ฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ (E-Thesis) SNRU

สืบค้นเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) จากฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ (Thesis Database) ของบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร

ชื่อวิทยานิพนธ์
การประเมินความต้องการจำเป็นในการพัฒนาทักษะการคิดเชิงนวัตกรรม ของผู้บริหารโรงเรียนมัธยมศึกษาขนาดเล็กในจังหวัดนครพนม
Needs Assessment for Innovative Thinking Skills Development of Small-Sized Secondary School Administrators in Nakhon Phanom Province
ผู้จัดทำ
เริงณรงค์ ดวงดีแก้ว รหัส 63421247134 ระดับ ป.โท ภาคพิเศษ
หลักสูตร
ครุศาสตรมหาบัณฑิต (ค.ม.) สาขาวิชา การบริหารและพัฒนาการศึกษา
ปี พ.ศ.
2565
ที่ปรึกษา
รองศาสตราจารย์ ดร.วาโร เพ็งสวัสดิ์ , ดร.อภิสิทธิ์ สมศรีสุข
บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้ มีความมุ่งหมายเพื่อ 1) ศึกษาองค์ประกอบทักษะการคิดเชิงนวัตกรรมของผู้บริหารโรงเรียนมัธยมขนาดเล็ก 2) ศึกษาสภาพที่เป็นจริงและสภาพที่ควรจะเป็นเกี่ยวกับทักษะการคิดเชิงนวัตกรรมของผู้บริหารโรงเรียนมัธยมศึกษาขนาดเล็ก 3) ประเมินความต้องการจำเป็นในการพัฒนาทักษะการคิดเชิงนวัตกรรมของผู้บริหารโรงเรียนมัธยมศึกษาขนาดเล็ก 4) นำเสนอแนวทางพัฒนาทักษะการคิดเชิงนวัตกรรมของผู้บริหารโรงเรียนมัธยมศึกษาขนาดเล็ก กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ผู้บริหารและครูในโรงเรียนมัธยมศึกษาขนาดเล็กในจังหวัดนครพนม จำนวน 252 คน กำหนดขนาดของกลุ่มตัวอย่างโดยใช้ตารางของ Krejcie and Morgan การได้มาของกลุ่มตัวอย่างใช้การสุ่มแบบหลายขั้นตอน (Multi-stage Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถามชนิดมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ โดยด้านสภาพที่เป็นจริงมีค่าความเที่ยงตรงระหว่าง 0.60-1.00 ค่าอำนาจจำแนกระหว่าง 0.39-0.89 และค่าความเชื่อมั่น 0.98 ส่วนด้านสภาพที่ควรจะเป็น มีค่าความเที่ยงตรงระหว่าง 0.60-1.00 ค่าอำนาจจำแนกระหว่าง 0.72-0.92 และค่าความเชื่อมั่น 0.99 และแบบสัมภาษณ์แนวทาง การพัฒนาทักษะการคิดเชิงนวัตกรรมของผู้บริหารโรงเรียนมัธยมศึกษาขนาดเล็กในจังหวัดนครพนม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าดัชนีลำดับความสำคัญของความต้องการจำเป็น 

ผลการวิจัยพบว่า 

1. องค์ประกอบทักษะการคิดเชิงนวัตกรรมของผู้บริหารโรงเรียนมัธยมศึกษาขนาดเล็กในจังหวัดนครพนม ประกอบด้วย 6 องค์ประกอบ ได้แก่ 1) ความสามารถในการร่วมมือกับผู้อื่น 2) ทักษะการคิดเชื่อมโยง 3) ทักษะการคิดแบบผสมผสาน 4) ทักษะการเล่นอย่างมีคุณค่า 5) การให้ความสนใจในมุมมองใหม่ และ 6) การคิดเป็นภาพ 

