ฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ (E-Thesis) SNRU

สืบค้นเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) จากฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ (Thesis Database) ของบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร

ชื่อวิทยานิพนธ์
การบริหารจัดการสถานศึกษารางวัลพระราชทาน ระดับประถมศึกษา: การศึกษาเพื่อสร้างทฤษฎีฐานราก
Administrative Management of Royal Awarded Schools at a Primary Level: A Grounded Theory Study
ผู้จัดทำ
รถศรี อินธิสิทธิ์ (ติกขปัญโญ) รหัส 63632250101 ระดับ ปริญญาเอก
หลักสูตร
ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (ปร.ด.) สาขาวิชา การบริหารการศึกษา
ปี พ.ศ.
2566
ที่ปรึกษา
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.วัฒนา สุวรรณไตรย์ ประธานที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์ รองศาสตราจารย์ ดร.ธวัชชัย ไพใหล กรรมการที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์
บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ลักษณะการบริหารจัดการสถานศึกษา 2) เงื่อนไขการเกิดสถานศึกษารางวัลพระราชทาน และ 3) ผลสืบเนื่องที่เกิดจากการบริหารจัดการสถานศึกษารางวัลพระราชทาน ระดับประถมศึกษา โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยแบบสร้างทฤษฎีฐานรากเป็นวิจัยเชิงคุณภาพ เลือกพื้นที่และผู้ให้ข้อมูลสำคัญแบบเจาะจง Purposive Sampling เป็นพื้นที่มีปรากฏการณ์ความสำเร็จโดดเด่น ผู้ให้ข้อมูลสำคัญเป็นผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการจัดการศึกษาทั้งในและนอกสถานศึกษาในปี พ.ศ.2546 - 2554 ที่อยู่ในปรากฏการณ์ ใช้เทคนิค Snowball Sampling เลือกจำนวนผู้ให้ข้อมูลจนกว่าข้อมูลอิ่มตัว Data saturation เครื่องมือที่ใช้วิจัย ประกอบด้วย แบบวิเคราะห์เอกสาร แบบบันทึกการสังเกต แบบสัมภาษณ์เชิงลึก และแบบบันทึกการจัดสนทนากลุ่ม วิเคราะห์ข้อมูลตีความ ให้ความหมายจากข้อมูล และสร้างข้อเสนอเชิงทฤษฎีโดยอาศัยความไวทางทฤษฎี และใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ ATLAS.ti23 เพื่อช่วยจัดระเบียบข้อมูล

             ผลการวิจัยพบว่า

                 1. ลักษณะการบริหารจัดการสถานศึกษารางวัลพระราชทาน ระดับประถมศึกษา มีองค์ 3 องค์ประกอบ คือ องค์ประกอบที่ 1) ใช้รูปแบบการบริหารจัดการเชิงกลยุทธ์ NAKAE: PIE Model มีขั้นตอน คือ การวางแผนกลยุทธ์ นำเอาแผนกลยุทธ์ไปใช้ และประเมินแผนกลยุทธ์ โดยการกำหนดกลยุทธ์ให้ครอบคลุมผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องทั้งหมด (stakeholders) องค์ประกอบที่ 2 ลักษณะการบริหารจัดการสถานศึกษารางวัลพระราชทาน มีการบูรณาการใช้แนวคิดการบริหารจัดการสถานศึกษา 5 แนวคิด ประกอบด้วย 1) การบริหารจัดการบ้านเมืองและสังคมที่ดี 2) การบริหารมุ่งผลสัมฤทธิ์ 3) การบริหารแบบมีส่วนร่วม 4) การบริหารโดยใช้สถานศึกษาเป็นฐาน และ 5) หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง องค์ประกอบที่ 3 กำหนด 5 กลยุทธ์ในการบริหารจัดการสถานศึกษาครอบคลุมและอาศัยการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง

                 2. เงื่อนไขการเกิดสถานศึกษารางวัลพระราชทาน ระดับประถมศึกษา มี 5 แนวทางเพื่อให้บรรลุตามเป้าหมาย ประกอบด้วย 1) เกณฑ์ประเมินสถานศึกษารางวัลพระราชทาน 5 ด้าน 2) แนวปฏิบัติอันเป็นเลิศ SMART Model 3) เน้นวัฒนธรรมคุณภาพ 5Q 4) อาศัยการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง และ 5) วัฒนธรรมการทำงานมุ่งความเป็นเลิศของสถานศึกษา

