ฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ (E-Thesis) SNRU

สืบค้นเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) จากฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ (Thesis Database) ของบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร

ชื่อวิทยานิพนธ์
การพัฒนารูปแบบการประชาสัมพันธ์ที่มีประสิทธิผลของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครพนม เขต 2
Development of an Effective Public Relations Model of Schools under Nakhon Phanom Primary Educational Service Area Office 2
ผู้จัดทำ
สุวิทย์ หอมสมบัติ รหัส 63421247124 ระดับ ป.โท ภาคพิเศษ
หลักสูตร
ครุศาสตรมหาบัณฑิต (ค.ม.) สาขาวิชา การบริหารและพัฒนาการศึกษา
ปี พ.ศ.
2565
ที่ปรึกษา
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.วัลนิกา ฉลากบาง , ดร.บุญมี ก่อบุญ
บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อพัฒนาและตรวจสอบความเหมาะสมของรูปแบบการประชาสัมพันธ์ที่มีประสิทธิผลของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครพนม เขต 2 เป็นการวิจัยแบบผสมผสาน การดำเนินการวิจัยแบ่งแกเป็น 2 ระยะ คือ ระยะที่ 1 การพัฒนารูปแบบการประชาสัมพันธ์ที่มีประสิทธิผลของสถานศึกษาโดยศึกษาแนวคิด ทฤษฎี และสังเคราะห์เอกสารงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง และสอบถามความคิดเห็นของผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 7 คน และระยะที่ 2 การตรวจสอบความเหมาะสมของรูปแบบการประชาสัมพันธ์ที่มีประสิทธิผล โดยศึกษาความคิดเห็นของผู้บริหารสถานศึกษาและครูผู้สอนในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครพนม เขต 2 ปีการศึกษา 2564 จำนวน 332 คน ได้มาโดยการสุ่มแบบหลายขั้นตอน เครื่องมือที่ใช้รวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถามชนิดมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ มีค่า IOC 1.00  ค่าอำนาจจำแนกระหว่าง 0.20-0.85 และค่าความเชื่อมั่น 0.99 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน

ผลการวิจัยพบว่า 

1. รูปแบบการประชาสัมพันธ์ที่มีประสิทธิผลในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครพนม เขต 2 ประกอบด้วย 4 องค์ประกอบ ได้แก่ ปัจจัยสนับสนุนการประชาสัมพันธ์ที่มีประสิทธิผล ขอบข่ายการประชาสัมพันธ์ของสถานศึกษา กระบวนการประชาสัมพันธ์ที่มีประสิทธิผล และผลการประชาสัมพันธ์ที่มีประสิทธิผลของสถานศึกษา 

2. รูปแบบการประชาสัมพันธ์ที่มีประสิทธิผลในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครพนม เขต 2 ตามความคิดเห็นของผู้บริหารสถานศึกษาและครูผู้สอน ทั้งโดยภาพรวมและรายด้านมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด (x ̅ = 4.75, S.D. = 0.11) สามารถเรียงลำดับค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย ดังนี้ ผลการประชาสัมพันธ์ที่มีประสิทธิผลของสถานศึกษา (x ̅ = 4.79, S.D. = 0.15) ปัจจัยสนับสนุนการประชาสัมพันธ์ที่มีประสิทธิผล (x ̅ = 4.76, S.D. = 0.13) กระบวนการประชาสัมพันธ์ที่มีประสิทธิผล (x ̅ = 4.69, S.D. = 0.15) และขอบข่ายงานประชาสัมพันธ์ (x ̅ = 4.64, S.D. = 0.19) ตามลำดับ
 

Abstract

The objectives of this study were to develop and examine the suitabilityof an effective public relations model of schools under Nakhon Phanom Primary Educational Service Area Office 2. The study employed the mixed methods research design. The research procedures were divided into two phases. Phase 1 was the development of the schools’ effective public relations model. Relevant concepts, theories, documents, research works were intensive reviewed and synthesized, and the opinion of seven specialists were collected. Phase 2 was an examination of the effective public relations model by collecting the opinions of 332 school administrators and teachers under Nakhon Phanom Primary Educational Office Area 2, in academic year 2021. The participants were selected using multi-stage sampling. The tool used in data collection was a 5-level rating scale questionnaire with the IOC at 1.00, discrimination power index between 0.20 - 0.85 and reliability index at 0.99. Statistics implemented in data analysis were frequency, percentage, mean and standard deviation.

The research results were as follows.

1. The effective public relations model in schools under Nakhon Phanom Primary Educational Office Area 2 consisted of four elements, namely effective public relations supporting factors, schools’ public relations scope, effective public relations process, and efficient outcome of schools’public relations.  

2. The opinions of administers and teachers towards the effective public relations model in schools under Nakhon Phanom Primary Educational Office Area 2, both as a whole and on each aspect, was at the highest level (x ̅ = 4.75, S.D. = 0.11). All aspects were prioritized as: efficient outcome of schools’public relations (x ̅ = 4.79, S.D. = 0.15), effective public relations supporting factors (x ̅ = 4.76, S.D. = 0.13), effective public relations process (x ̅ = 4.69, S.D. = 0.15), and schools’ public relations scope (x ̅ = 4.64, S.D. = 0.19).
 

คำสำคัญ
การพัฒนารูปแบบ, การประชาสัมพันธ์ในสถานศึกษา, การประชาสัมพันธ์ที่มีประสิทธิผล
Keywords
Model Development, Schools’ Public Relations, Effective Public Relations
ไฟล์วิทยานิพนธ์
ลำดับที่ ดาวน์โหลดไฟล์ ขนาดไฟล์
1 fulltext 4,540.32 KB
วันที่นำเข้าข้อมูล
28 กุมภาพันธ์ 2566 - 14:38:12
View 268 ครั้ง


^