ฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ (E-Thesis) SNRU

สืบค้นเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) จากฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ (Thesis Database) ของบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร

ชื่อวิทยานิพนธ์
ปัจจัยคัดสรรที่ส่งผลต่อการดำเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนในโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสกลนคร
Selected Factors Affecting an Operation of the Student Assistance System in Schools under the Secondary Educational Service Area Office Sakon Nakhon
ผู้จัดทำ
อรรถพล สุนทรพงศ์ รหัส 63421229142 ระดับ ป.โท ภาคพิเศษ
หลักสูตร
ครุศาสตรมหาบัณฑิต (ค.ม.) สาขาวิชา การบริหารการศึกษา
ปี พ.ศ.
2565
ที่ปรึกษา
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.วัฒนา สุวรรณไตรย์ , ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.จินดา ลาโพธิ์
บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมาย เพื่อศึกษา เปรียบเทียบ หาความสัมพันธ์ อำนาจพยากรณ์ และศึกษาแนวทางการพัฒนาปัจจัยคัดสรรที่ส่งผลต่อการดำเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนในโรงเรียน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ผู้บริหารโรงเรียน ครูที่รับผิดชอบงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน และครูที่ปรึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสกลนคร ปีการศึกษา 2564 จำนวน 315 คน กำหนดขนาด กลุ่มตัวอย่างใช้ตารางของ Krejcie and Morgan วิธีการเลือกกลุ่มตัวอย่างใช้การเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) และการสุ่มกลุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้น (Stratified Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถามและแบบสัมภาษณ์ คุณภาพของแบบสอบถามปัจจัยทางการบริหารที่คัดสรร มีค่าอำนาจจำแนกอยู่ระหว่าง .502-.843  และค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ .976 แบบสอบถามการดำเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือในโรงเรียน มีค่าอำนาจจำแนกอยู่ระหว่าง .566-.876 และค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ .977 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One-Way ANOVA) การวิเคราะห์ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์อย่างง่ายของเพียร์สัน (Pearson’s Product-Moment Correlation Coefficient) และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณแต่ละขั้นตอน (Stepwise Multiple Regression analysis)

ผลการวิจัยพบว่า

1. ปัจจัยทางการบริหารที่คัดสรร โดยรวมอยู่ในระดับมาก

2. การดำเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนในโรงเรียน โดยรวมอยู่ในระดับมาก

3. ปัจจัยทางการบริหารที่คัดสรร จำแนกตามสถานภาพการดำรงตำแหน่งโดยรวมแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ส่วนจำแนกตามขนาดโรงเรียนและประสบการณ์ในการปฏิบัติงาน โดยรวมไม่แตกต่างกัน

4. การดำเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนในโรงเรียน จำแนกตามสถานภาพการดำรงตำแหน่ง ขนาดโรงเรียน และประสบการณ์ในการปฏิบัติงาน โดยรวมไม่แตกต่างกัน

5. ความสัมพันธ์ของปัจจัยทางการบริหารที่คัดสรรกับการดำเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนในโรงเรียน โดยรวมมีความสัมพันธ์กันทางบวก อย่างมีนัยสำคัญ ทางสถิติที่ระดับ .01 อยู่ในระดับสูง (rxy= .789). 

6. ปัจจัยทางการบริหารที่คัดสรรที่สามารถพยากรณ์การดำเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนในโรงเรียน ได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 จำนวน 5 ด้าน ได้แก่ ด้านความร่วมมือของผู้ปกครองและชุมชน ด้านการบริหารจัดการ ด้านการพัฒนาบุคลากร ด้านงบประมาณและทรัพยากรทางการศึกษา และด้านการทำงานเป็นทีมโดยมีอำนาจพยากรณ์ร้อยละ 61.70 และมีความคลาดเคลื่อนมาตรฐานของการพยากรณ์เท่ากับ ±.16498 

