ฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ (E-Thesis) SNRU

สืบค้นเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) จากฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ (Thesis Database) ของบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร

ชื่อวิทยานิพนธ์
รูปแบบการพัฒนาภาวะผู้นำครูด้านการจัดการเรียนรู้ฐานสมรรถนะสำหรับครูกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีโรงเรียนมัธยมศึกษาขนาดใหญ่ สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
Development of a Teacher Leadership Model on Competency-Based Instruction for Science and Technology Teachers in Large-Sized Secondary Schools under the Basic Education Commission Offices in the Northeast
ผู้จัดทำ
วราจิตร พรมเกตุ รหัส 63632233108 ระดับ ป.เอก ภาคพิเศษ
หลักสูตร
ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (ปร.ด.) สาขาวิชา การบริหารและพัฒนาการศึกษา
ปี พ.ศ.
2565
ที่ปรึกษา
รองศาสตราจารย์ ดร.วาโร เพ็งสวัสดิ์, ดร.ทรัพย์หิรัญ จันทรักษ์
บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้ มีความมุ่งหมายเพื่อพัฒนารูปแบบภาวะผู้นำครูด้านการจัดการเรียนรู้ฐานสมรรถนะ สำหรับครูกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี โรงเรียนมัธยมศึกษาขนาดใหญ่ สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ใช้ระเบียบวิธีการวิจัยและพัฒนา ดำเนินการวิจัย 4 ระยะ คือ ระยะที่ 1 ศึกษาองค์ประกอบภาวะผู้นำครูด้านการจัดการเรียนรู้ฐานสมรรถนะ ดำเนินการโดยการสังเคราะห์เอกสารและงานวิจัย การสัมภาษณ์ผู้ทรงคุณวุฒิเพื่อหาองค์ประกอบและยืนยันองค์ประกอบ กลุ่มผู้ให้ข้อมูล ประกอบด้วย ผู้ทรงคูณวุฒิ 10 คน ระยะที่ 2 ศึกษาความต้องการจำเป็น กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษาและครูกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี โรงเรียนมัธยมศึกษาขนาดใหญ่ สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ปีการศึกษา 2564 การกำหนดขนาดของกลุ่มตัวอย่าง ใช้ตารางของ Krejcie and Morgan โดยวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน จำนวน 365 คน ระยะที่ 3 พัฒนารูปแบบ โดยการหาค่าความสอดคล้องของรูปแบบ ดำเนินการโดยการสนทนากลุ่ม เพื่อตรวจสอบรูปแบบจากผู้ทรงคุณวุฒิ 7 คน ระยะที่ 4 ศึกษาผลการใช้รูปแบบ แบ่งเป็น 3 ขั้นตอน คือ 1) ศึกษาดูงาน 2) อบรมเชิงปฏิบัติการ และ 3) ทดลองใช้ กลุ่มเป้าหมาย คือ ครูผู้สอนวิทยาศาสตร์ ปีการศึกษา 2564  โรงเรียนธาตุพนม จำนวน 10 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ 1) แบบประเมินสภาพที่เป็นจริงและสภาพที่ควรจะเป็นของการพัฒนาภาวะผู้นำครูด้านการจัดการเรียนรู้ฐานสมรรถนะ 2) แบบทดสอบก่อนและหลังอบรมเชิงปฏิบัติการ และ 3) แบบประเมินพฤติกรรมภาวะผู้นำครู สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน  PNI Modified Wilcoxon Sign Rank Test และ One Sample t-test

ผลการวิจัยพบว่า

1. องค์ประกอบภาวะผู้นำครูด้านการจัดการเรียนรู้ฐานสมรรถนะ ประกอบด้วย 1) กระบวนการจัดการเรียนรู้ฐานสมรรถนะ 2) การพัฒนาตนเองและเพื่อนครู 3) การพัฒนาหลักสูตรฐานสมรรถนะ 4) การวัดและประเมินผลฐานสมรรถนะ และ 5) คุณลักษณะความเป็นครู

2. องค์ประกอบภาวะผู้นำครูด้านการจัดการเรียนรู้ฐานสมรรถนะ ที่มีค่าดัชนีความต้องการจำเป็นมากกว่าค่าดัชนีความต้องการจำเป็นในภาพรวม คือ 1) ด้านการวัดและประเมินผลฐานสมรรถนะมีค่า PNI Modified= 0.842 และ 2) ด้านกระบวนการจัดการเรียนรู้ฐานสมรรถนะมีค่า PNI Modified =0.297

