการวางแผน เป้าหมาย ความมุ่งหมาย กำหนดวิสัยทัศน์ ยุทธศาสตร์ พันธกิจโรงเรียนร่วมกันให้ชัดเจน 2) ด้านความมุ่งหมายขององค์การ คือ บุคลากรทุกคนมีส่วนร่วมในการกำหนดวิสัยทัศน์ 3) ด้านความมีคุณภาพ คือ การนิเทศ ติดตาม รายงาน ประเมินผลและพัฒนาผลการดำเนินงาน อย่างต่อเนื่อง และสม่ำเสมอ 4) ด้านความหลากหลายและการจัดการบุคลากร คือ เลือกคนให้ตรงกับงาน มอบหมายงานตามความถนัด 5) ด้านการยอมรับ คือ ความศรัทธา เชื่อใจไว้ใจ การเห็นคุณค่าของบุคคล และ 6) ด้านคุณธรรมจริยธรรมในองค์การ คือ กระบวนการทำงานต้องสามารถตรวจสอบได้เพื่อความโปร่งใสขององค์การ และทุกคนต้องได้รับการปฏิบัติอย่างเสมอภาคและยุติธรรม
The purposes of this research were to examine and compare the relationship and the predictive power of organizational culture affecting the effectiveness of school administration, and to establish guidelines for developing organizational culture affecting the effectiveness of school administration. The sample group, obtained through stratified random sampling, consisted of 78 school administrators and 243 teachers working under the Secondary Educational Service Area Office Nakhon Phanom in the academic year 2021, yielding a total of 321 participants. The Krejcie and Morgan table was also applied for determining the sample size. The tools for data collection were sets of 5-point scale questionnaires, comprising a set of questionnaires on organizational culture with the discriminative power values ranging from .486 to .861 and the reliability of .966, and a set of questionnaires on the effectiveness of school administration with the discriminative power values ranging from .538 to .916 and the reliability of .990, and a structured interview form examining guidelines for developing organizational culture affecting the effectiveness of school administration. Statistics for data analysis were frequency, percentage, mean, standard deviation, t-test for Independent Samples, One-Way ANOVA, Pearson’s product-moment correlation coefficient, and Stepwise multiple regression analysis.
The findings were as follows:
1. The organizational culture was overall at a high level.
2. The effectiveness of school administration was overall at a high level.
3. The overall organizational culture as perceived by participants, classified by positions, school sizes, and work experience, showed no differences.
4. The overall effectiveness of school administration as perceived by participants, classified by positions, school sizes, and work experience, showed no differences.
5. The organizational culture and the effectiveness of school administration had a positive relationship at a very high level (rxy=.907) with the .01 level of significance.
6. The six aspects of organizational culture, namely 1) feelings of ownership, 2) organizational objectives, 3) quality, 4) diversity and personnel management, 5) acceptance, and 5) organizational morality and ethics could predict the effectiveness of school administration with the predictive power of 82.10 percent and the standard error of estimate of ±.23136.
7. The proposed guidelines for developing organizational culture affecting the effectiveness of school administration under the Secondary Educational Service Area Office Nakhon Phanom consisted of six aspects: 1) Feelings of Ownership, the members of the organization should have opportunities to participate in planning and setting clear goals, objectives, strategic visions, and school missions; 2) Organizational Objectives, all personnel should involve in formulating visions; 3) Quality, the followings should be implemented continuously and consistently: supervision, monitoring, reporting, evaluation, and development of operational results; 4) Diversity and Personnel Management, allocating persons to jobs according to their competencies is required; 5) Acceptance, including faith, trust, and appreciation of others; and 6) Organizational Morality and Ethics, working processes must consistent with the principles of transparency and fairness.
ลำดับที่ | ดาวน์โหลดไฟล์ | ขนาดไฟล์ |
1 | fulltext | 9,150.42 KB |