ฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ (E-Thesis) SNRU

สืบค้นเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) จากฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ (Thesis Database) ของบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร

ชื่อวิทยานิพนธ์
รูปแบบการพัฒนาภาวะผู้นำครูยุคดิจิทัลในการจัดการเรียนรู้ของโรงเรียนประถมศึกษาในเขตพื้นที่รับผิดชอบ สำนักงานศึกษาธิการภาค 11
A Model for Developing Digital-Era Leadership of Teachers in Learning Management in Primary Schools under the Regional Education Office No.11
ผู้จัดทำ
มัตติกา ผาลี รหัส 63632250106 ระดับ ปริญญาเอก
หลักสูตร
ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (ปร.ด.) สาขาวิชา การบริหารการศึกษา
ปี พ.ศ.
2566
ที่ปรึกษา
รองศาสตราจารย์ ดร.ไชยา ภาวะบุตร ประธานที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.จินดา ลาโพธิ์ กรรมการที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์
บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อ 1) ศึกษาองค์ประกอบภาวะผู้นำครูยุคดิจิทัลในการจัดการเรียนรู้ของโรงเรียนประถมศึกษา ในเขตพื้นที่รับผิดชอบสำนักงานศึกษาธิการภาค 11 2) สร้างและพัฒนารูปแบบการพัฒนาภาวะผู้นำครูยุคดิจิทัลในการจัดการเรียนรู้ของโรงเรียนประถมศึกษา ในเขตพื้นที่รับผิดชอบสำนักงานศึกษาธิการภาค 11 3) หาประสิทธิผลของรูปแบบการพัฒนาภาวะผู้นำครูยุคดิจิทัลในการจัดการเรียนรู้ของโรงเรียนประถมศึกษา ในเขตพื้นที่รับผิดชอบสำนักงานศึกษาธิการภาค 11 ตามรูปแบบที่พัฒนาขึ้น โดยใช้ระเบียบวิธีการวิจัยและพัฒนา โดยแบ่งเป็น 3 ระยะ คือ ระยะที่ 1 ศึกษารูปแบบการพัฒนาภาวะผู้นำครูยุคดิจิทัลในการจัดการเรียนรู้ โดยการวิเคราะห์เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง สัมภาษณ์เชิงลึกผู้ทรงคุณวุฒิและการวิจัยเชิงสำรวจ กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ครูในโรงเรียนประถมศึกษา ในเขตพื้นที่รับผิดชอบสำนักงานศึกษาธิการภาค 11 ปีการศึกษา 2565 จำนวน 386 คน ระยะที่ 2 สร้างรูปแบบการพัฒนาภาวะผู้นำครูยุคดิจิทัลในการจัดการเรียนรู้ และยืนยันรูปแบบโดยผู้เชี่ยวชาญ ระยะที่ 3 การทดลองใช้รูปแบบการพัฒนาภาวะผู้นำครูยุคดิจิทัลในการจัดการเรียนรู้ เป็นครูในโรงเรียนประถมศึกษา ในเขตพื้นที่รับผิดชอบสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครพนม เขต 2 จำนวน 30 คน จาก 7 โรงเรียน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูลการวิจัย ประกอบด้วย แบบสัมภาษณ์แบบไม่มีโครงสร้าง แบบสอบถามชนิดมาตราส่วนประมาณค่า แบบประเมินภาวะผู้นำครูยุคดิจิทัลในการจัดการเรียนรู้ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน

             ผลการวิจัยพบว่า

                 1. องค์ประกอบภาวะผู้นำครูยุคดิจิทัลในการจัดการเรียนรู้ของโรงเรียนประถมศึกษา ในเขตพื้นที่รับผิดชอบสำนักงานศึกษาธิการภาค 11 ประกอบด้วย 6 องค์ประกอบ 65 ตัวบ่งชี้ ดังนี้ 1) การบูรณาการเทคโนโลยีดิจิทัลในการจัดการเรียนรู้ มี 11 ตัวบ่งชี้ 2) การพัฒนาความคล่องทางดิจิทัล มี 13 ตัวบ่งชี้ 3) การสร้างนวัตกรรมการเรียนรู้การใช้เทคโนโลยีดิจิทัล มี 9 ตัวบ่งชี้ 4) การรู้ทันเทคโนโลยีดิจิทัล มี 10 ตัวบ่งชี้ 5) การคิดสร้างสรรค์ในการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลในการจัดการเรียนรู้ มี 7 ตัวบ่งชี้ และ 6) คุณธรรม จริยธรรม จรรยาบรรณการใช้เทคโนโลยีดิจิทัล มี 15 ตัวบ่งชี้