7. แนวทางการพัฒนาปัจจัยคัดสรรที่ส่งผลต่อการดำเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนในโรงเรียน เสนอแนะไว้ 5 ด้าน ประกอบด้วย 1) ด้านความร่วมมือของผู้ปกครองและชุมชน คือ โรงเรียนควรมีการสร้างความเข้าใจอันดี และความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างโรงเรียน ผู้ปกครองและชุมชน 2) ด้านการบริหารจัดการ คือ โรงเรียนควรใช้หลักการบริหารงานอย่างมีส่วนร่วม และวงจร PDCA ในการบริหารงาน 3) ด้านการพัฒนาบุคลากร คือ โรงเรียนควรมีการส่งเสริมและสนับสนุนบุคลากรในการพัฒนาตนเองและสร้างความเข้าใจในบทบาทหน้าที่ให้กับบุคลากร 4) ด้านงบประมาณและทรัพยากรทางการศึกษา คือ โรงเรียนควรมีการวางแผนการใช้งบประมาณ และมีการระดมทุนและทรัพยากรจากแหล่งต่าง ๆ และ 5) ด้านการทำงานเป็นทีม คือ โรงเรียนควรมีการประชุม ปรึกษา แลกเปลี่ยนเรียนรู้ และมีการวางแผนและกำหนดเป้าหมายร่วมกัน
 

Abstract

The purposes of this research were to examine, compare, determine the relationship, identify the predictive power of selected factors affecting a school operation of the student assistance system, and establish guidelines for developing selected factors affecting a school operation of the student assistance system. The sample group, obtained through purposive sampling and stratified random sampling, consisted of school administrators, teachers in charge of the student assistance system, and classroom teachers working under the Secondary Educational Service Area Office Sakon Nakhon in the academic year 2021, yielding a total of 315 participants. The Krejcie and Morgan table was also applied for determining the sample size. The research tools were questionnaires and interview forms. The quality of two sets of questionnaires on selected administrative factors and a school operation of the student assistance system in terms of the discriminative power was ranged respectively from .502 to .843, and .566 to .876, and the reliability of .976, and .977. The statistics for data analysis were frequency, percentage, mean, standard deviation, One-Way ANOVA, Pearson’s product-moment correlation coefficient, and Stepwise multiple regression analysis.

 The findings were as follows:

1. The selected administrative factors were overall at a high level.

2. The school operation of the student assistance system was overall at a high level.

3. The overall selected administrative factors, classified by positions were different at the .05 level of significance, whereas those classified according to school sizes and work experience showed no differences overall.

4. The overall school operation of the student assistance system classified by positions, school sizes, and work experience, showed no difference.

5. The overall relationship between selected administrative factors and the school operation of the student assistance system had a positive relationship at the .01 level of significance with a high level (rxy= .789).  

6. The selected administrative factors that could predict the school operation of the student assistance system at the .01 level of significance consisted of five aspects: parents and community cooperation, administrative management, personnel development, budget and educational resources, and teamwork. The said variables achieved the predictive power of 61.70 percent with the forecast standard error of ±.16498. 

7. The guidelines for developing the selected factors affecting the school operation of the student assistance system involved five aspects: Parents and Community Cooperation, schools should create a good understanding and relationship between the school and parents and community; Administrative Management, schools should implement the principles of participatory management and the PDCA cycles for performance administration; Personnel Development, schools should promote and support personnel development and create a better understanding of personnel’s roles and responsibilities; Budget and Educational Resources, schools should set plans and common goals; and Teamwork, the budget meetings for knowledge sharing and creating mutual planning and goals should be implemented.
 

คำสำคัญ
ปัจจัยคัดสรร การดำเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนในโรงเรียน
Keywords
Selected Factors, the School Operation of the Student Assistance System
ไฟล์วิทยานิพนธ์
ลำดับที่ ดาวน์โหลดไฟล์ ขนาดไฟล์
1 fulltext 11,587.20 KB
วันที่นำเข้าข้อมูล
10 ตุลาคม 2565 - 11:24:12
View 647 ครั้ง


^