2. สภาพที่เป็นจริงและสภาพที่ควรจะเป็นเกี่ยวกับทักษะการคิดเชิงนวัตกรรมของผู้บริหารโรงเรียนมัธยมศึกษาขนาดเล็กในจังหวัดนครพนม พบว่าสภาพที่ควรจะเป็นของทักษะการคิดเชิงนวัตกรรมผู้บริหารโรงเรียนมัธยมศึกษาขนาดเล็กในจังหวัดนครพนม โดยภาพรวมพบว่าอยู่ในระดับมาก ส่วนสภาพที่เป็นจริงโดยภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง 

3. ความต้องการจำเป็นในการพัฒนาทักษะการคิดเชิงนวัตกรรมของผู้บริหารโรงเรียนมัธยมศึกษาขนาดเล็กในจังหวัดนครพนม พบว่ามีความต้องการจำเป็นในการพัฒนาทักษะการเชื่อมโยงเป็นลำดับแรก รองลงมาคือด้านทักษะการเล่นอย่างมีคุณค่า และทักษะการคิดผสมผสาน ตามลำดับ 

4. แนวทางที่เหมาะสมในการพัฒนาทักษะการคิดเชิงนวัตกรรมของผู้บริหารโรงเรียนมัธยมศึกษาขนาดเล็กในจังหวัดนครพนม ไว้ 3 ด้าน ได้แก่ ด้านทักษะการเชื่อมโยง ด้านทักษะการเล่นอย่างมีคุณค่า และด้านทักษะการคิดผสมผสาน 
 

Abstract

This study aimed to 1) identify the components of innovative thinking skills. of small-sized secondary school administrators, 2) explore the current and desirable conditions of innovative thinking skills development for administrators in small-sized secondary school, 3) assess the needs for innovative thinking skills development for school administrators, 4) present a guideline for innovative thinking skills development of small-sized secondary schools administrators. The participants of this study consisted 252 small-sized secondary school administrators in Nakhon Phanom province. The sample size was determined using the tables of Krejcie and Morgan. The participants were obtained using Multi-Stage Random Sampling. The instruments used to collect data comprised a 5-level rating scale questionnaire, which the current condition part obtained validity index between 0.60-1.00, discrimination power index between 0.39-0.89 and reliability index was 0.98, whereas desirable condition part t obtained validity index between 0.60-1.00, discrimination power index between 0.92-0.92 and reliability index was 0.99, and the interview form for innovative thinking skills development for small-sized secondary school administrators in Nakhon Phanom province. Statistics used in data analysis were frequency, mean, standard deviation and Required Priority Index Value (PNImodified)

The results showed that:

1. The components of innovative thinking skills of small-sized secondary school administrators in Nakhon Phanom province comprised six elements, namely Capacity in working with others, Associative thinking skills, Synthesis thinking, Valuable playing skills, Attention to new perspectives and Conceptual thinking.

2. The overall desirable condition of innovative thinking skills development for administrators in small-sized secondary school in Nakhon Phanom province was at high level, whereas the overall current condition was at moderate level. 

3. The needs for innovative thinking skills of small-sized secondary school administrators in Nakhon Phanom province showed that Associative thinking skills was the first priority followed by Valuable playing skills and Synthesis thinking skills, respectively.

4. A guideline for developing innovative thinking skills of small-sized secondary school administrators in Nakhon Phanom Province comprised three elements, namely Associative thinking skills was the first priority followed by Valuable playing skills and Synthesis thinking skills.
 

คำสำคัญ
ความต้องการจำเป็น ทักษะการคิดเชิงนวัตกรรม โรงเรียนมัธยมศึกษาขนาดเล็ก
Keywords
Needs, Innovative Thinking Skills, Small-Sized Secondary Schools
ไฟล์วิทยานิพนธ์
ลำดับที่ ดาวน์โหลดไฟล์ ขนาดไฟล์
1 fulltext 8,894.42 KB
วันที่นำเข้าข้อมูล
23 มกราคม 2566 - 23:14:06
View 659 ครั้ง


^