สืบค้นเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) จากฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ (Thesis Database) ของบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร
การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อ 1) ศึกษาองค์ประกอบสมรรถนะของผู้บริหารโรงเรียน 2) พัฒนาตัวบ่งชี้สมรรถนะของผู้บริหารโรงเรียน 3) ตรวจสอบความสอดคล้องของโมเดลโครงสร้างตัวบ่งชี้สมรรถนะของผู้บริหารโรงเรียนที่พัฒนาขึ้นกับข้อมูลเชิงประจักษ์ และ 4) พัฒนาคู่มือการใช้ตัวบ่งชี้สมรรถนะของผู้บริหารโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษามุกดาหาร การดำเนินการวิจัยมี 4 ระยะ ประกอบด้วย ระยะที่ 1 การศึกษาองค์ประกอบสมรรถนะของผู้บริหารโรงเรียน ระยะที่ 2 การพัฒนาตัวบ่งชี้สมรรถนะของผู้บริหารโรงเรียน ระยะที่ 3 การตรวจสอบความสอดคล้องของโมเดลโครงสร้างตัวบ่งชี้สมรรถนะของผู้บริหารโรงเรียน ระยะที่ 4 การพัฒนาคู่มือการใช้ตัวบ่งชี้สมรรถนะของผู้บริหารโรงเรียน กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้บริหารและครูในโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษามุกดาหาร ปีการศึกษา 2564 จำนวน 313 คน ซึ่งได้มาโดยการสุ่มแบบแบ่งชั้น (Stratified Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถามชนิดมาตราส่วนประเมินค่า 5 ระดับ มีค่าความเที่ยงตรง ระหว่าง 0.60–1.00 ค่าอำนาจจำแนก ระหว่าง 0.60-0.96 และมีค่าความเชื่อมั่น 0.98 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยโปรแกรมสำเร็จรูปทางสถิติ
ผลการวิจัยพบว่า
1. สมรรถนะของผู้บริหารโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษามุกดาหาร ประกอบด้วย 4 องค์ประกอบหลัก ได้แก่ 1) ภาวะผู้นำ 2) การบริหารจัดการ 3) การมุ่งผลสัมฤทธิ์ และ 4) การทำงานเป็นทีม
2. ตัวบ่งชี้สมรรถนะของผู้บริหารโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษามุกดาหาร ประกอบด้วย 4 องค์ประกอบหลัก 12 องค์ประกอบย่อย 48 ตัวบ่งชี้ จำแนกเป็นองค์ประกอบหลักภาวะผู้นำ จำนวน 12 ตัวบ่งชี้ การบริหารจัดการ จำนวน 12 ตัวบ่งชี้ การมุ่งผลสัมฤทธิ์ 12 ตัวบ่งชี้ และการทำงานเป็นทีม จำนวน 12 ตัวบ่งชี้
3. โมเดลโครงสร้างตัวบ่งชี้สมรรถนะของผู้บริหารโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษามุกดาหารที่พัฒนาขึ้นมีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ (Chi-square = 26.78, df = 28, p-value = 0.53, GFI = 0.98, AGFI = 0.96, RMSEA = 0.00, CN = 563.73) ค่าน้ำหนักองค์ประกอบทั้ง 48 ตัวบ่งชี้ มีค่าตั้งแต่ 0.50-0.81
4. คู่มือการใช้ตัวบ่งชี้สมรรถนะของผู้บริหารโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษามุกดาหาร มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก
The objectives of this study were to: 1) identify the competency components of administrators, 2) develop competency indicators of school administrators, 3) examine the congruence of developed competency indicators of school administrators structural model with empirical data, and 4) construct a manual of competency indicators of administrators in schools under the Secondary Educational Service Area office Mukdahan. The study was divided into four phases: phase 1 was the intensive review of competency components of school administrators, phase 2 was the development of competency indicators of school administrators, phase 3 was the examination of the developed competency indicators of school administrators structure model, and phase 4 was the construction of a manual of competency indicators of administrators. The data were collected from 313 administrators and teachers of schools under the Secondary Educational Service Area Office Mukdahan. The participants were recruited based on Stratified Random Sampling. The instrument used in the study was a 5- rating scale questionnaire with validity index between 0.60 - 1.00, discrimination power index between 0.60-0.96 and reliability index was at 0.98. The collected data were analyzed using statistical software program.
The findings revealed that:
1. The competency of administrators in schools under the Secondary Educational Service Area Office Mukdahan comprised four fundamental elements, namely 1) Leadership, 2) Management, 3) Working achievement and 4) Teamwork.
2. The competency indicators of administrators in schools under the Secondary Educational Service Area Office Mukdahan comprised four fundamental components, 12 sub-components, and 48 indicators which could be distinguished as 12 indicators in Leadership, 12 indicators in Management, 12 indicators in Working Achievement, and 12 indicators in Teamwork.
3. The competency structural model of administrators in schools under the Secondary Educational Service Area Office Mukdahan congruent with empirical data with Chi - square value = 26.78, degree of freedom (df) = 28, statistical significance (P - value) = 0.53, Goodness of fit index (GFI) = 0.98, Root Mean Square Error of Approximation (RMSEA) = 0.00 and Critical N (CN) = 563.73 and the factor loading of 48 indicators was between 0.50-0.81.
4. The manual of competency indicators of administrators in schools under the Secondary Educational Service Area Office Mukdahan was appropriatehigh level.
ลำดับที่ | ดาวน์โหลดไฟล์ | ขนาดไฟล์ |
1 | fulltext | 6,728.66 KB |