สืบค้นเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) จากฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ (Thesis Database) ของบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร
การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อศึกษาภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์ของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อการเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษามุกดาหาร กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ ผู้บริหารสถานศึกษา และครูผู้สอน ปีการศึกษา 2564 จำนวน 318 คน ซึ่งได้มาโดยการสุ่มแบบหลายขั้นตอน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถามชนิดมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ โดยด้านภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์ของผู้บริหารสถานศึกษา มีค่าความเที่ยงตรงระหว่าง .60-1.00 ค่าอำนาจจำแนกระหว่าง 0.37-0.98 และค่าความเชื่อมั่น 0.98 ส่วนด้านการเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ของสถานศึกษา มีค่าความเที่ยงตรงระหว่าง .80-1.00 ค่าอำนาจจำแนกระหว่าง 0.35-0.93 และค่าความเชื่อมั่น 0.96 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน และการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณแบบเป็นขั้นตอน
ผลการวิจัยพบว่า
1. องค์ประกอบภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์ของผู้บริหารสถานศึกษา มี 6 องค์ประกอบ ได้แก่ การมีวิสัยทัศน์ การมีความยืดหยุ่นและปรับตัว การมีความคิดสร้างสรรค์ การคำนึงถึงความเป็นปัจเจกบุคคล การทำงานเป็นทีม และการมีจินตนาการ
2. ภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์ของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษามุกดาหาร อยู่ในระดับมาก
3. การเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษามุกดาหาร อยู่ในระดับมาก
4. ภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์ของผู้บริหารสถานศึกษากับการเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ของสถานศึกษา มีความสัมพันธ์ทางบวกในระดับสูง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 โดยมีค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เท่ากับ 0.76
5. ภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์ของผู้บริหารสถานศึกษามีอำนาจพยากรณ์การเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ของสถานศึกษา อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
6. แนวทางพัฒนาภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์ของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อการเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ของสถานศึกษา มีทั้งหมด 5 ด้าน ได้แก่ ด้านการมีวิสัยทัศน์ ด้านการมีความยืดหยุ่นและปรับตัว ด้านการมีความคิดสร้างสรรค์ ด้านการคำนึงถึงความเป็นปัจเจกบุคคล และด้านการทำงานเป็นทีม
The purposes of this research was to investigate the creative leadership of administrators affecting learning organization of schools under The Secondary Educational Service Area Office Mukdahan. The samples were 318 administrators and teachers who was working in academic year 2021. The participants were selected using multi-stage sampling. The research instrument was a 5-level rating scale questionnaire. The part of creative leadership of administrators obtained the validity index between 0.60-1.00, discrimination power index between 0.37-0.98, and reliability index was at 0.98, whereas the part of learning organization of school obtained validity index between 0.80-1.00, discrimination power index between 0.35-0.93, and reliability index was at 0.96. Statistics used to analyze the data were frequency, percentage, mean, standard deviation, Pearson’s Product Moment Correlation Coefficient, and Stepwise Multiple Regression Analysis.
The findings were as follows.
1. There were six core components of creative leadership of administrators, namely vision, flexibility and adaptability, creativity, individual awareness, team working, and having imagination.
2. Creative leadership of administrators in school under The Secondary Educational Service Area Office Mukdahan was at high level.
3. Learning organization of schools under The Secondary Educational Service Area Office Mukdahan was at high level.
4. Creative leadership of administrators and learning organization of schools showed positive correlation at high level with statistical significance at .01 and a correlation coefficient at 0.76.
5. Creative leadership of administrators predicted the learning organization of the schools with statistical significance at .05.
6. Guidelines for developing creative leadership of administrators affecting learning organization of schools consisted of five components, namely vision, flexibility and adaptability, creativity, individual awareness, and team working.
ลำดับที่ | ดาวน์โหลดไฟล์ | ขนาดไฟล์ |
1 | fulltext | 6,990.41 KB |