ฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ (E-Thesis) SNRU

สืบค้นเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) จากฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ (Thesis Database) ของบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร

ชื่อวิทยานิพนธ์
ปัจจัยทางการบริหารที่ส่งผลต่อประสิทธิผลการบริหารงานวิชาการในโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบึงกาฬ
Administrative Factors Affecting the Effectiveness of Academic Affairs Administration in Educational Opportunity Expansion Schools under Buengkan Primary Educational Service Area Office
ผู้จัดทำ
ปภาลักษณ์ โสมแผ้ว รหัส 63421229136 ระดับ ป.โท ภาคพิเศษ
หลักสูตร
ครุศาสตรมหาบัณฑิต (ค.ม.) สาขาวิชา การบริหารการศึกษา
ปี พ.ศ.
2564
ที่ปรึกษา
ดร. สุรัตน์ ดวงชาทม , ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. จินดา ลาโพธิ์
บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมาย เพื่อศึกษา เปรียบเทียบ หาความสัมพันธ์ อำนาจพยากรณ์ และศึกษาแนวทางการพัฒนาปัจจัยทางการบริหารที่ส่งผลต่อประสิทธิผลการบริหาร งานวิชาการในโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบึงกาฬ การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงสหสัมพันธ์ (Correlation Research) การกำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างใช้ตารางของ Krejcie and Morgan กลุ่มตัวอย่างประกอบด้วย ผู้บริหารโรงเรียน ครูผู้รับผิดชอบงานวิชาการและครูผู้สอนปีการศึกษา 2564 จำนวน 300 คน วิธีการเลือกกลุ่มตัวอย่างใช้การเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) และการสุ่มแบบง่าย (Simple Random Sampling) เป็นผู้บริหารโรงเรียน จำนวน 50 คน ครูผู้รับผิดชอบงานวิชาการ จำนวน 50 คน และครูผู้สอน จำนวน 200 คน จาก 50 โรงเรียน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ ประกอบด้วยแบบสอบถามปัจจัยทางการบริหาร ค่าอำนาจจำแนกอยู่ระหว่าง .453 - .854 และมีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ .944 และแบบสอบถามประสิทธิผล การบริหารงานวิชาการ มีค่าอำนาจจำแนกอยู่ระหว่าง .727 - .875 และมีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ .943 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ทดสอบค่าเอฟ (F-test) การวิเคราะห์ ความแปรปรวนทางเดียว (One-Way ANOVA) การวิเคราะห์ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์อย่างง่ายของเพียร์สัน (Pearson’s Product-Moment Correlation Coefficient) และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณแต่ละขั้นตอน (Stepwise Multiple Regression analysis)

ผลการวิจัย พบว่า

1. ปัจจัยทางการบริหาร โดยรวมอยู่ในระดับมาก

2. ประสิทธิผลการบริหารงานวิชาการในโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา โดยรวมอยู่ในระดับมาก

3. ปัจจัยทางการบริหาร จำแนกตามตำแหน่งหน้าที่ในโรงเรียน ประสบการณ์ในการปฏิบัติงานและระยะทางจากโรงเรียนถึงสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา แตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ส่วนจำแนกตามประสบการณ์ในการปฏิบัติงานไม่แตกต่างกัน 

4. ประสิทธิผลการบริหารงานวิชาการ จำแนกตามตำแหน่งหน้าที่ในโรงเรียน ประสบการณ์ในการปฏิบัติงานและระยะทางจากโรงเรียนถึงสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา แตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ส่วนจำแนกตามประสบการณ์ในการปฏิบัติงาน ไม่แตกต่างกัน 

5. ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยทางการบริหารโดยรวมและประสิทธิผลการบริหาร งานวิชาการในโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษาโดยรวม พบว่ามีความสัมพันธ์กันทางบวก อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01  โดยมีความสัมพันธ์อยู่ในระดับสูง (rxy= .870)

6. ปัจจัยทางการบริหารที่สามารถพยากรณ์ประสิทธิผลการบริหารงานวิชาการ ในโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา ได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 จำนวน 2 ด้าน ได้แก่ ด้านการพัฒนาบุคลากร (X3) และด้านการบริหารแบบมีส่วนร่วม (X6) และมีนัยสำคัญ ทางสถิติที่ระดับ .05 จำนวน 2 ด้าน คือด้านการจูงใจของผู้บริหาร (X5) และด้านงบประมาณ (X4) โดยมีอำนาจพยากรณ์ร้อยละ 79.10 และมีความคลาดเคลื่อนมาตรฐานของการพยากรณ์เท่ากับ ± .25462 

