ฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ (E-Thesis) SNRU

สืบค้นเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) จากฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ (Thesis Database) ของบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร

ชื่อวิทยานิพนธ์
โมเดลความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของปัจจัยคัดสรรที่ส่งผลต่อประสิทธิผลโรงเรียนพระปริยัติธรรมแผนกสามัญศึกษาในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
The Causal Relationship Model of Selected Factors Affecting Effectiveness of Phrapariyattidhama Schools in the General Education Division in the Northeastern Region
ผู้จัดทำ
จรัสชัย ปญฺญาวชิโร (วชิเรสปัญญาสกุล) รหัส 63632250102 ระดับ ป.เอก ภาคพิเศษ
หลักสูตร
ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (ปร.ด.) สาขาวิชา การบริหารการศึกษา
ปี พ.ศ.
2565
ที่ปรึกษา
รองศาสตราจารย์ ดร.สายันต์ บุญใบ , ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.เพลินพิศ ธรรมรัตน์
บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาปัจจัยคัดสรรที่ส่งผลต่อประสิทธิผลโรงเรียนพระปริยัติธรรมแผนกสามัญศึกษา ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 2) ตรวจสอบโมเดลความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของปัจจัยคัดสรรที่ส่งผลต่อประสิทธิผลโรงเรียนพระปริยัติธรรมแผนกสามัญศึกษา ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 3) หาแนวทางการพัฒนาปัจจัยคัดสรรที่ส่งผลต่อประสิทธิผลโรงเรียนพระปริยัติธรรมแผนกสามัญศึกษา ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ การดำเนินการวิจัย แบ่งออกเป็น 3 ระยะ ประกอบด้วย ระยะที่ 1 สร้างโมเดลสมมติฐาน โดยมีขั้นตอน ดังนี้ ขั้นที่ 1 การศึกษาและวิเคราะห์เอกสารเป็นการศึกษาหลักการ ทฤษฎี แนวคิดเกี่ยวกับปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิผลโรงเรียน และขั้นที่ 2 การศึกษาปัจจัยคัดสรรที่ส่งผลต่อประสิทธิผลโรงเรียนจากผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 9 รูป/คน ระยะที่ 2 การตรวจสอบความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ กลุ่มตัวอย่างคือ ผู้อำนวยการ ครูพระ และครูฆราวาส ในโรงเรียนพระปริยัติธรรมแผนกสามัญศึกษา ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ประจำปีการศึกษา 2565 จำนวน 516 รูป/คน ระยะที่ 3 การหาแนวทางพัฒนาปัจจัยคัดสรรที่ส่งผลต่อประสิทธิผลโรงเรียนพระปริยัติธรรมแผนกสามัญศึกษา ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ โดยการวิเคราะห์โมเดลสมการโครงสร้าง (SEM) และการวิเคราะห์ตัวแบบเชิงเส้น โดยใช้สถิติไค-สแควร์ (Chi-Square) วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรม SPSS และโปรแกรมสำเร็จรูป LISREL ซึ่งเป็นการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณโดยสถิติขั้นสูง และจัดทำการสนทนากล่ม (Focus Group) จำนวน 10 รูป/คน

ผลการวิจัยพบว่า

1. โมเดลความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของปัจจัยคัดสรรที่ส่งผลต่อประสิทธิผลโรงเรียนพระปริยัติธรรมแผนกสามัญศึกษาในภาคตะวันออกเฉียงเหนือที่สร้างขึ้น ประกอบด้วย ตัวแปรสาเหตุ ได้แก่ ภาวะผู้นำของผู้บริหาร วัฒนธรรมองค์การ การจัดกระบวนการเรียนรู้ และองค์การแห่งนวัตกรรม

2. โมเดลความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของปัจจัยคัดสรรที่ส่งผลต่อประสิทธิผลโรงเรียนพระปริยัติธรรมแผนกสามัญศึกษาในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ที่สร้างขึ้นมีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ โดยค่าไค-สแควร์ (χ2) มีค่าเท่ากับ 137.86 องศาอิสระ เท่ากับ 117 ความน่าจะเป็น (p) เท่ากับ .09121 ค่าไค-สแควร์สัมพันธ์ χ2/df เท่ากับ 1.17 นั่นคือ โมเดลมีความกลมกลืนดี แสดงว่ายอมรับสมมติฐานหลักที่ว่าโมเดลความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของปัจจัยคัดสรรที่ส่งผลต่อประสิทธิผลโรงเรียนที่พัฒนาขึ้น สอดคล้องกลมกลืนกับข้อมูลเชิงประจักษ์ ซึ่งสอดคล้องกับผลการวิเคราะห์ค่าดัชนีความกลมกลืน (GFI) มีค่าเท่ากับ .98 ค่าดัชนีความกลมกลืนที่ปรับแก้แล้ว (AGFI) มีค่าเท่ากับ .94 ซึ่งมีค่าเข้าใกล้ 1 และค่าดัชนีรากกำลังสองเฉลี่ยของส่วนที่เหลือ (RMR) มีค่าเท่ากับ .00 ซึ่งเข้าใกล้ศูนย์และค่าสัมประสิทธิ์การพยากรณ์ (R2) เท่ากับ .92 และนำโมเดลไปให้ผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 10 รูป/คน ยืนยัน พบว่า ผู้เชี่ยวชาญ ทุกรูป/คน ยืนยันโมเดลตามผลการวิเคราะห์

3. การวิจัยครั้งนี้ได้นำเสนอแนวทางพัฒนาปัจจัยคัดสรรที่มีอิทธิพลต่อประสิทธิผลโรงเรียนพระปริยัติธรรมแผนกสามัญศึกษา ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ โดยปัจจัยคัดสรรที่ส่งผลทางตรง 3 ตัว คือ ภาวะผู้นำของผู้บริหาร การจัดกระบวนการเรียนรู้ และองค์การแห่งนวัตกรรม นอกจากนี้มีการนำเสนอแนวทางพัฒนาปัจจัยคัดสรรที่ส่งผลทั้งทางตรงและทางอ้อม คือ วัฒนธรรมองค์การไว้ด้วย
 

Abstract

The purposes of this research were to 1) examine selected factors affecting the effectiveness of Phrapariyattidhama Schools in the General Education Division in the northeastern region, 2) verify a causal relationship model of selected factors affecting the effectiveness of Phrapariyattidhama schools in the northeastern region with the empirical data, and 3) establish the guidelines for developing selected factors affecting the effectiveness of Phrapariyattidhama schools in the northeastern region. The research was divided into three phases: Phase I: Construction of a Hypothesis Model involved two steps:  Step 1- document inquiries and analysis on principles, theories, concepts of factors affecting the school effectiveness, and Step 2 - examination of selected factors affecting the school effectiveness through nine experts. Phase II: Model Verification with the Empirical Data. The sample in this phase consisted of 516 participants, including a school administrator, monk teachers, and lay teachers from Phrapariyattidhama Schools in General Education Division in the northeastern region in the academic year 2022. Phase III: Establishment of Guidelines for improving selected factors affecting the effectiveness of Phrapariyattidhama schools in the General Education Division in the northeastern region. A structural equation model (SEM) and a linear model were both analyzed using the Chi-square Statistic. The quantitative data was evaluated through the SPSS And LISREL programs. The interviews with ten experts were also conducted for data analysis.

The findings were as follows:

1. The constructed causal relationship model of selected factors affecting the effectiveness of Phrapariyattidhamma Schools in the General Education Division in the northeastern region consisted of the cause variables, including administrators’ leadership, organizational culture, learning process management, and innovative organization.

2. The developed causal relationship model was consistent with the empirical data: Chi-square value (χ2) of 137.86, degree of freedom (df) of 117, p-value of 0.09121, and relative chi-square value χ2/df of 1.17. Thus, the null hypothesis of this model failed to be rejected. The developed causal relationship model was consistent with the empirical data and the results of statistical tests with goodness of fit (GFI) of .98, adjusted goodness of fit (AGFI) of .94, approaching 1, root mean square residual (RMR) of .00, approaching zero, and the predication coefficient of determination (R2) of .92. Ten experts also verified the consistency of the model with the research results.

3. This research proposed the guidelines for improving the three selected factors that had a direct influence on the effectiveness of Phrapariyattidhamma schools in the General Education Division in the northeastern region comprising administrators’ leadership, learning process management, and innovative organization, while organizational culture was identified as having both direct and indirect effects, 
and was also included in the guidelines. 
 

คำสำคัญ
โมเดลความสัมพันธ์เชิงสาเหตุ ประสิทธิผลโรงเรียนพระปริยัติธรรม
Keywords
Causal Relationship Model, Effectiveness of Phrapariyattidhama Schools
ไฟล์วิทยานิพนธ์
ลำดับที่ ดาวน์โหลดไฟล์ ขนาดไฟล์
1 fulltext 12,734.17 KB
วันที่นำเข้าข้อมูล
8 พฤษภาคม 2566 - 10:26:56
View 269 ครั้ง


^