ฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ (E-Thesis) SNRU

สืบค้นเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) จากฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ (Thesis Database) ของบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร

ชื่อวิทยานิพนธ์
การประเมินความต้องการจำเป็นในการพัฒนาภาวะผู้นำเชิงดิจิทัลของผู้บริหารโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษามุกดาหาร
Needs Assessment of Digital Leadership Development of School Administers under The Secondary Educational Service Area Office Mukcahan
ผู้จัดทำ
กนกกาญณ์ สุรันนา รหัส 63421247109 ระดับ ป.โท ภาคพิเศษ
หลักสูตร
ครุศาสตรมหาบัณฑิต (ค.ม.) สาขาวิชา การบริหารและพัฒนาการศึกษา
ปี พ.ศ.
2566
ที่ปรึกษา
รองศาสตราจารย์ ดร. วาโร เพ็งสวัสดิ์ , ดร.ทรัพย์หิรัญ จันทรักษ์
บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อประเมินความต้องการจำเป็นในการพัฒนาภาวะผู้นำเชิงดิจิทัลของผู้บริหารโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษามุกดาหาร กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้บริหารและครูในโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษามุกดาหาร ปีการศึกษา 2565 จำนวน 313 คน ซึ่งได้มาโดยการสุ่มแบบแบ่งชั้น (Stratified Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย 1) แบบสอบถามชนิดมาตราส่วนประเมินค่า 5 ระดับ โดยด้านสภาพที่เป็นจริง มีค่าความเที่ยงตรง ระหว่าง 0.80–1.00 ค่าอำนาจจำแนก ระหว่าง 0.61–0.77 และค่าความเชื่อมั่น 0.94 ส่วนด้านสภาพที่ควรจะเป็น มีค่าความเที่ยงตรง ระหว่าง 0.80-1.00  ค่าอำนาจจำแนก ระหว่าง 0.61–0.84 ค่าความเชื่อมั่น 0.97 และ 2) แบบสอบถามแนวทางในการพัฒนาภาวะผู้นำเชิงดิจิทัลของผู้บริหารโรงเรียน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และและดัชนีการจัดลำดับความต้องการจำเป็น (PNImodified) 

ผลการวิจัยพบว่า

1. องค์ประกอบภาวะผู้นำเชิงดิจิทัลของผู้บริหารโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษามุกดาหาร พบว่ามี 4 องค์ประกอบ ได้แก่ 1) การมีความรู้ด้านดิจิทัล 2) การมีวิสัยทัศน์ 3) การพัฒนาตนเอง และ 4) การสื่อสาร 

2. สภาพที่เป็นจริงเกี่ยวกับภาวะผู้นำเชิงดิจิทัลของผู้บริหารโรงเรียนโดยภาพรวมพบว่าอยู่ในระดับมาก ส่วนระดับสภาพที่ควรจะเป็นโดยภาพรวมพบว่าอยู่ในระดับมากที่สุด 

3. ผลการประเมินความต้องการจำเป็นในการพัฒนาภาวะผู้นำเชิงดิจิทัลของผู้บริหารโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษามุกดาหาร พบว่ามีความต้องการจำเป็นในการพัฒนาด้านการมีความรู้ด้านดิจิทัลเป็นลำดับแรก (PNImodified = 0.57) รองลงมาคือ ด้านการมีวิสัยทัศน์ (PNImodified = 0.50) ด้านการสื่อสาร (PNImodified = 0.30) และด้านการพัฒนาตนเอง (PNImodified = 0.14) ตามลำดับ

4. แนวทางที่เหมาะสมในการพัฒนาภาวะผู้นำเชิงดิจิทัลของผู้บริหารโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษามุกดาหาร มี 3 ด้าน ประกอบด้วยด้านการมีความรู้ด้านดิจิทัล ด้านการมีวิสัยทัศน์ และด้านการสื่อสาร
 

Abstract

The objective of this study was to assess the needs of digital leadership development of school administrators under the Secondary Educational Service Area office Mukdahan. The data were collected from 313 participants of administrators and teachers in schools under the Secondary Educational Service Area Office Mukdahan, who were selected using stratified random sampling in academic year 2022. The research instrument used in the study included 1) a set of 5-rating scale questionnaire, which contained the current state indicated validity index ranged between 0.80-1.00, discrimination power index ranged between 0.61–0.77, and reliability index was at 0.94, and the desirable state indicated validity index ranged between 0.80-1.00, discrimination power index ranged between 0.61 – 0.84, and reliability index was at 0.97, and 2) a questionnaire on guidelines for digital leadership development of school administrators. Statistics used in data analysis were percentage, mean, standard deviation, and Modified Priority Needs Index (PNImodified)

The findings were as follows.

1. The components of digital leadership of school administrators under the Secondary Educational Service Area office Mukdahan comprised four elements, namely 1) Digital literacy, 2) Visioning, 3) Self-development and 4) Communication.

2. The current state of digital leadership of school administrators, in overall, was at moderate level, whereas the overall desirable state was at the highest level. 

3. The results of the needs assessment of digital leadership development of school administrators under Secondary Educational Service Area office Mukdahan was prioritized as digital literacy (PNImodified = 0.57), followed by Visioning (PNImodified = 0.50), Communication (PNImodified = 0.30) and Self-development (PNImodified = 0.14), respectively.

4. Appropriate approach for digital leadership development of school administrators under Secondary Educational Service Area office Mukdahan comprised of three components, namely digital Literacy, visioning and communication.
 

คำสำคัญ
ภาวะผู้นำเชิงดิจิทัล ความต้องการจำเป็น ผู้บริหารโรงเรียน
Keywords
Digital leadership, Needs, School administrators
ไฟล์วิทยานิพนธ์
ลำดับที่ ดาวน์โหลดไฟล์ ขนาดไฟล์
1 fulltext 4,448.58 KB
วันที่นำเข้าข้อมูล
4 สิงหาคม 2566 - 10:37:55
View 400 ครั้ง


^