                 3. ผลสืบเนื่องที่เกิดขึ้นจากการบริหารจัดการสถานศึกษารางวัลพระราชทาน ระดับประถมศึกษา การศึกษาเพื่อสร้างทฤษฎีฐานราก เกิดขึ้นแก่ 3 ภาคส่วนที่เกี่ยวข้องกับสถานศึกษา คือ 1) เกิดขวัญกำลังใจแก่บุคลากรภายใน 2) เกิดความพึงพอใจแก่บุคลากรภายนอก และ 3) เกิดการบูรณาการทำงานระหว่างภาคีเครือข่ายในระดับผู้บริหารและหน่วยงานและเกิดองค์ความรู้ใหม่

                 4. ข้อเสนอเชิงทฤษฎีฐานราก “การบริหารจัดการสถานศึกษารางวัลพระราชทาน ระดับประถมศึกษา” เป็นมโนทัศน์เกี่ยวกับการบริหารจัดการสถานศึกษารางวัลพระราชทานที่ใช้รูปแบบการบริหารจัดการเชิงกลยุทธ์เป็นหลัก โดยใช้ NAKAE: PIE Model ในการบริหารจัดการสถานศึกษา โดยมีองค์ประกอบที่เป็นเงื่อนไขสนับสนุน 2 องค์ประกอบ คือ 1) เงื่อนไขการเกิดสถานศึกษารางวัลพระราชทาน และ 2) ผลสืบเนื่องที่เกิดจากการบริหารจัดการสถานศึกษารางวัลพระราชทาน

Abstract

This research aimed to examine 1) the characteristics of school administrative management, 2) the conditions of the process influencing the establishment of royal-awarded schools, and 3) the consequences of school administrative management on individuals at a primary level. Grounded theory methodology was utilized, employing a qualitative research design. Purposive sampling was employed to select specific areas characterized by exceptional phenomena, as well as key informants as stakeholders who held significant roles in educational management within and outside of schools between the years 2546 to 2554 B.E. The participants were selected using the snowball sampling technique until data saturation was reached. The research tools included document analysis forms, observation record forms, in-depth interview forms, and written group discussion forms. The data collected were interpreted, uncovering underlying meanings, and constructing a theoretical proposal based on theoretical sensitivity. The ATLAS.ti23 computer program was employed for organizing information.

             The findings revealed that:

                 1. The characteristics of school administrative management in royal-awarded schools comprised three components: Component 1 involved the application of the NAKAE Strategic Management Model: PIE Model, which entailed strategic planning, implementation of strategic plans, and evaluation, all of which were achieved through the formulation of strategies that incorporated all stakeholders’ needs and interests. Component 2 focused on characteristics of administrative management in royal-awarded schools. This involved the integration of five concepts of school administrative management into practices encompassing the following: 1) Good urban and social management, 2) Achievement-oriented management, 3) Participatory management, 4) School-based management, and 5) Principles of sufficient economy philosophy. Component 3 entailed the formulation of five clearly defined strategies for school administrative management, with the participation of all relevant sectors.

                 2. The conditions inherent in royal-awarded primary schools consisted of three approaches aiming at attaining the established goals. These approaches included: 1) Assessment criteria for royal-awarded schools covering five aspects,

2) Best practice SMART Model, 3) 5Q-quality culture, 4) Participation of all relevant stakeholders, and 5) Work culture oriented toward school excellence.

                 3. The consequences resulting from the administrative management of royal-awarded primary schools, as identified through grounded theory research, manifest across three sectors associated with the schools as follows: 1) Internal personnel work morale, 2) satisfaction of external personnel, and 3) work integration among administrators and organizational networks, and creation of new knowledge. 

                 4. The grounded theoretical proposition on the “school administrative management of royal-awarded primary schools" encompassed the concept of the administrative management practices employed in royal-awarded schools. These practices are categorized by a strategic management approach utilizing the NAKAE: PIE Model for school administrative management. The proposition included two supportive conditions: 1) the conditions that contributed to the establishment of royal-awarded schools, and 2) the consequences that emerge as a result of the implemented administrative management within these schools.

คำสำคัญ
การบริหารจัดการ สถานศึกษารางวัลพระราชทาน ประถมศึกษา การทฤษฎีฐานราก
Keywords
Administrative Management, Royal-Awarded Schools, Primary Level, Grounded Theory
ไฟล์วิทยานิพนธ์
ลำดับที่ ดาวน์โหลดไฟล์ ขนาดไฟล์
1 fulltext 8,249.99 KB
วันที่นำเข้าข้อมูล
28 ตุลาคม 2566 - 09:10:20
View 266 ครั้ง


^