ฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ (E-Thesis) SNRU

สืบค้นเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) จากฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ (Thesis Database) ของบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร

ชื่อวิทยานิพนธ์
สมรรถนะประจำสายงานของครูที่ส่งผลต่อความเป็นชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพในโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครพนม เขต 2
Teachers’ Functional Competency Affecting Professional Learning Communities in Schools under Nakhon Phanom Primary Educational Service Area Office 2
ผู้จัดทำ
กิตติพงษ์ ด่างเกษี รหัส 63421229133 ระดับ ป.โท ภาคพิเศษ
หลักสูตร
ครุศาสตรมหาบัณฑิต (ค.ม.) สาขาวิชา การบริหารการศึกษา
ปี พ.ศ.
2565
ที่ปรึกษา
ดร.เพ็ญผกา ปัญจนะ , ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.วัฒนา สุวรรณไตรย์
บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อศึกษา เปรียบเทียบ หาความสัมพันธ์หาอำนาจพยากรณ์ของสมรรถนะประจำสายงานของครูที่ส่งผลต่อความเป็นชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพในโรงเรียนและหาแนวทางพัฒนาสมรรถนะประจำสายงานของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครพนม เขต 2 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ครูผู้สอน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครพนม เขต 2 ปีการศึกษา 2564 จำนวน 330 คน โดยใช้ตารางกำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างของ Krejcie and Morgan และใช้วิธีสุ่มแบบหลายขั้นตอน (Multi-Stage Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ ประกอบด้วย แบบสอบถามสมรรถนะประจำสายงานของครู มีค่าอำนาจจำแนก 0.66 - 0.85 มีค่าความเชื่อมั่น เท่ากับ 0.98 และแบบสอบถามความเป็นชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพในโรงเรียน มีค่าอำนาจจำแนก 0.51 - 0.87 มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.98 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบ t-test ชนิด Independent Samples การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One-Way ANOVA) การวิเคราะห์ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์อย่างง่ายของเพียร์สัน (Pearson’s Product-Moment Correlation Coefficient) และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณแต่ละขั้นตอน (Stepwise Multiple Regression Analysis)

ผลการวิจัยพบว่า

1. ระดับสมรรถนะประจำสายงานของครู โดยรวมอยู่ในระดับมาก

2. ระดับความเป็นชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพในโรงเรียน โดยรวมอยู่ในระดับมาก

3. ผลการเปรียบเทียบสมรรถนะประจำสายงานของครู ตามความคิดเห็นของครู จำแนกตามเพศและการดำรงตำแหน่งของครู พบว่า โดยรวมไม่แตกต่างกันส่วนจำแนกตามขนาดของโรงเรียน พบว่า โดยรวมแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 

4. ผลการเปรียบเทียบความเป็นชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพในโรงเรียน ตามความคิดเห็นของครู จำแนกตามเพศและการดำรงตำแหน่งของครู พบว่า โดยรวมไม่แตกต่างกัน ส่วนจำแนกตามขนาดของโรงเรียน พบว่า โดยรวมแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01

5. สมรรถนะประจำสายงานของครูกับความเป็นชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพในโรงเรียน มีความสัมพันธ์กันในทางบวก อยู่ในระดับสูง (rxy=876) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01      

6. สมรรถนะประจำสายงานของครู จำนวน 5 ด้าน ที่สามารถพยากรณ์ความเป็นชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพในโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครพนม เขต 2 ได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ได้แก่ ด้านการสร้างความสัมพันธ์และความร่วมมือกับชุมชนเพื่อการจัดการเรียนรู้ (X6) ด้านการบริหารจัดการชั้นเรียน (X3) ด้านวิเคราะห์ สังเคราะห์ และการวิจัยเพื่อพัฒนาผู้เรียน (X4) ด้านภาวะผู้นำครู (X5) และด้านการบริหารหลักสูตรและการจัดการเรียนรู้ (X1) โดยมีอำนาจพยากรณ์ ร้อยละ 79.40 และมีความคลาดเคลื่อนมาตรฐานของการพยากรณ์เท่ากับ ±0.23177 สามารถเขียนสมการการวิเคราะห์พหุคูณถดถอยในรูปคะแนนดิบและรูปแบบคะแนนมาตรฐาน ดังนี้
                Y’ = .123 + .394 (X6) + .186 (X3) + .121 (X4) + .168 (X5) + .104 (X1)
                Z’ = .403 (Z6) + .165 (Z3) + .139 (Z4) + .168 (Z5) + .101 (Z1)

