ฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ (E-Thesis) SNRU

สืบค้นเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) จากฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ (Thesis Database) ของบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร

ชื่อวิทยานิพนธ์
ภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมของผู้บริหารที่ส่งผลต่อประสิทธิผลการบริหารงานบุคคลของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาอุดรธานี
Innovative Leadership of Administrators Affecting Personnel Management Effectiveness of Schools under The Secondary Educational Service Area Office Udon Thani
ผู้จัดทำ
บริพัฒน์ สารผล รหัส 63421247126 ระดับ ป.โท ภาคพิเศษ
หลักสูตร
ครุศาสตรมหาบัณฑิต (ค.ม.) สาขาวิชา การบริหารและพัฒนาการศึกษา
ปี พ.ศ.
2565
ที่ปรึกษา
ดร.พรเทพ เสถียรนพเก้า , ดร.อภิสิทธิ์ สมศรีสุข
บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อศึกษา 1) องค์ประกอบภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมของผู้บริหารสถานศึกษา 2) ระดับภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมของผู้บริหารสถานศึกษา 3) ระดับประสิทธิผลการบริหารงานบุคคลของสถานศึกษา 4) ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมของผู้บริหารสถานศึกษากับประสิทธิผลการบริหารงานบุคคลของสถานศึกษา 5) อำนาจพยากรณ์ภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อประสิทธิผลการบริหารงานบุคคลของสถานศึกษา และ 6) แนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อประสิทธิผลการบริหารงานบุคคลของสถานศึกษา กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษาและครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาอุดรธานี ปีการศึกษา 2564 จำนวน 359 คน ได้มาโดยใช้วิธีการสุ่มแบบหลายขั้นตอน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามชนิดมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ โดยด้านภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมของผู้บริหารสถานศึกษา มีค่าอำนาจจำแนกระหว่าง 0.53-0.71 และค่าความเชื่อมั่น 0.95 ส่วนด้านประสิทธิผลการบริหารงานบุคคลของสถานศึกษา มีค่าอำนาจจำแนกระหว่าง 0.50-0.70 และค่าความเชื่อมั่น 0.94 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน

ผลการวิจัยพบว่า

1. องค์ประกอบของภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมของผู้บริหารสถานศึกษา มี 5 องค์ประกอบ ได้แก่ 1) การมีวิสัยทัศน์การเปลี่ยนแปลง 2) การมีความคิดสร้างสรรค์ 3) การสร้างองค์กรแห่งนวัตกรรม 4) การทำงานเป็นทีมและมีส่วนร่วม และ 5) การบริหารความเสี่ยง

2. ภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมของผู้บริหารสถานศึกษา โดยรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก

3. ประสิทธิผลการบริหารงานบุคคลของสถานศึกษา โดยรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก

4. ภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมของผู้บริหารสถานศึกษากับประสิทธิผลการบริหารงานบุคคลของสถานศึกษา มีความสัมพันธ์กันทางบวก ในระดับปานกลาง อย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ .01

5. ภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมของผู้บริหารสถานศึกษา ด้านการมีวิสัยทัศน์การเปลี่ยนแปลง (X1) และการสร้างองค์กรแห่งนวัตกรรม (X3) สามารถร่วมกันพยากรณ์ประสิทธิผลการบริหารงานบุคคลของสถานศึกษาได้ร้อยละ 26.10 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 สามารถเขียนสมการถดถอย ได้ดังนี้
            สมการในรูปคะแนนดิบ
                  = 2.135 + 0.305X1 + 0.205X3
            สมการในรูปคะแนนมาตรฐาน 
                  = 0.349Z1 + 0.238Z3 

6. แนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมของผู้บริหารสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาอุดรธานี มี 2 ด้าน คือ การมีวิสัยทัศน์การเปลี่ยนแปลง และการสร้างองค์กรแห่งนวัตกรรม
 

Abstract

The purposes of this research were to: 1) identify the components of innovative leadership of school administrators, 2) explore the level of innovative leadership of school administrators, 3) investigate the level of personnel management effectiveness, 4) examine the relationship between innovative leadership of school administrators and the personnel management effectiveness, 5) investigate the predictive power in innovative leadership of administrators affecting personnel management effectiveness and 6) propose a guideline for developing innovative leadership of administrators affecting the personnel management effectiveness. The samples consisted of 359 administrators and teachers in schools under the Secondary Educational Service Area Office Udon Thani in the academic year 2021, selected using multi-stage sampling. The instrument used for data collection was a set of 5-level rating scale questionnaires, which on the innovative leadership of administrators obtained discriminative power index between 0.53-0.71 and reliability index at 0.95, and on the personnel management effectiveness obtained discriminative power index between 0.50-0.70, and reliability index at 0.94. Statistics used in data analysis were percentage, mean, standard deviation, Pearson’s product-moment correlation and Stepwise multiple regression analysis.    

The findings were as follows.

1. The innovative leadership of administrators consisted of five components: 1) Transformational vision 2) Creative thinking 3) Innovative organizational building 4) Team working and participation and 5) Risk management.

2. The level of innovative leadership of administrators in overall and each aspect was at high level.

3. The level of the personnel management effectiveness in overall and each aspect was at high level.

4. The relationship between innovative leadership of administrators and the personnel management effectiveness showed moderate level of positive correlation with statistical significance at .01

5. The innovative leadership of administrators in transformational vision (X1) and innovative organizational building (X3) were able to predict the personnel management effectiveness (Y) with statistical significance at .01, and obtained a predictive power at 26.1. 
            The equation could be summarized in raw scores:
                  = 2.135 + 0.305X1 + 0.205X3
            The predictive equation standardized scores:
                  = 0.349Z1 + 0.238Z3

6. The guideline for developing innovative leadership of administrators affecting personnel management effectiveness of schools comprised two aspects: transformational vision and innovative organizational building.
 

คำสำคัญ
ภาวะผู้นำ ภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรม ประสิทธิผล การบริหารงานบุคคล
Keywords
Leadership, Innovative Leadership, Effectiveness, Personnel Management
ไฟล์วิทยานิพนธ์
ลำดับที่ ดาวน์โหลดไฟล์ ขนาดไฟล์
1 fulltext 3,353.07 KB
วันที่นำเข้าข้อมูล
27 กุมภาพันธ์ 2566 - 10:47:03
View 1366 ครั้ง


^