สืบค้นเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) จากฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ (Thesis Database) ของบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร
การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อศึกษา เปรียบเทียบ ศึกษาความสัมพันธ์ ศึกษาอำนาจพยากรณ์ และหาแนวทางการพัฒนา ภาวะผู้นำของผู้บริหารที่ส่งผลต่อการปฏิบัติงานของครูในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุดรธานี เขต 1 ตามความคิดเห็นของผู้บริหารสถานศึกษาและครูผู้สอน จำแนกตามสถานภาพ ขนาดโรงเรียนและประสบการณ์ในการปฏิบัติงาน การวิจัยในครั้งนี้เป็นงานวิจัยเชิงสหสัมพันธ์ (Correlational research) กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษาและครูผู้สอนในปีการศึกษา 2564 จำนวน 350 คน จำแนกเป็นผู้บริหารสถานศึกษา จำนวน 90 คน ครูผู้สอน จำนวน 260 คน จากจำนวน 90 โรงเรียน กำหนดขนาดของกลุ่มตัวอย่างโดยใช้ตารางของเครจซี่และมอร์แกน และสุ่มแบบหลายขั้นตอน (Multi-Stage Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้ ได้แก่ แบบสอบถาม และแบบสัมภาษณ์ คุณภาพของแบบสอบถามทั้งฉบับมีค่าอำนาจจำแนกอยู่ระหว่าง 0.551 - 0.842 และมีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.945 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติทดสอบค่าที (t-test) ชนิด Independent Sample การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One-Way ANOVA) ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์อย่างง่ายของเพียร์สัน (Pearson’s Product Moment Correlation Coefficient) และ การวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณแต่ละขั้นตอน (Stepwise Multiple Regression analysis)
ผลการวิจัยพบว่า
1. ภาวะผู้นำของผู้บริหาร ตามความคิดเห็นของผู้บริหารสถานศึกษาและครูผู้สอน โดยรวม อยู่ในระดับมาก
2. การปฏิบัติงานของครู ตามความคิดเห็นของผู้บริหารสถานศึกษาและครูผู้สอน โดยรวม อยู่ในระดับมาก
3. ภาวะผู้นำของผู้บริหาร ตามความคิดเห็นของผู้บริหารสถานศึกษาและครูผู้สอน จำแนกตามสถานภาพ ขนาดโรงเรียน โดยรวมแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และจำแนกตามประสบการณ์ในการปฏิบัติงาน โดยรวมไม่แตกต่างกัน
4. การปฏิบัติงานของครู ตามความคิดเห็นของผู้บริหารสถานศึกษาและครูผู้สอน จำแนกตามสถานภาพ ขนาดโรงเรียน โดยรวมแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และจำแนกตามประสบการณ์ในการปฏิบัติงาน โดยรวมไม่แตกต่างกัน
5. ภาวะผู้นำของผู้บริหารโดยรวมมีความสัมพันธ์เชิงบวกกับการปฏิบัติงานของครู โดยรวมอยู่ในระดับค่อนข้างสูง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
6. ภาวะผู้นำของผู้บริหารมีอำนาจพยากรณ์การปฏิบัติงานของครู คือ ภาวะผู้นำในการบริหารจัดการโรงเรียน และภาวะผู้นำทางนวัตกรรมและเทคโนโลยีดิจิตอล โดยรวมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
7. การวิจัยในครั้งนี้ได้นำเสนอแนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำของผู้บริหาร จำนวน 2 ด้าน ที่ส่งผลต่อการปฏิบัติงานของครู คือ 7.1) ภาวะผู้นำในการบริหารจัดการโรงเรียน ผู้บริหารควรมีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้เกี่ยวกับแนวทางการบริหารจัดการโรงเรียนทั้ง 4 งาน และ 7.2) ด้านภาวะผู้นำทางนวัตกรรมและเทคโนโลยีดิจิตอล โดยผู้บริหารควรส่งเสริมให้ครูใช้เทคโนโลยีเข้ามาใช้ในการทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพและเกิดประสิทธิผลต่อสถานศึกษา
The purposes of this correlational research were to study, compare, determine the relationship, identify the predictive power, and establish guidelines for developing administrators’ leadership affecting the teacher performance in schools under Udon Thani Primary Educational Service Area Office 1, as perceived by administrators and teachers, categorized by positions, school sizes, and work experience. The sample group consisted of 90 school administrators and 260 teachers, yielding a total of 350 participants from 90 schools under Udon Thani Primary Educational Service Area Office 1 in the 2021 academic year, The sample size was determined using the Krejcie and Morgan Table and the multi-stage random sampling. The tool for data collection was a set of questionnaires with the discriminative power ranging from 0.551 to 0.842 with the reliability of 0.945 and structured interview forms. Statistics for data analysis were frequency, percentage, mean, standard deviation, Independent Sample t-test, One Way ANOVA, Pearson’s product-moment correlation coefficient, and Stepwise multiple regression analysis.
The findings were as follows:
1. The school administrators’ leadership as perceived by participants, was overall at a high level.
2. The teacher performance as perceived by participants, was overall at a high level.
3. The overall school administrators’ leadership, as perceived by participants classified by positions and school sizes, was different at the .01 level of significance, whereas, in terms of work experience, there was no difference overall.
4. The overall teacher performance as perceived by participants, classified by positions and school sizes, showed differences, whereas, in terms of work experience, there was no difference overall.
5. The school administrators’ leadership, as perceived by participants, was positively correlated at a high level with the .01 level of significance.
6. The school administrators’ leadership, which included school management leadership, and Innovation and digital technology leadership, exhibited the predictive power toward teacher performance at the .01 level of significance overall.
7. This research suggests the guidelines for improving administrators’ leadership, which has an impact on teacher performance: 7.1) School Management Leadership, administrators should share knowledge on the four school management approaches, and 7.2) Innovation and Digital Technology Leadership, administrators should encourage teachers to use technology to work effectively and effectively for schools.
ลำดับที่ | ดาวน์โหลดไฟล์ | ขนาดไฟล์ |
1 | fulltext | 6,171.35 KB |