7. สมรรถนะประจำสายงานของครูที่ส่งผลต่อความเป็นชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพในโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครพนม เขต 2 ที่ควรได้รับการพัฒนา จำนวน 5 ด้าน ประกอบด้วย 1) ด้านการสร้างความสัมพันธ์และความร่วมมือกับชุมชนเพื่อการจัดการเรียนรู้ โรงเรียนควรสร้างความสัมพันธ์อันดีกับชุมชนและมีการช่วยเหลือเกื้อกูลซึ่งกันและกัน 2) ด้านการบริหารจัดการชั้นเรียน ครูควรมีการสร้างวินัยเชิงบวกในชั้นเรียนเพื่อส่งเสริมการบริหารจัดการชั้นเรียนให้มีคุณภาพ 3) ด้านวิเคราะห์ สังเคราะห์ และการวิจัยเพื่อพัฒนาผู้เรียน โรงเรียนควรจัดทำแผนการดำเนินงานการทำวิจัยในชั้นเรียน และส่งเสริมให้ครูทำวิจัยในชั้นเรียนเพื่อแก้ปัญหาต่าง ๆ อย่างเป็นระบบ 4) ด้านภาวะผู้นำครู ครูควรมีความเป็นผู้นำและผู้ตามในการทำงานร่วมกับผู้อื่นได้อย่างเหมาะสมในทุกโอกาส 5) ด้านการบริหารหลักสูตรและการจัดการเรียนรู้ ครูควรมีการปรับหลักสูตร ปรับการวัดประเมินผลให้เหมาะสม เพื่อพัฒนาผู้เรียนให้เกิดประสิทธิภาพและประสิทธิผล
 

Abstract

The purposes of this research aimed to examine, compare, determine the relationship, identify the predictive power of teachers’ functional competency affecting professional learning communities, and establish guidelines for developing teachers’ functional competency under Nakhon Phanom Primary Educational Service Area Office 2. The sample, obtained through multi-stage random sampling, consisted of 330 teachers working under Nakhon Phanom Primary Educational Service Area Office 2 in the academic year 2021. The Krejcie and Morgan table was also used to calculate the sample size. The research instrument for data collection included sets of 5-rating scale questionnaires containing two aspects: Aspect 1: teachers’ functional competency with the discriminative power from 0.66 to 0.85 and the reliability of 0.98; Aspect 2: professional learning communities in schools with the discriminative power from 0.51 to 0.87 and the reliability of 0.98. The statistics for data analysis were frequency, percentage, mean and standard deviation. The hypothesis testing was done throught-test for Independent Samples, One–Way ANOVA, Pearson’s product-moment correlation coefficient, and Stepwise multiple regression analysis.

The findings were as follows:

1. The level of teachers’ functional competency was overall at a high level. 

2. Professional learning communities in schools were overall at a high level.

3. The comparison results revealed that the teachers’ functional competency as perceived by teachers, classified by gender and positions, overall and in each aspect showed no differences, whereas there was a difference in school sizes at the .01 level of significance overall.

4. The comparison results revealed that the professional learning communities in schools as perceived by teachers, classified by gender and positions, overall and in each aspect showed no difference, whereas, in terms of school sizes, there was a difference at the .01 level of significance.

5. The teachers’ functional competency and professional learning communities in schools had a positive relationship with a high level (rxy=.876) at the .01 level of significance. 

6. The five aspects of teachers’ functional competency were able to predict the professional learning communities in schools under Nakhon Phanom Educational Service Area Office 2 at the .01 level of significance, namely school-community relationship building and collaboration for learning management (X6), classroom management (X3), analysis, synthesis and research for learner development (X4), teacher leadership (X5), and curriculum administration and learning management (X1), with the predictive power of 79.40 percent and the standard error estimation of ±0.23177. The regression equation could be written in raw scores and standardized scores as follows:
                Y’ = .123 + .394 (X6) + .186 (X3) + .121 (X4) + .168 (X5) + .104 (X1)
                Z’ = .403 (Z6) + .165 (Z3) + .139 (Z4) + .168 (Z5) + .101 (Z1)

7. The proposed guidelines for developing teachers’ functional competency affecting professional learning communities under Nakhon Phanom Primary Educational Service Area Office 2 consisted of three aspects needing improvement: 1) School-community relationship building and collaboration, schools and communities should build good relationships with communities, and support each other, 2) Classroom Management, teachers should establish positive discipline in the classroom to promote quality classroom management, 3) Analysis, synthesis, and research for learner development, schools should establish classroom research operational plans and encourage teachers to perform classroom research to solve problems systematically, 4) Teacher Leadership, teachers need to be able to lead and follow to work collaboratively and appropriately with others in all situations, and 5) Curriculum administration and learning management, teachers should revise the curriculum and optimize evaluation measures to educate learners efficiently and effectively.
 

คำสำคัญ
สมรรถนะประจำสายงานของครู, ความเป็นชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ
Keywords
Teachers’ Functional Competency, Professional Learning Communities
ไฟล์วิทยานิพนธ์
ลำดับที่ ดาวน์โหลดไฟล์ ขนาดไฟล์
1 fulltext 11,235.12 KB
วันที่นำเข้าข้อมูล
23 มกราคม 2566 - 23:18:04
View 376 ครั้ง


^