สืบค้นเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) จากฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ (Thesis Database) ของบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร
การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อศึกษา เปรียบเทียบ ความสัมพันธ์ อำนาจพยากรณ์ และหาแนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำของผู้บริหารที่ส่งผลต่อประสิทธิผลการบริหารโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 3 ตามความคิดเห็นของผู้บริหารโรงเรียนและครูผู้สอน จำแนกตามสถานภาพการดำรงตำแหน่ง ขนาดของโรงเรียนและประสบการณ์ในการปฏิบัติงาน การวิจัยในครั้งนี้เป็นงานวิจัยเชิงสหสัมพันธ์ (Correlation Research) กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้บริหารโรงเรียนและครูผู้สอนในปีการศึกษา 2564 จำนวน 343 คน จำแนกเป็นกลุ่มผู้บริหารโรงเรียน จำนวน 95 คน และครูผู้สอน จำนวน 248 คน จากจำนวน 95 โรงเรียน กำหนดขนาดของกลุ่มตัวอย่างโดยใช้สูตรของทาโร ยามาเน่ และใช้วิธีการสุ่มแบบหลายขั้นตอน (Multi-Stage Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยในครั้งนี้ ได้แก่ แบบสอบถาม และแบบสัมภาษณ์ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติทดสอบค่าที (t-test) ชนิด Independent Samples การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One-Way ANOVA) ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์อย่างง่ายของเพียร์สัน (Pearson’s Product-Moment Correlation Coefficient) และ การวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณแต่ละขั้นตอน (Stepwise Multiple Regression analysis)
ผลการวิจัยพบว่า
1. ภาวะผู้นำของผู้บริหารและประสิทธิผลการบริหารโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนครเขต 3 โดยรวมอยู่ในระดับมาก
2. ภาวะผู้นำของผู้บริหาร จำแนกตามสถานภาพการดำรงตำแหน่ง ขนาดโรงเรียน โดยรวมมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และจำแนกตามประสบการณ์ในการปฏิบัติงาน โดยรวมมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
3. ประสิทธิผลการบริหารงานโรงเรียน ตามความคิดเห็นของผู้บริหารโรงเรียนและครูผู้สอน จำแนกตามสถานภาพการดำรงตำแหน่งและตามขนาดโรงเรียน โดยรวมมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และจำแนกตามประสบการณ์ในการปฏิบัติงาน โดยรวมไม่มีความแตกต่างกัน
4. ภาวะผู้นำของผู้บริหารกับประสิทธิผลการบริหารงานโรงเรียน โดยรวมพบว่ามีความสัมพันธ์ทางบวก (RXtYt = 0.825) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
5. ภาวะผู้นำของผู้บริหารที่สามารถพยากรณ์ประสิทธิผลการบริหารงานโรงเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 คือ ภาวะผู้นำแบบเป็นทีม (X5) ภาวะผู้นำแบบมุ่งคน (X2) ภาวะผู้นำแบบมุ่งงาน (X1) ภาวะผู้นำแบบมีส่วนร่วม (X4) และภาวะผู้นำแบบเปลี่ยนแปลง (X3)
สามารถเขียนสมการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ ในรูปคะแนนดิบและ คะแนนมาตรฐาน ได้ดังนี้
Yt ′ = 0.564 + 0.284X5 + 0.203X2 + 0.235X1 + 0.095X4 + 0.067X3
ZYt ′ = 0.361Z5 + 0.291Z2 + 0.275Z1 + 0.126Z4 + 0.088Z
6. แนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำของผู้บริหารที่ส่งผลต่อประสิทธิผลการบริหารงานโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนครเขต 3 จำนวน 5 ด้าน คือ ภาวะผู้นำแบบเป็นทีม ภาวะผู้นำแบบมุ่งงาน ภาวะผู้นำแบบมุ่งคน ภาวะผู้นำแบบเปลี่ยนแปลง และภาวะผู้นำแบบมีส่วนร่วม
The purposes of this correlational research were to examine and compare the relationship, identify the predictive power, and establish guidelines for developing administrators’ leadership affecting the administrative effectiveness of primary schools under Sakon Nakhon Primary Educational Service Area Office 3, as perceived by school administrators and teachers classified by positions, school sizes, and work experience. The sample group, obtained through multi-stage random sampling, consisted of 95 school administrators and 248 teachers for a total of 343 participants from 95 schools in the 2021 academic year. The sample size was also determined using the Taro Yamane formula. The research instruments were a set of questionnaires and interview forms. Statistics for data analysis were frequency, percentage, mean, standard deviation, Independent Samples t-test, One-Way ANOVA, Pearson’s product-moment correlation coefficient, and Stepwise multiple regression analysis.
The findings were as follows:
1. The administrators’ leadership and the administrative effectiveness in schools under Sakon Nakhon Primary Educational Service Area Office 3 were overall at a high level.
2. The administrators’ leadership, as perceived by participants with different positions and school sizes, was an overall difference at the .01 level of significance, whereas, in terms of work experience, there was an overall difference at the .05 level of significance.
3. The administrative effectiveness in schools, as perceived by participants with different positions, and school sizes was an overall difference at the .01 level of significance, whereas, in terms of work experience, there was no overall difference.
4. The administrators’ leadership and the administrative effectiveness in schools overall had a positive correlation (RXtYt = 0.825) at the .01 level of significance.
5. The administrators’ leadership was able to predict the administrative effectiveness in schools at the .01 level of significance comprising Team Leadership (X5), People-Oriented Leadership (X2), Task-Oriented Leadership (X1), Participatory Leadership (X4), and Transformational Leadership (X3).
The equation could be summarized in raw scores and standardized scores as follows:
Yt ′ = 0.564 + 0.284X5 + 0.203X2 + 0.235X1 + 0.095X4 + 0.067X3
ZYt ′ = 0.361Z5 + 0.291Z2 + 0.275Z1 + 0.126Z4 + 0.088Z3
6. The guidelines for developing administrators’ leadership affecting the administrative effectiveness in schools under Sakon Nakhon Primary Educational Service Area Office 3 consisted of five aspects: Team leadership, Work-oriented leadership, People-oriented leadership, Transformational leadership, and Participatory leadership.
ลำดับที่ | ดาวน์โหลดไฟล์ | ขนาดไฟล์ |
1 | fulltext | 6,590.89 KB |