3. รูปแบบการพัฒนาภาวะผู้นำครูด้านการจัดการเรียนรู้ฐานสมรรถนะ สำหรับครูกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี โรงเรียนมัธยมศึกษาขนาดใหญ่ ประกอบด้วย ข้อแนะนำในการใช้รูปแบบ ที่มาและความสำคัญของรูปแบบ หลักการ จุดประสงค์ เนื้อหาของรูปแบบ วิธีการพัฒนา และการนิเทศกำกับและติดตามผล

4. ผลการใช้รูปแบบ พบว่า 1) คะแนนภาวะผู้นำครูด้านการจัดการเรียนรู้ฐานสมรรถนะ หลังอบรมเชิงปฏิบัติการสูงกว่าคะแนนก่อนอบรมเชิงปฏิบัติการ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2) ผลการประเมินพฤติกรรมภาวะผู้นำครูด้านการจัดการเรียนรู้ฐานสมรรถนะ พบว่าด้านกระบวนการจัดการเรียนรู้ฐานสมรรถนะ และด้านการวัดและการประเมินผลฐานสมรรถนะ มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก และ 3) ผลการวิเคราะห์พฤติกรรมภาวะผู้นำครูด้านการจัดการเรียนรู้ฐานสมรรถนะ หลังการอบรมเชิงปฏิบัติการสูงกว่าคะแนนเกณฑ์ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
 

Abstract

The objective of this was to develop an instructional leadership model on competency-based for science and technology teachers in large-sized secondary schools under the Basic Education Commission offices in the Northeast.  This research and development procedures were divided into four phases. Phase 1  was to identify the components of competency-based instructional leadership through analyzing and synthesizing the related documents and reviewing 10 experts for identifying and confirm the components. Phase 2 was to explore the needs of competency-based instructional leadership. The sample were administrators and for science and technology teachers in large-sized secondary schools under the Basic Education Commission offices in the Northeast in academic year 2022. The sample size was determined using Krejcie and Morgan table, and 365 of administrators and teachers were selected using multi-stage random sampling. Phase 3 was to develop an instructional model by investigating the goodness-of-fit of the model from 7 experts using focus group method  Phase 4 was to validate the result of the model implementation, which was divides into 3 stages: 1) field trip, 2) training and 3) implementation. The samples were 10 science and technology teachers in That Phanom School in academic year 2022. The tools used to collect the data were 1) an assessment form on the current state and desirable state of competency-based instructional model development, 2) Pre-test and Post-test of the training and 3) a behavior evaluation form of teacher leadership. Statistics used in data analysis were percentage, mean, standard deviation PNI Modified Wilcoxon Sign Rank Test and One sample t-test.

The findings were as follows.

1. The components of competency-based instructional leadership comprised of 1) competency-based learning management process, 2) self-development and peer development, 3) competency-based curriculum development, 4) competency-based measurement and evaluation and 5) teacher attributes. 

2. The components of competency-based instructional leadership obtained the needs value index higher than the overall needs values, namely 1 competency-based measurement and evaluation with PNI Modified = 0.842 and 2) competency-based learning process with PNI Modified =0.297.

3. The competency-based instructional leadership model for science and technology teachers in large-sized secondary schools consisted of the model instructions, rationale and background, principles, object6ives, contents, development process and supervision and follow-up.

4) The results of the model implementation showed that 1) the post-test scores of the training was higher than of the pre-test with statistical significance at .05, 2) The leadership behaviors on competency-based learning management found that competency-based learning management process and competency-based measurement and evaluation obtained high level of mean scores, and 3) the results of behaviour analysis of teacher leadership on competency-based learning management after the training was higher than the set scores with statistical significance at .05.
 

คำสำคัญ
รูปแบบการพัฒนา ภาวะผู้นำครู การจัดการเรียนรู้ฐานสมรรถนะ
Keywords
Model Development, Teacher Leadership, Competency-Based Instruction
ไฟล์วิทยานิพนธ์
ลำดับที่ ดาวน์โหลดไฟล์ ขนาดไฟล์
1 fulltext 10,501.08 KB
วันที่นำเข้าข้อมูล
8 พฤษภาคม 2566 - 14:52:45
View 2482 ครั้ง


^