ฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ (E-Thesis) SNRU

สืบค้นเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) จากฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ (Thesis Database) ของบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร

ชื่อวิทยานิพนธ์
ภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารโรงเรียนที่ส่งผลต่อประสิทธิผล การบริหารงานวิชาการของโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่ การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 1
The instructional Leadership of School Administrators Affecting The Effectiveness of Academic Affairs Administration of Schools under Sakon Nakhon Primary Educational Service Area Office 1
ผู้จัดทำ
เนติ์ มโนปัญญา รหัส 63421229137 ระดับ ป.โท ภาคพิเศษ
หลักสูตร
ครุศาสตรมหาบัณฑิต (ค.ม.) สาขาวิชา การบริหารการศึกษา
ปี พ.ศ.
2565
ที่ปรึกษา
ดร. สุมัทนา หาญสุริย์ , รองศาสตราจารย์ ดร.ศิกานต์ เพียรธัญญกรณ์
บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษา เปรียบเทียบ หาความสัมพันธ์ หาอำนาจพยากรณ์ และหาแนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารโรงเรียนที่ส่งผลต่อประสิทธิผลการบริหารงานวิชาการของโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 1 ตามความคิดเห็นของผู้บริหารสถานศึกษาและครูผู้สอน การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงสหสัมพันธ์ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ผู้บริหารโรงเรียนและครูผู้สอน โรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 1  ปีการศึกษา 2564 จำนวน 390 คน ประกอบด้วย ผู้บริหารโรงเรียน110 คน และครูผู้สอน 280 คน กำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างตามตารางของ Krejcie and Morgan และใช้การสุ่มกลุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน (Muti-Stage Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้ ได้แก่ แบบสอบถาม  และแบบสัมภาษณ์ แบบสอบถามเกี่ยวกับภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารโรงเรียน มีค่าอำนาจจำแนกอยู่ระหว่าง .223 - .900 มีค่าความเชื่อมั่น เท่ากับ .926 และแบบสอบถามเกี่ยวกับประสิทธิผลการบริหารงานวิชาการของโรงเรียน มีค่าอำนาจจำแนกอยู่ระหว่าง .239 - .833 มีค่าความเชื่อมั่น เท่ากับ .940สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบ t-test ชนิด Independent samples การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One-Way ANOVA) การวิเคราะห์ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์อย่างง่ายของเพียร์สัน (Pearson’s Product-Moment Correlation Coefficient) และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณแต่ละขั้นตอน (Stepwise Multiple Regression Analysis)

ผลการวิจัยพบว่า

1. ภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารโรงเรียนโดยรวมและประสิทธิผลการบริหารงานวิชาการของโรงเรียนโดยรวมอยู่ในระดับมาก

2. ผลการเปรียบเทียบภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารโรงเรียนตามความคิดเห็นของผู้บริหารโรงเรียนและครูผู้สอน จำแนกตามสถานภาพการดำรงตำแหน่ง ขนาดโรงเรียน และประสบการณ์ในการปฏิบัติงานที่แตกต่างกันโดยรวม พบว่า แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 

3. ผลการเปรียบเทียบประสิทธิผลการบริหารงานวิชาการของโรงเรียนตามความคิดเห็นของผู้บริหารโรงเรียนและครูผู้สอน จำแนกตามสถานภาพการดำรงตำแหน่ง ขนาดโรงเรียน และประสบการณ์ในการปฏิบัติงานที่แตกต่างกันโดยรวม พบว่า แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01

4. ภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารโรงเรียนกับประสิทธิผลการบริหารงานวิชาการของโรงเรียนมีความสัมพันธ์กันในทางบวกอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 โดยมีความสัมพันธ์อยู่ในระดับปานกลาง (rxy= .528).

5. ภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารโรงเรียน ด้านการบริหารจัดการหลักสูตรและการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน ด้านการพัฒนาคุณภาพครู ด้านการสร้างบรรยากาศแห่งการเรียนรู้ และด้านการกำหนดวิสัยทัศน์ เป้าหมาย และพันธกิจทางการเรียนรู้ สามารถพยากรณ์ประสิทธิผลการบริหารงานวิชาการของโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาสกลนคร เขต 1 ได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 โดยมีอำนาจพยากรณ์ ร้อยละ 41.10 และ มีความคลาดเคลื่อนมาตรฐานของการพยากรณ์เท่ากับ ± .31995

6. แนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารโรงเรียนที่ส่งผลต่อประสิทธิผลการบริหารงานวิชาการของโรงเรียน เขตพื้นที่ประถมศึกษาสกลนคร เขต 1 เสนอแนะไว้ 4 ด้าน ประกอบด้วย 1) ด้านการกำหนดวิสัยทัศน์ เป้าหมาย และพันธกิจทางการเรียนรู้ ได้แก่ ผู้บริหารควรมีการกำหนดวิสัยทัศน์ พันธกิจ เป้าหมาย อัตลักษณ์ของโรงเรียนให้ชัดเจน 2) ด้านการบริหารจัดการหลักสูตรและการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน ได้แก่ ผู้บริหารพัฒนาหลักสูตรของสถานศึกษาให้สอดคล้องกับหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานและส่งเสริมให้ครูรู้และเข้าใจหลักสูตรสถานศึกษา 3) ด้านการพัฒนาคุณภาพครู ได้แก่ มีการพัฒนาตนเองอยู่สม่ำเสมอ 4) ด้านการสร้างบรรยากาศแห่งการเรียนรู้ ได้แก่ ผู้บริหารโรงเรียนมีการส่งเสริมให้มีการสร้างบรรยากาศการเรียนรู้ในโรงเรียนให้เหมาะสมและปลอดภัย
 

Abstract

The purposes of this correlational research were to examine, compare, determine the relationship, identify the predictive power, and establish guidelines for developing instructional leadership of school administrators affecting the effectiveness of academic affairs administration of schools under Sakon Nakhon Primary Educational Service Area Office 1. The sample group, obtained through multi-stage random sampling, consisted of 110 school administrators and 280 teachers working in schools under Sakon Nakhon Primary Educational Service Area Office 1 in the academic year 2021, yielding a total of 390 participants. The Krejcie and Morgan table was also applied for determining the sample size. The tools for data collection were interview forms and a set of questionnaires on instructional leadership with the discriminative power ranging from .223 to .900 and the reliability of .926, and the effectiveness of academic affairs administration of schools with the discriminative power ranging from .239 to .833 and the reliability of .940. Statistics for data analysis were frequency, percentage, mean, standard deviation, t-test for Independence Samples, One-Way ANOVA, Pearson’s product-moment correlation coefficient, and Stepwise multiple regression analysis.

The findings were as follows:

1. The instructional leaderships of school administrators and theeffectiveness of academic affairs administration of schools were overall at a high level.

2. The comparison results revealed that the overall instructional leadership of school administrators, as perceived by participants, classified by positions, school sizes, and work experience, showed differences at the .01 level of significance.  

3. The comparison results revealed that the overall effectiveness of academic affairs administration of schools as perceived by participants, classified by positions, school sizes, and work experience, showed differences at the .01 level of significance. 

4. The instructional leadership of school administrators and the effectiveness of academic affairs administration of schools had a positive relationship at the .01 level of significance with a high level (rxy= .528).

5. The instructional leadership consisting of curriculum administrative management and instructional management, teacher quality development, creating a conducive learning environment, and the establishment of visions, goals, and learning missions could predict the effectiveness of academic affairs administration of schools under Sakon Nakhon Primary Educational Service Area Office 1 with the predictive power of 41.1 percent and the standard error of estimate of ± .31995.  

6. The proposed guidelines for developing instructional leadership affecting the effectiveness of academic affairs administration of schools under Sakon Nakhon Primary Educational Service Area Office 1 consisted of four aspects: 1) Establishment of Visions, Goals, and Learning Missions. School administrators should set clear plans on visions, goals, and learning missions; 2) Curriculum Administrative Management and Instructional Management. School administrators should develop school curriculum according to the Basic Education Core Curriculum and ensure that teachers obtain knowledge and develop an understanding of the school curriculum; 3) Teacher Quality Development. School administrators should provide continuous self-development for teachers, and 4) Creating a Conducive Learning Environment. School administrators should create a school environment that is safe, appropriate, and conducive to learning.
 

คำสำคัญ
ภาวะผู้นำทางวิชาการ ประสิทธิผลการบริหารงานวิชาการของโรงเรียน
Keywords
Instructional Leadership, Effectiveness of Academic Affairs Administration
ไฟล์วิทยานิพนธ์
ลำดับที่ ดาวน์โหลดไฟล์ ขนาดไฟล์
1 fulltext 7,923.06 KB
วันที่นำเข้าข้อมูล
10 ตุลาคม 2565 - 11:23:23
View 845 ครั้ง


^