ฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ (E-Thesis) SNRU

สืบค้นเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) จากฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ (Thesis Database) ของบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร

ชื่อวิทยานิพนธ์
ความฉลาดทางอารมณ์ของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อบรรยากาศองค์การในโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครพนม เขต 2
Emotional Intelligence of School Administrators Affecting Organizational Atmosphere of Schools under the Nakhon Phanom Primary Educational Service Area Office 2
ผู้จัดทำ
อนุพล สนมศรี รหัส 63421247123 ระดับ ป.โท ภาคพิเศษ
หลักสูตร
ครุศาสตรมหาบัณฑิต (ค.ม.) สาขาวิชา การบริหารและพัฒนาการศึกษา
ปี พ.ศ.
2565
ที่ปรึกษา
ดร.ทรัพย์หิรัญ จันทรักษ์ , ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.วัลนิกา ฉลากบาง
บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อศึกษาความฉลาดทางอารมณ์ของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อบรรยากาศองค์การในโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครพนม เขต 2 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษาและครู จำนวน 333 คน ซึ่งได้มาโดยวิธีการสุ่มแบบหลายขั้นตอน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามชนิดมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ โดยด้านความฉลาดทางอารมณ์ของผู้บริหารสถานศึกษา มีค่าความเที่ยงตรงเชิงเนื้อหาระหว่าง 0.80-1.00 ค่าอำนาจจำแนกระหว่าง 0.44-0.84 และค่าความเชื่อมั่น 0.96 ส่วนด้านบรรยากาศองค์การในโรงเรียน มีค่าความเที่ยงตรงเชิงเนื้อหาระหว่าง 0.80-1.00 ค่าอำนาจจำแนกระหว่าง 0.68–0.90 และค่าความเชื่อมั่น 0.96 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ

ผลการวิจัยพบว่า

1. องค์ประกอบความฉลาดทางอารมณ์ของผู้บริหารสถานศึกษา ประกอบด้วย 5 ด้าน ดังนี้ 1) การตระหนักรู้อารมณ์ของตนเอง 2) การควบคุมอารมณ์ของตนเอง 3) การสร้างแรงจูงใจให้แก่ตนเอง 4) การเข้าใจความรู้สึกของผู้อื่น และ 5) การมีทักษะทางสังคม

2. ความฉลาดทางอารมณ์ของผู้บริหารสถานศึกษา โดยรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก

3. บรรยากาศองค์การในโรงเรียน โดยรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก

4. ความฉลาดทางอารมณ์ของผู้บริหารสถานศึกษากับบรรยากาศองค์การในโรงเรียน มีความสัมพันธ์กันทางบวก อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01

5. ความฉลาดทางอารมณ์ของผู้บริหารสถานศึกษา ด้านการมีทักษะทางสังคม (x5) ด้านการควบคุมอารมณ์ของตนเอง (x2) ด้านการสร้างแรงจูงใจให้แก่ตนเอง (x3) และด้านการตระหนักรู้อารมณ์ของตนเอง (x1) มีอำนาจพยากรณ์บรรยากาศองค์การในโรงเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 โดยมีอำนาจพยากรณ์ร้อยละ 85.50 สามารถเขียนเป็นสมการพยากรณ์ในรูปคะแนนดิบและคะแนนมาตรฐาน ดังนี้

                สมการพยากรณ์ในรูปคะแนนดิบ
                Y/ = 0.269 + 0.322(X5) + 0.239(X2) + 0.191(X3) + 0.101(X1)

                สมการพยากรณ์ในรูปคะแนนมาตรฐาน
                Z/y = .350(Z5) + .257(Z2) + .199(Z3) + .110(Z1)

6. แนวทางในการพัฒนาความฉลาดทางอารมณ์ของผู้บริหารสถานศึกษา ที่ส่งผลต่อบรรยากาศองค์การในโรงเรียน มีจำนวน 4 ด้าน คือ ด้านการมีทักษะทางสังคม ด้านการควบคุมอารมณ์ของตนเอง ด้านการสร้างแรงจูงใจให้แก่ตนเอง และด้านการตระหนักรู้อารมณ์ของตนเอง 
 

Abstract

The objective of this research was to investigate emotional intelligence components of school administrators affecting organizational atmosphere of schools under the Nakhon Phanom Primary Educational Service Area Office 2. the sample used in this research were consisting of 333 school administrators, who obtained using multi-stage random sampling. The tool used in data collection was a 5-rating scale questionnaire on emotional intelligence of school administrators, which obtained content validity index between 0.80-1.00, the discrimination power index between 0.44-0.84 and reliability index at 0.98, and on organizational atmosphere of schools obtained content validity index between 0.80-1.00, the discrimination power index between 0.68-0.90 and reliability index at 0.96. Statistics used in data analysis were frequency, percentage, mean, standard deviation. Pearson correlation coefficient and multiple regression analysis.

The findings were as follows.

1. The emotional intelligence of school administrators comprised 5 components: 1) self-emotional awareness, 2) self-emotional control, 3) self-motivation, 4) emotional awareness of others and 5) social skills.

2. The emotional intelligence of school administrators, in overall and in each aspect were at high level.

3. Organizational atmosphere of schools in overall and in each aspect were at high level.

4. The emotional intelligence of school administrators and organizational atmosphere of schools revealed positive correlation with statistical significance at 01.

5. Emotional intelligence of school administrators in the aspects of social skills (x5), self-emotional control (x2), self-motivation (x3), self-emotional awareness (x1) could predict the school's organizational atmosphere with statistical significance at .01, the predictive power was 85.50%. Regression analysis equations could be written as raw scores. as follows.
                Y/ = 0.269 + 0.322(X5) + 0.239(X2) + 0.191(X3) + 0.101(X1)

and can be written as a regression analysis equation in standard score form as follows
                Z/y = .350(Z5) + .257(Z2) + .199(Z3) + .110(Z1)

5. Guidelines for developing emotional intelligence of school administrators affecting the organizational atmosphere of schools consisted of 4 aspects, namely social skills; self-emotional control, self-motivation and self-emotional awareness.
 

คำสำคัญ
ความฉลาดทางอารมณ์ ผู้บริหารสถานศึกษา, บรรยากาศองค์การในโรงเรียน
Keywords
emotional intelligence, school administrators, organizational atmosphere of schools
ไฟล์วิทยานิพนธ์
ลำดับที่ ดาวน์โหลดไฟล์ ขนาดไฟล์
1 fulltext 5,321.29 KB
วันที่นำเข้าข้อมูล
8 พฤษภาคม 2566 - 14:43:58
View 511 ครั้ง


^