ฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ (E-Thesis) SNRU

สืบค้นเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) จากฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ (Thesis Database) ของบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร

ชื่อวิทยานิพนธ์
การบริหารตามหลักธรรมาภิบาลที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของโรงเรียน สังกัดสํานักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสกลนคร
Administration Based on Good Governance Principles Affecting the Effectiveness of Schools under the Secondary Educational Service Area Office Sakon Nakhon
ผู้จัดทำ
เอกพร เสริฐสาย รหัส 63424229124 ระดับ ปริญญาโท
หลักสูตร
ครุศาสตรมหาบัณฑิต (ค.ม.) สาขาวิชา การบริหารการศึกษา
ปี พ.ศ.
2566
ที่ปรึกษา
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. วัฒนา สุวรรณไตรย์ ประธานที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์ ดร. เยาวลักษณ์ สุตะโคตร กรรมการที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์
บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษา เปรียบเทียบ หาความสัมพันธ์  หาอำนาจพยากรณ์ และหาแนวทางการพัฒนาการบริหารตามหลักธรรมาภิบาลที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสกลนคร  ตามความคิดเห็นของผู้บริหารสถานศึกษาและครูผู้สอน การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงสหสัมพันธ์ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ผู้บริหารโรงเรียนและครูผู้สอน โรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสกลนคร ปีการศึกษา 2565 จำนวน 344  คน ประกอบด้วยผู้บริหารโรงเรียน 45 คน และครูผู้สอน 299 คน กำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างตามตารางของ Krejcie and Morgan และใช้การสุ่มกลุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้น (Stratified Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้  ได้แก่ แบบสอบถาม  และแบบสัมภาษณ์  คุณภาพของแบบสอบถามเกี่ยวกับการบริหารตามหลักธรรมาภิบาล มีค่าอำนาจจำแนกอยู่ระหว่าง .490 - .868 และมีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ .938 และแบบสอบถามเกี่ยวกับประสิทธิผลของโรงเรียน มีค่าอำนาจจำแนกอยู่ระหว่าง .627 - .932 และมีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ .941 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบ t - test ชนิด Independent Samples การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One - Way ANOVA) การวิเคราะห์ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์อย่างง่ายของเพียร์สัน (Pearson’s Product - Moment Correlation Coefficient) และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณแต่ละขั้นตอน (Stepwise Multiple Regression Analysis)

                 ผลการวิจัยพบว่า

                     1. การบริหารงานตามหลักธรรมาภิบาลในโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสกลนคร ตามความคิดเห็นของผู้บริหารโรงเรียนและครูผู้สอน อยู่ในระดับมาก

                     2. ประสิทธิผลการบริหารโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่มัธยมศึกษาสกลนคร ตามความคิดเห็นของผู้บริหารโรงเรียนและครูผู้สอน อยู่ในระดับมาก

                     3. ผลการเปรียบเทียบการบริหารตามหลักธรรมาภิบาล จำแนกตามสถานภาพการดำรงตำแหน่ง ขนาดโรงเรียน และประสบการณ์ในการปฏิบัติงานที่แตกต่างกันโดยรวม พบว่า แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01

                     4. ผลการเปรียบเทียบประสิทธิผลการบริหารโรงเรียน จำแนกตามสถานภาพการดำรงตำแหน่ง ขนาดโรงเรียน และประสบการณ์ในการปฏิบัติงานที่แตกต่างกันโดยรวม พบว่า แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01

                     5. การบริหารตามหลักธรรมาภิบาลกับประสิทธิผลการบริหารโรงเรียน มีความสัมพันธ์กันในทางบวกอยู่ในระดับปานกลาง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01

                     6. การบริหารตามหลักธรรมาภิบาล หลักคุณธรรม หลักการมีส่วนร่วม หลักนิติธรรม และหลักความโปร่งใส สามารถพยากรณ์ประสิทธิผลของโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่มัธยมศึกษาสกลนคร ได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 โดยมีอำนาจพยากรณ์ ร้อยละ 47.20 และ มีความคลาดเคลื่อนมาตรฐานของการพยากรณ์เท่ากับ ± .27297

