สืบค้นเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) จากฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ (Thesis Database) ของบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร
การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อพัฒนาและตรวจสอบความเหมาะสมของรูปแบบการบริหารเพื่อเสริมสร้างทักษะการสร้างสรรค์และนวัตกรรมของครูในโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 1 เป็นการวิจัยแบบผสมผสาน ดำเนินการเป็น 2 ระยะ คือ ระยะที่ 1 การพัฒนารูปแบบการบริหารเพื่อเสริมสร้างทักษะการสร้างสรรค์และนวัตกรรมของครู โดยศึกษาแนวคิด ทฤษฎี และสังเคราะห์เอกสารงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง สอบถามความคิดเห็นของผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 7 คน และระยะที่ 2 การตรวจสอบความเหมาะสมของรูปแบบการบริหารเพื่อเสริมสร้างทักษะการสร้างสรรค์และนวัตกรรมของครู โดยศึกษาความคิดเห็นของผู้บริหารสถานศึกษาและครูผู้สอนในโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 1 ปีการศึกษา 2564 จำนวน 384 คน ได้มาโดยการสุ่มแบบหลายขั้นตอน เครื่องมือที่ใช้รวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถามชนิดมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ มีค่าความเที่ยงตรงเท่ากับ 1.00 ทุกข้อ มีค่าอำนาจจำแนกระหว่าง 0.50-0.89 และค่าความเชื่อมั่น 0.99 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการวิจัยพบว่า
1. รูปแบบการบริหารเพื่อเสริมสร้างทักษะการสร้างสรรค์และนวัตกรรมของครูในโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 1 ประกอบด้วย 4 องค์ประกอบ ได้แก่ ปัจจัยสนับสนุนความสำเร็จในการบริหารเพื่อเสริมสร้างทักษะการสร้างสรรค์และนวัตกรรมของครู ขอบข่ายของทักษะการสร้างสรรค์และนวัตกรรม กระบวนการบริหารเชิงกลยุทธ์ และผลของการมีทักษะการสร้างสรรค์และนวัตกรรมของครู
2. รูปแบบการบริหารเพื่อเสริมสร้างทักษะการสร้างสรรค์และนวัตกรรมของครูในโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 1 ตามความคิดเห็นของผู้บริหารสถานศึกษาและครูผู้สอน โดยภาพรวมมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก สามารถเรียงลำดับค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย ดังนี้ ขอบข่ายของทักษะการสร้างสรรค์และนวัตกรรม ปัจจัยสนับสนุนความสำเร็จในการบริหารเพื่อเสริมสร้างทักษะการสร้างสรรค์และนวัตกรรมของครู กระบวนการบริหารเชิงกลยุทธ์ และผลของการมีทักษะการสร้างสรรค์และนวัตกรรมของครู ตามลำดับ
The objectives of this study were to develop and examine the suitability of an administration model for promoting creativity and innovation skills of teachers in schools under Sakon Nakhon Primary Educational Service Area Office 1. The study was a mixed method research. The procedures were divided into two phases. The first phase was the development of the administration model for promoting creativity and innovation skills of teachers by reviewing relevant concepts and theories, the synthesis of related research articles, and inquiring of 7 experts' opinions, selected using purposive sampling. The second phase was the exploration the opinions of 384 directors and teachers in schools under Sakon Nakhon Primary Educational Service Area Office 1 in the academic year B.E. 2564, selected using multi-stage sampling. The tool used in data collection was a 5-level rating scale questionnaire with IOC at 1.00, discrimination power index between 0.50-0.89 and reliability index at 0.99. Statistics implemented in data analysis were frequency, percentage, mean and standard deviation.
The research results were as follows.
1. The administration model for promoting creativity and innovation skills of teachers in schools under Sakon Nakhon Primary Educational Service Area Office 1 comprised of four elements, namely 1) factors influencing the administration, 2) components of creativity and innovation skills, 3) strategic management process, 4) results of promoting teachers’ creativity and innovation skills.
2. The suitability of the administration model for promoting creativity and innovation skills of teachers in schools under Sakon Nakhon Primary Educational Service Area Office 1 in overall was at high level. Each element could be prioritized as: component of creativity and innovation skills, factors influencing the administration, strategic management process and results of promoting teacher’s creativity and innovation skills.
ลำดับที่ | ดาวน์โหลดไฟล์ | ขนาดไฟล์ |
1 | fulltext | 3,308.92 KB |