7. แนวทางการพัฒนาปัจจัยทางการบริหารที่ส่งผลต่อประสิทธิผลการบริหาร งานวิชาการในโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา มีจำนวน 4 ด้าน ได้แก่1) ด้านการพัฒนาบุคลากร ผู้บริหารควรส่งเสริม สนับสนุนให้เข้ารับการอบรม ประชุมและสนับสนุนให้ศึกษาต่อในระดับที่สูงขึ้น 2) ด้านการจูงใจของผู้บริหาร ผู้บริหารต้องสร้างแรงบันดาลใจ ในการปฏิบัติงาน มอบหมายงานให้ตรงตามความรู้ ความสามารถของบุคลากร ยกย่อง ชมเชยและให้รางวัล 3) ด้านการบริหารแบบมีส่วนร่วม ผู้บริหารต้องเปิดโอกาสให้ครูมีส่วนร่วมในการบริหารงาน และมีการมอบหมายงานที่ชัดเจนและทั่วถึง 4) ด้านงบประมาณ ให้บุคลากรชุมชนมีส่วนร่วมในการบริหาร มีความโปร่งใสในระบบบริหารการเงินและมีความชัดเจน
 

Abstract

The purposes of this correlation research were to: examine, compare, determine the relationship, identify the predictive power, and establish guidelines for developing administrative factors affecting the effectiveness of academic affairs administration in educational opportunity expansion schools under Buengkan Primary Educational Service Area Office. The sample size was calculated to be 300 participants according to Krejcie and Morgan's table and determined via purposive sampling and simple random sampling to complete the requisite sample size of 50 school administrators, 50 teachers in charge of academic affairs, and 200 teachers from 50 schools in the academic year 2021. The research instruments were sets of 5-level rating scale questionnaires: a set of questionnaires on administrative factors with discrimination values ranging from .453 to .854 and the reliability of .944; and a set of questionnaires on the effectiveness of academic affairs administration with discrimination values ranging from .727 to .875 and the reliability of .943. Statistics for data analysis were frequency, percentage, mean, standard deviation, One-Way ANOVA, Pearson’s product-moment correlation coefficient, and Stepwise multiple regression analysis.

The findings were as follows:

1. The overall administrative factors were at a high level.

2. The overall effectiveness of academic affairs administration in educational opportunity expansion schools was at a high level.

3. The administrative factors classified by positions, work experience, and distance from schools to the Primary Education Service Area Office were different at the .05 level of significance, but those classified according to work experience were not different.

4. The effectiveness of academic affairs administration, classified by positions, work experience, and distance from school to the Primary Education Service Area Office was different at the .05 level of significance, whereas there was no difference in terms of work experience.

5. The administrative factors and the effectiveness of academic affairs administration in educational opportunity expansion schools overall had a positive relationship at the .01 level of significance with a high level (rxy= .870).  

6. The two administrative factors- personnel development (X3) and participatory management (X6)-were able to predict the effectiveness of academic affairs administration in educational opportunity expansion schools at the .01 level of significance, whereas the two administrative factors, including administrators’ motivation (X5) and budget (X4), achieved at the .05 level of significance, with the predictive power of 79.10 percent and the standard error estimate of ± .25462. 

7. The guidelines for developing administrative factors affecting the effectiveness of academic affairs administration in educational opportunity expansion schools consisted of four aspects: 1) Professional development, administrators should promote and support personnel to attend training sessions and pursue higher education; 2) Administrators’ motivation, administrators must create performance motivation and assign tasks based on personnel knowledge and abilities, and motivate personnel through recognition and reward; 3) Participatory administration, administrators must provide opportunities for teachers to participate in administration as well as clear and comprehensive assignments; 4) Budget, administrators should involve personnel and communities to participate in school administration and set a clear and transparent financial management system.
 

คำสำคัญ
ปัจจัยทางการบริหาร ประสิทธิผลการบริหารงานวิชาการ
Keywords
Administrative Factors, Effectiveness of Academic Affairs Administration
ไฟล์วิทยานิพนธ์
ลำดับที่ ดาวน์โหลดไฟล์ ขนาดไฟล์
1 fulltext 11,114.07 KB
วันที่นำเข้าข้อมูล
10 ตุลาคม 2565 - 11:22:59
View 485 ครั้ง


^