สืบค้นเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) จากฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ (Thesis Database) ของบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาลักษณะของโมเดลสมการโครงสร้างปัจจัยเชิงสาเหตุของประสิทธิผลการบริหารโครงการห้องเรียนพิเศษวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ เทคโนโลยี และสิ่งแวดล้อม ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 2) ตรวจสอบโมเดลสมการโครงสร้างปัจจัยเชิงสาเหตุของประสิทธิผลการบริหารโครงการฯ ที่พัฒนาขึ้นกับข้อมูลเชิงประจักษ์ และ 3) หาแนวทางพัฒนาปัจจัยเชิงสาเหตุที่ส่งผลทางตรง ส่งผลทางอ้อม และส่งผลรวมต่อประสิทธิผลการบริหารโครงการฯ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ คือ ผู้ที่เกี่ยวข้องกับโครงการฯ โรงเรียนละ 11 คน ได้แก่ ผู้อำนวยการโรงเรียน 1 คน และรองผู้อำนวยการโรงเรียน 1 คน ครูผู้สอนในสาระเนื้อหาวิชาวิทยาศาสตร์ 3 คน ครูผู้สอนในสาระเนื้อหาวิชาคณิตศาสตร์ 3 คน และครูผู้สอนในสาระเนื้อหาวิชาคอมพิวเตอร์ 3 คน รวมได้กลุ่มตัวอย่าง 561 คน ปีการศึกษา 2564 ใช้วิธีการสุ่มแบบแบ่งชั้นภูมิตามสัดส่วน โดยใช้ขนาดของโรงเรียนเป็นชั้นภูมิ การดำเนินการวิจัย มี 3 ระยะ ได้แก่ 1) การสร้างโมเดลสมมติฐาน 2) การตรวจสอบความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ และ 3) การหาแนวทางพัฒนาปัจจัยเชิงสาเหตุ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถาม และแบบสัมภาษณ์ สถิติที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน และการวิเคราะห์โมเดลสมการโครงสร้าง
ผลการวิจัยพบว่า
1. โมเดลสมการโครงสร้างฯ ที่สร้างขึ้น ประกอบด้วยตัวแปรเชิงสาเหตุ ได้แก่ การบริหารจัดการสถานศึกษา การมีส่วนร่วมของผู้ปกครองและนักเรียน สภาพแวดล้อมทางกายภาพ การจัดการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์และประสิทธิผลการบริหารโครงการฯ
2. โมเดลสมการโครงสร้างปัจจัยเชิงสาเหตุของประสิทธิผลการบริหารโครงการฯ ที่สร้างขึ้นมีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์
3. การวิจัยครั้งนี้ได้นำเสนอแนวทางพัฒนาปัจจัยเชิงสาเหตุที่ส่งผลทางตรง ทางอ้อม และส่งผลโดยรวมต่อประสิทธิผลการบริหารโครงการฯ คือ ปัจจัยการบริหารจัดการสถานศึกษาสู่ความเป็นเลิศทางด้านวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ เทคโนโลยี และสิ่งแวดล้อมโดยผู้บริหารสถานศึกษาเป็นผู้นำที่มีอิทธิพลต่อบุคลากรภายในสถานศึกษา รวมถึงเกี่ยวข้องกับการพัฒนาบุคลากรให้มีความสามารถเฉพาะทางของครู การมีส่วนร่วมของผู้ปกครองและนักเรียน โดยมุ่งเปิดโอกาสให้นักเรียนได้ศึกษาเฉพาะเรื่องตามความถนัด สนใจอย่างมีอิสระและยึดหลักความแตกต่างระหว่างบุคคล สภาพแวดล้อมทางกายภาพ มีการจัดสภาพแวดล้อมในห้องเรียนให้มีความสะดวกต่อการทำความสะอาด และสามารถเคลื่อนย้ายที่นั่งในห้องเรียนตามรูปแบบต่าง ๆ ได้ง่าย และการจัดการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ มีการเสริมทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์แก่นักเรียนอย่างต่อเนื่อง และออกแบบกิจกรรมการเรียนรู้ตามโครงการที่แปลกใหม่แตกต่างจากห้องเรียนปกติ
The purposes of this research were 1) to examine the characteristics of the structural equation model (SEM) of causal factors of the project management effectiveness of the enrichment program of science, mathematics, technology, and environment (SMTE) in the Northeastern region, 2) to examine the developed SEM of causal factors of the project management effectiveness of SMTE in the Northeastern region with the empirical data, and 3) to obtain guidelines for developing the causal factors that directly, indirectly, and overall influenced the project management effectiveness of SMTE. The samples consisted of 11 participants involved in the projects from each school, including a school director, a deputy director, three science teachers, three mathematics teachers, and three teachers in computer subjects, yielding a total of 561 participants in the academic year 2021. The proportional stratified random sampling method has been adopted, using school size strata. The research methodology was conducted in three phases: 1) constructing the hypothesis model, 2) examining the congruence with empirical data, and 3) establishing guidelines for developing the causal factors. The research tools included a set of questionnaires and an interview form. Statistics used for data analysis were percentage, mean, standard deviation, Pearson’s correlation coefficient, and structural equation modeling analysis
The results of the research were as follows:
1. The developed structural equation model consisted of causal variables, namely school administrative management, participation of parents and students, physical environments, teaching and learning management in science and mathematics, and p-oject management effectiveness.
2. The developed structural equation model of the causal factors influencing the project management effectiveness was consistent with the empirical data.
3. The guidelines for developing the causal factors that directly, indirectly, and overall affected the project management effectiveness were as follows: In terms of factors of educational institution administrative management aspects contributing to excellence in science, mathematics, technology, and environment, the administrators, as school leaders, have a certain amount power and influence over the personnel within the schools, and personnel development on teaching specializations Parent and student involvement should also be included by allowing students to study specific subjects based on their aptitudes, interests, and individual differences. In terms of the physical environment, the classroom environment should be set up for easy cleaning, and with a variety of seating arrangements. In terms of teaching and learning management in science and mathematics, schools should continuously work to improve students’ science process skills and create learning activities based on initiative projects that differ from those found in traditional classroom settings.
ลำดับที่ | ดาวน์โหลดไฟล์ | ขนาดไฟล์ |
1 | fulltext | 10,994.57 KB |