                     7. แนวทางการพัฒนาการบริหารตามหลักธรรมาภิบาล ที่ส่งผลต่อประสิทธิผลการบริหารโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่มัธยมศึกษาสกลนคร เสนอแนะไว้ 4 ด้าน ประกอบด้วย 1) ด้านหลักคุณธรรม ได้แก่ ผู้บริหารควรเป็นผู้มีเหตุมีผลยึดมั่นและเชื่อถือในความถูกต้อง การทํางานให้มีความซื่อสัตย์สุจริต 2) ด้านหลักการมีส่วนร่วม ได้แก่ ผู้บริหารจึงต้องเปิดโอกาสให้ทุกภาคส่วน  เข้ามามีส่วนร่วมในการบริหารงาน สามารถเสนอปัญหาประเด็นที่สำคัญที่เกี่ยวข้อง ร่วมคิดแนวทางร่วมการแก้ไขปัญหา 3) ด้านหลักนิติธรรม  ได้แก่ ผู้บริหารแนะแนวทางปฏิบัติตนที่ถูกต้องตามระเบียบข้อบังคับ และ 4) ด้านหลักความโปร่งใส ได้แก่ ผู้บริหารโรงเรียนหลักความโปร่งใสในการปฏิบัติงานคือมี กระบวนการเปิดเผยอย่างตรงไปตรงมา   

Abstract

      The purposes of this correlational research were to examine, compare,   and determine the relationship, identify the predictive power, and establish guidelines for developing administration based on good governance affecting the effectiveness of schools under the Secondary Educational Service Area Office Sakon Nakhon (SESAO). The sample group, obtained through stratified random sampling, consisted of 45 school administrators and 299 teachers working under SESAO Sakon Nakhon in the academic year 2022, yielding a total of 344 participants. The Krejcie and Morgan table was also applied for determining the sample size. The tools for data collection were questionnaires and a structured interview form. The quality of questionnaires on the administration based on good governance principles ranged from .490 to .868 with the reliability of .938, and the effectiveness of schools ranged from .627 to .932 with the reliability of .941, Statistics for data analysis were frequency, percentage, mean, standard deviation, t - test for Independent Samples, One-way analysis of variance (ANOVA), Pearson’s product - moment correlation coefficient, and Stepwise multiple regression analysis.

        The findings were as follows:

          1. The school administration based on good governance principles, as perceived by participants was at a high level.

                     2. The effectiveness of school administration, as perceived by participants was at a high level.

                     3. The administration based on good governance principles, classified by positions, school sizes, and work experience showed differences overall at the .01 level of significance.  

          4. The effectiveness of school administration, classified by positions, school sizes, and work experience, overall showed a difference at the .01 level of significance.

          5. The administration based on good governance principles and the effectiveness of school administration had a positive relationship with a medium level at the .01 level of significance.  

                     6. The administration based on good governance principles comprising ethics, participation, rule of law, and transparency could predict the school effectiveness with the predictive power of 47.20 percent and the standard error estimate of ± .27297. 

                     7. The guidelines for developing administration based on good governance principles affecting the effectiveness of school administration under SESAO Sakon Nakhon consisted of four aspects: 1) Ethics, school administrators should display qualities such as rationality, dedication, and trustworthiness, and a commitment to ethical conduct in their work to upholding correctness, working with honesty and integrity; 2) Participation, school administrators must offer opportunities all sectors to engage in the administration, raise pertinent issues and propose guidelines for solving problems, 3) Rule of law entails that administrators should guide teachers in effectively performing within the organizational rules and regulation; and 4) Transparency, administrators should manage tasks in a direct and straightforward manner.

คำสำคัญ
การบริหารตามหลักธรรมาภิบาล ประสิทธิผลของโรงเรียน
Keywords
Administration Based on Good Governance Principles, School Effectiveness
ไฟล์วิทยานิพนธ์
ลำดับที่ ดาวน์โหลดไฟล์ ขนาดไฟล์
1 fulltext 9,702.44 KB
วันที่นำเข้าข้อมูล
28 ตุลาคม 2566 - 10:07:40
View 128 ครั้ง


^