สืบค้นเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) จากฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ (Thesis Database) ของบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร
การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อ 1) ศึกษาองค์ประกอบของการบริหารเวลาของผู้บริหารโรงเรียน 2) ศึกษาระดับการบริหารเวลาของผู้บริหารโรงเรียน 3) ศึกษาระดับประสิทธิผลของโรงเรียน 4) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการบริหารเวลาของผู้บริหารกับประสิทธิผลของโรงเรียน 5) ศึกษาอำนาจพยากรณ์การบริหารเวลาของผู้บริหารที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของโรงเรียน และ 6) เสนอแนวทางพัฒนาการบริหารเวลาของผู้บริหารที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของโรงเรียน กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้บริหารโรงเรียน และครูผู้สอน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 3 ปีการศึกษา 2564 จำนวน 343 คน กำหนดขนาดของกลุ่มตัวอย่างโดยใช้ตารางของ Krejcie and Morgan การได้มาของกลุ่มตัวอย่างใช้วิธีการสุ่มแบบหลายขั้นตอน (Multi-stage Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามชนิดมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ โดยด้านการบริหารเวลาของผู้บริหารโรงเรียนมีค่าความเที่ยงตรงระหว่าง 0.60-1.00 ค่าอำนาจจำแนกระหว่าง 0.63-0.91 และค่าความเชื่อมั่น 0.97 ส่วนด้านประสิทธิผลของโรงเรียนมีค่าความเที่ยงตรงระหว่าง 0.80-1.00 ค่าอำนาจจำแนกระหว่าง 0.55-0.92 และค่าความเชื่อมั่น 0.98 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน
ผลการวิจัยพบว่า
1. การบริหารเวลาของผู้บริหารโรงเรียน ประกอบด้วย 5 องค์ประกอบ ดังนี้ 1) การตั้งเป้าหมาย 2) การจัดลำดับความสำคัญของงาน 3) การวางแผนการใช้เวลา 4) การติดตามผลการใช้เวลา และ 5) การจัดองค์การ
2. การบริหารเวลาของผู้บริหารโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 3 โดยรวมอยู่ในระดับมาก
3. ประสิทธิผลของโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 3 โดยรวมอยู่ในระดับมาก
4. การบริหารเวลาของผู้บริหารมีความสัมพันธ์ทางบวกกับประสิทธิผลของโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 3 อยู่ในระดับสูง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
5. การบริหารเวลาของผู้บริหารโรงเรียนด้านการติดตามผลการใช้เวลา (X4) การจัดองค์การ (X5) การตั้งเป้าหมาย (X1) และการจัดลำดับความสำคัญของงาน (X2) มีอำนาจพยากรณ์ประสิทธิผลของโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 3 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 โดยมีอำนาจพยากรณ์เท่ากับ 0.809 หรือร้อยละ 80.90 และมีความคลาดเคลื่อนมาตรฐานของการพยากรณ์ 0.257
สามารถเขียนสมการวิเคราะห์การถดถอยในรูปคะแนนดิบได้ดังนี้
Y’ = .646 + .385(X4) + .192(X5) + .163(X1) + .130(X2)
และสามารถเขียนสมการวิเคราะห์การถดถอยในรูปคะแนนมาตรฐาน ได้ดังนี้
Z’y = .431(Z4) + .195(Z5) +.177(Z1) +.152(Z2)
6. การบริหารเวลาของผู้บริหารโรงเรียน สังกัดสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 3 ที่ควรได้รับการพัฒนา มีจำนวน 4 ด้าน คือ ด้านการตั้งเป้าหมาย ด้านการจัดลำดับความสำคัญของงาน ด้านการติดตามผลการใช้เวลา และด้านการจัดองค์การ
This study aimed to 1) identify the components of time management of school administrators, 2) examine the level of time management of school administrators, 3) to examine the level of school effectiveness, 4) investigate the relationship between time management of administrators and school effectiveness, 5) identify the predictive power of time management of administrators affecting school effectiveness and 6) propose a guideline for developing time management of administrators affecting school effectiveness. The participants of the study comprised 343 school administrators and teachers in schools under Sakon Nakhon Primary Educational Service Area Office 3 in academic year 2021. The sample size was determined based on Krejcie and Morgan Table. They were selected using Multi-Stage Random Sampling. The instruments used in data collection was a five-level rating scale questionnaire. The part of time management of administrators obtained content validity index between 0.60-1.00, discrimination power index between 0.63-0.91 and reliability index was at 0.97, whereas the part of schools’ effectives obtained content validity index between 0.80-1.00, discrimination power index between 0.55-0.92 and reliability index was at 0.98. Statistics used in data analysis were frequency, percentage, mean, standard deviation, Pearson product-moment correlation and Stepwise multiple regression analysis.
The results found that:
1. Time management of school administrators comprised five elements, namely 1) Goal Setting, 2) Job Prioritize, 3) Time Spend Planning, 4) Time Spend Monitoring and 5) Organizational Management.
2. Time management of school administrators under Sakon Nakhon Primary Educational Service Area Office 3 in overall was at high level.
3. The effectiveness of schools under Sakon Nakhon Primary Educational Service Area Office 3, in overall, was at high level.
4. Time management of school administrators was positively related with the effectiveness of schools under Sakon Nakhon Primary Educational Service Area Office 3 at high level with statistical significance at .01.
5. Time management of school administrators in Time Spend Monitoring (X4), Organizational Management (X5), Goal Setting (X1), and Job Prioritize (X2) obtained the predictive power of the effectiveness of schools under Sakon Nakhon Primary Educational Service Area Office 3 at 0.809 or 80.90 percent with statistical significance at .01, and presented the predictive standard error at 0.257.
The analysis of multiple regression equation could be written in raw score as follows.
Y’ = .646 + .385(X4) + .192(X5) + .163(X1) + .130(X2)
The analysis of multiple regression equation could be written in standardized score format as follows.
Z’y = .431(Z4) + .195(Z5) +.177(Z1) +.152(Z2)
6. Time management of administrators in schools under Sakon Nakhon Primary Educational Service Area Office 3 which should be promoted were Goal Setting, Job Prioritize, Time Spend Monitoring and Organizational Management.
ลำดับที่ | ดาวน์โหลดไฟล์ | ขนาดไฟล์ |
1 | fulltext | 4,337.92 KB |