ฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ (E-Thesis) SNRU

สืบค้นเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) จากฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ (Thesis Database) ของบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร

ชื่อวิทยานิพนธ์
การพัฒนาทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 หน่วย ไฟฟ้า โดยการจัดการเรียนรู้เทคนิค STAD ร่วมกับ TPACK
Development of Science Process Skills and Learning Achievement of Mathayomsuksa 3 Students on the Electricity Unit Using STAD Technique and TPACK
ผู้จัดทำ
จิราพร ภูวันนา รหัส 63421238211 ระดับ ปริญญาโท
หลักสูตร
ครุศาสตรมหาบัณฑิต (ค.ม.) สาขาวิชา การสอนวิทยาศาสตร์
ปี พ.ศ.
2566
ที่ปรึกษา
รองศาสตราจารย์อนันต์ ปานศุภวัชร ประธานที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ถาดทอง ปานศุภวัชร กรรมการที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์
บทคัดย่อ

          การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อ 1) พัฒนาแผนการจัดการเรียนรู้ หน่วยไฟฟ้าของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โดยการจัดการเรียนรูู้เทคนิค STAD ร่วมกับ TPACK ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 2) ศึกษาและเปรียบเทียบทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ก่อนเรียนและหลังเรียน 3) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนก่อนเรียนและหลังเรียน และ 4) ศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ที่มีต่อการจัดการเรียนรู้เทคนิค STAD ร่วมกับ TPACK กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนบ้านโพนแพง เจียรวนนท์อุทิศ 5 สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 1 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2565 จำนวน 30 คน ได้มาโดยการสุ่มแบบกลุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย แผนการจัดการเรียนรู้เทคนิค STAD ร่วมกับ TPACK แบบทดสอบวัดทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และแบบสอบถามความพึงพอใจ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติทดสอบค่าที (t-test for Dependent Samples)

          ผลการวิจัยพบว่า

          1. แผนการจัดการเรียนรู้เทคนิค STAD ร่วมกับ TPACK ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 หน่วย ไฟฟ้า มีประสิทธิภาพเท่ากับ 81.20/82.11 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ 80/80 ที่กำหนดไว้  

          2. การจัดการเรียนรู้เทคนิค STAD ร่วมกับ TPACK ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 หน่วย ไฟฟ้า นักเรียนได้ปฏิบัติกิจกรรมร่วมกันทำให้มีทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์เพิ่มขึ้น ซึ่งมีคะแนนก่อนเรียนร้อยละ 16.22 และหลังเรียนมีคะแนนร้อยละ 81.56 เมื่อเปรียบเทียบทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01

          3. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01

          4. ความพึงพอใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ที่มีต่อการจัดการเรียนรู้เทคนิค STAD ร่วมกับ TPACK หน่วยไฟฟ้า อยู่ในระดับมากที่สุด มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.70

Abstract

          The purposes of this research were to: 1) develop the lesson plans on the electricity unit for Mathayomsuksa 3 students based on STAD technique and TPACK to meet the efficiency of 80/80, 2) examine and compare the students’ science process skills before and after the intervention, 3) compare the student learning achievement before and after the intervention, and 4) compare the student satisfaction with the developed learning management. The sample, obtained through a cluster random sampling, consisted of 30 Mathayomsuksa 3 students at Banphonphang Chiarawanonuthit 5 School under Sakon Nakhon Primary Educational Service Area Office 1, in the second semester of the 2022 academic year. The research instruments included lesson plans based on the STAD technique and TPACK, a science process skills test, a learning achievement test, and a satisfaction questionnaire. Statistics for data analysis included percentage, mean, standard deviation, and t-test for Dependent Samples.

          The results of this research were as follows:

          1. The lesson plans on the electricity unit based on the STAD technique and TPACK for Mathayomsuksa 3 achieved an efficiency of 81.20/82.11, which was higher than the defined criteria of 80/80.

          2. The learning management on the electricity unit based on the STAD technique and TPACK for Mathayomsuksa 3 students fostered student collaboration and resulted in enhancing their scientific process skills, with a pre-intervention mean score of 16.22 percent and 81.56 percent after the intervention, indicating that the students’ science process skills after the intervention were higher than those before at the .01 level of significance.

          3. The students’ learning achievement after the intervention was higher than that before the intervention at the .01 level of significance

          4. The students’ satisfaction with the developed learning management was at a high level, with a mean score of 4.70.

คำสำคัญ
เทคนิคการแบ่งกลุ่มผลสัมฤทธิ์ (STAD) ความรู้ในเนื้อหาผนวกวิธีการสอนและเทคโนโลยี (TPACK) ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน
Keywords
Student Teams-Achievement Divisions Technique (STAD), Technological Pedagogical Content Knowledge (TPACK), Science Process Skills, Learning Achievement
ไฟล์วิทยานิพนธ์
ลำดับที่ ดาวน์โหลดไฟล์ ขนาดไฟล์
1 fulltext 5,341.06 KB
วันที่นำเข้าข้อมูล
18 กุมภาพันธ์ 2567 - 12:36:01
View 194 ครั้ง


^