                 2. รูปแบบการพัฒนาภาวะผู้นำครูยุคดิจิทัลในการจัดการเรียนรู้ของโรงเรียนประถมศึกษา ในเขตพื้นที่รับผิดชอบสำนักงานศึกษาธิการภาค 11 ประกอบด้วย 1) หลักการ 2) วัตถุประสงค์ 3) เนื้อหา 4) กระบวนการ 5) สื่อการเรียนรู้ และ 6) การวัดและประเมินผล

                 3. ตรวจสอบประสิทธิผลของรูปแบบการพัฒนาภาวะผู้นำครูยุคดิจิทัลในการจัดการเรียนรู้ของโรงเรียนประถมศึกษา ในเขตพื้นที่รับผิดชอบสำนักงานศึกษาธิการภาค 11 พบว่า รูปแบบการพัฒนาภาวะผู้นำครูยุคดิจิทัลในการจัดการเรียนรู้ของโรงเรียนประถมศึกษา ในเขตพื้นที่รับผิดชอบสำนักงานศึกษาธิการภาค 11 มีความเหมาะสมโดยรวมอยู่ในระดับ มากที่สุด (x= 4.80) และครูที่เข้ารับการพัฒนามีภาวะผู้นำครูยุคดิจิทัลในการจัดการเรียนรู้เพิ่มขึ้นหลังการพัฒนา คิดเป็นร้อยละ 45.80

Abstract

The purposes of this research were to 1) investigate the components encompassing teachers’ digital-era leadership in learning management within primary schools under the Regional Education Office No. 11 (REO No. 11), 2) construct and develop a model for fostering digital-era leadership among teachers in learning management within primary schools under REO No. 11, and 3) assess the effectiveness of teachers’ digital-era leadership in learning management within primary schools under the REO No. 11. The research and development (R&D) process consisted of three phases. In phase 1, an investigation was conducted to develop a model for developing teachers’ digital-era leadership in learning management. This involved a review of relevant documents and research studies, conducting in-depth interviews with experts, and administering a survey. The sample included 386 primary school teachers working under REO No. 11 in the 2022 academic year. In phase 2, the model for developing teachers’ digital-era leadership in learning management was constructed and validated by experts. Phase 3 involved the implementation of the developed model, wherein a group of 30 teachers was selected from seven different schools. The research tools for data collection included unstructured interview forms, a set of questionnaires with rating scales, and teacher leadership assessment forms. Statistics used for data analysis were frequency, percentage, mean, and standard deviation.

             The findings were as follows:

                 1. The teachers’ digital-era leadership in learning management within primary schools under REO No. 11 consisted of six components and a total of 65 indicators: 1) Integration of digital technology into learning management, involving 11 indicators, 2) Development of digital proficiency, comprising 13 indicators, 3) construction of learning innovation through the use of digital technology, comprising nine indicators, 4) Attainment of digital technology literacy, consisting of seven indicators, 5) Demonstration of creativity in using digital technology for learning administration, encompassing 15 indicators, and 6) Adherence to morality, ethics, and code of conduct in using digital technology, involving 15 indicators.

                 2. A model for developing teachers’ digital-era leadership in learning management within primary schools under REO No. 11 comprised six components, including 1) principles, 2) objectives, 3) contents, 4) processes, 5) learning materials, and 6) measurement and evaluation.

                 3. The overall efficacy of a model for developing teachers’ digital-era leadership in learning management within primary schools under REO No. 11 achieved the highest level of appropriateness (x  = 4.80). The teachers improved their teacher leadership in learning management after the model implementation, representing 45.80 percent.

คำสำคัญ
รูปแบบการพัฒนา ภาวะผู้นำครูยุคดิจิทัล การจัดการเรียนรู้ ยุคดิจิทัล
Keywords
Model Development, Teachers'Digital-Era Leadership, Learning Management, Digital Era
ไฟล์วิทยานิพนธ์
ลำดับที่ ดาวน์โหลดไฟล์ ขนาดไฟล์
1 fulltext 13,235.86 KB
วันที่นำเข้าข้อมูล
28 ตุลาคม 2566 - 08:51:04
View 733 ครั้ง


^