สืบค้นเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) จากฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ (Thesis Database) ของบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร
การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อ 1) สร้างแผนการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ 5 ขั้น ร่วมกับความรู้ในเนื้อหาผนวกวิธีการสอนและเทคโนโลยี ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 เรื่อง วัสดุในชีวิตประจำวัน ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 75/75 2) เปรียบเทียบความฉลาดรู้ด้านวิทยาศาสตร์ก่อนเรียนและหลังเรียน 3) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนและหลังเรียน และ 4) ศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ 5 ขั้น ร่วมกับความรู้ในเนื้อหาผนวกวิธีการสอนและเทคโนโลยี กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 จำนวน 22 คน ซึ่งได้มาจากการสุ่มตัวอย่างแบบกลุ่มโดยใช้ห้องเรียนเป็นหน่วยสุ่ม เครื่องมือที่ใช้ ในการวิจัย ได้แก่ 1) แผนการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ 5 ขั้น ร่วมกับความรู้ในเนื้อหาผนวกวิธีการสอนและเทคโนโลยี 2) แบบทดสอบวัดความฉลาดรู้ด้านวิทยาศาสตร์ 3) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และ 4) แบบสอบถามความพึงพอใจ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติทดสอบค่าทีแบบกลุ่มที่ไม่เป็นอิสระต่อกัน
ผลการวิจัยพบว่า
1. แผนการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ 5 ขั้น ร่วมกับความรู้ในเนื้อหาผนวกวิธีการสอนและเทคโนโลยี เรื่อง วัสดุในชีวิตประจำวัน ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 มีประสิทธิภาพเท่ากับ 76.50/76.59 ซึ่งเป็นไปตามเกณฑ์ 75/75 ที่กำหนดไว้
2. ความฉลาดรู้ด้านวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 เรื่อง วัสดุในชีวิตประจำวัน โดยการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ 5 ขั้น ร่วมกับความรู้ในเนื้อหาผนวกวิธีการสอนและเทคโนโลยี หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
3 ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 เรื่อง วัสดุในชีวิตประจำวัน โดยการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ 5 ขั้น ร่วมกับความรู้ในเนื้อหาผนวกวิธีการสอนและเทคโนโลยี หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
4. ความพึงพอใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ที่มีต่อการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ 5 ขั้น ร่วมกับความรู้ในเนื้อหาผนวกวิธีการสอนและเทคโนโลยี เรื่อง วัสดุในชีวิตประจำวัน มีค่าเฉลี่ยอยู่ระดับมาก (X= 4.28)
The purposes of this research were to 1) create lesson plans based on inquiry model (5E) combined with TPACK for Mathayomsuksa 3 on the topic of daily materials in everyday life to meet the efficiency criteria of 75/75, 2) compare scientific literacy before and after the intervention, 3) compare the learning achievement before and after intervention, and 4) investigate the student satisfaction toward the lesson plans based on inquiry model (5E) combined with TPACK. The sample consisted of 22 Mathayomsuksa 3 students, obtained from cluster random sampling using the classroom as a random unit. The research tools were 1) lesson plans based on inquiry model (5E) combined with TPACK, 2) a science literacy test, 3) a learning achievement test, and 4) a satisfaction questionnaire. Statistics for data analysis were percentage, mean, standard deviation, and t-test for Dependent Samples.
The findings were as follows.
1. The efficiency of the lesson plans based on inquiry model (5E) combined with TPACK on the topic of daily materials in everyday life for Mathayomsuksa 3 students was 76.50/76.59, which met the defined criteria of 75/75.
2. The science literacy of Mathayomsuksa 3 students after the intervention was higher than that of before at the .01 level of significance.
3. The learning achievement of Mathayomsuksa 3 students after the intervention was higher than that of before at the .01 level of significance.
4. The satisfaction of Mathayomsuksa 3 students toward the inquiry model (5E) combined with TPACK learning management on the topic of daily materials in everyday life was at the high level (X = 4.28).
ลำดับที่ | ดาวน์โหลดไฟล์ | ขนาดไฟล์ |
1 | fulltext | 9,386.34 KB |