ฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ (E-Thesis) SNRU

สืบค้นเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) จากฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ (Thesis Database) ของบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร

ชื่อวิทยานิพนธ์
รูปแบบการพัฒนาภาวะผู้นำครูด้านการจัดการเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง โรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษาในพื้นที่รับผิดชอบของสำนักงานศึกษาธิการภาค 11
A Model for Developing Teacher Leadership in Learning Management Based on Principles of Sufficiency Economy Philosophy in Educational Opportunity Extension Schools Under the Regional Education Office No. 11
ผู้จัดทำ
พนิดา ยาทองไชย รหัส 63632250110 ระดับ ปริญญาเอก
หลักสูตร
ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (ปร.ด.) สาขาวิชา การบริหารการศึกษา
ปี พ.ศ.
2566
ที่ปรึกษา
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.วัฒนา สุวรรณไตรย์ ประธานที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์ รองศาสตราจารย์ ดร.ไชยา ภาวะบุตร กรรมการที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์
บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อ 1) ศึกษาองค์ประกอบของภาวะผู้นำครูด้านการจัดการเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง โรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา 2) ศึกษาความต้องการจำเป็นในการพัฒนาภาวะผู้นำครูด้านการจัดการเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง 3) สร้างและพัฒนารูปแบบการพัฒนาภาวะผู้นำครูในการจัดการเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง และ 4) หาประสิทธิผลของรูปแบบการพัฒนาภาวะผู้นำครูในการจัดการเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ใช้ระเบียบวิธีการวิจัยและพัฒนา (Research and Development: R&D) โดยแบ่งเป็น 4 ระยะ คือ ระยะที่ 1 ศึกษาองค์ประกอบของภาวะผู้นำครูด้านการจัดการเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ระยะที่ 2 ศึกษาความต้องการจำเป็นในการพัฒนาภาวะผู้นำครูด้านการจัดการเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ระยะที่ 3 จัดทำรูปแบบการพัฒนาภาวะผู้นำครูด้านการจัดการเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง และระยะที่ 4 ทดลองใช้รูปแบบการพัฒนาภาวะผู้นำครูด้านการจัดการเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูลการวิจัย ประกอบด้วย แบบสัมภาษณ์แบบไม่มีโครงสร้าง แบบสอบถามชนิดมาตราส่วนประมาณค่า (Rating Scale) และแบบประเมินภาวะผู้นำครูด้านการจัดการเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่า PNI

             ผลการวิจัย พบว่า

                 1. องค์ประกอบภาวะผู้นำครูด้านการจัดการเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง โรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา ประกอบด้วย 1) การพัฒนาหน่วยการเรียนรู้ในหลักสูตรสถานศึกษา 2) การบูรณาการหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในการจัดการเรียนรู้ 3) การเป็นแบบอย่างที่ดีในการดำรงชีวิต และ 4) การพัฒนาตนเองและเพื่อนร่วมงาน

                 2. ความต้องการจำเป็นในการพัฒนาภาวะผู้นำครูด้านการจัดการเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง โรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา เรียงลำดับดังนี้ 1) การพัฒนาตนเองและเพื่อนร่วมงาน 2) การเป็นแบบอย่างที่ดีในการดำรงชีวิต 3) การบูรณาการหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในการจัดการเรียนรู้ และ 4) การพัฒนาหน่วยการเรียนรู้ในหลักสูตรสถานศึกษา                                                         

                 3. รูปแบบการพัฒนาภาวะผู้นำครูด้านการจัดการเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา ในพื้นที่รับผิดชอบของสำนักงานศึกษาธิการภาค 11 ประกอบด้วย 1) หลักการ 2) วัตถุประสงค์ 3) เนื้อหา 4) กระบวนการ 5) สื่อและแหล่งเรียนรู้ และ 6) การวัดและประเมินผล

                 4. ประสิทธิผลของรูปแบบการพัฒนาภาวะผู้นำครูด้านการจัดการเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง พบว่า 1) ผลการประเมินโดยผู้เชี่ยวชาญโดยรวมอยู่ในระดับมากและมากที่สุดทุกด้าน และ 2) ผลการใช้รูปแบบการพัฒนาภาวะผู้นำครูในการจัดการเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง พบว่า ครูโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษามีความรู้ความเข้าใจหลังเข้าร่วมทดลอง คิดเป็นร้อยละ 88.41 และผลการประเมินตนเองของผู้เข้ารับการพัฒนา พบว่า มีค่าร้อยละความก้าวหน้า 17.60 ภาวะผู้นำครูด้านการจัดการเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง เพิ่มขึ้น 0.88

Abstract

The purposes of this research were to 1) examine the components of teacher leadership in learning management based on the principles of sufficiency economy philosophy (PSEP) in Educational Opportunity Extension Schools, 2) investigate the need for developing teacher leadership in learning management based on the PSEP, 3) create and construct a model for developing teacher leadership in learning management based on the PSEP, and 4) determine the effectiveness of the developed model. The research and development (R&D) method was employed and divided into four stages: Phase 1 examined the components of teacher leadership in learning management based on the PSEP; Phase 2 focused on the need for fostering teacher leadership development in learning management based on the PSEP; Phase 3 involved the development of teacher leadership model in learning management based on the PSEP; and Phase 4 involved the implementation of the developed model. The research tools included unstructured interview forms, rating scale questionnaires, and an assessment form on teacher leadership in learning management based on the PSEP. Statistics for data analysis were performed using frequency, percentage, mean, and Priority Need Index (PNI).

             The findings were as follows:

                 1. The teacher leadership in learning management based on the PSEP in Educational Opportunity Extension Schools encompassed the following aspects: 1) Developing learning units that aligned with the school curriculums; 2) Integrating the PESP into learning management practices, 3) Being a positive lifestyle role model, and 4) Engaging in self-improvement and co-worker development.

                 2. The need to cultivate teacher leadership in learning management based on the PSEP in Educational Opportunity Extension Schools was ranked respectively: 1) Engaging for self-improvement and co-worker development,

2) Being a positive lifestyle role model, 3) Integrating the PESP into learning management practices, and 4) Developing learning units that aligned with the school curriculums.

                 3. A model for developing teacher leadership in learning management based on the PSEP in Educational Opportunity Extension Schools under the Regional Education Office No. 11 comprised 1) principles, 2) objectives, 3) contents, 4) processes, 5) media and learning resources, and 6) measurement and evaluation.

                 4. The effectiveness of the developed model revealed that: 1) The evaluation result by experts was overall at a high level and reached the highest level of all aspects, and 2) The effects after the model implementation revealed that teachers had acquired knowledge and understanding, accounting for 88.41 percent, while the mean score of self-assessment mean scores reflected a progress rate of 17.60 percent. The teacher leadership in learning management based on the PSEP showed an increase of 0.88.

คำสำคัญ
รูปแบบการพัฒนา ภาวะผู้นำครูด้านการจัดการเรียนรู้ หลักปรัชญาของ เศรษฐกิจพอเพียง โรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา
Keywords
Development Model, Teacher Leadership in Learning Management, Philosophy of Sufficiency Economy Philosophy, Educational Opportunity Extension Schools
ไฟล์วิทยานิพนธ์
ลำดับที่ ดาวน์โหลดไฟล์ ขนาดไฟล์
1 fulltext 13,282.03 KB
วันที่นำเข้าข้อมูล
28 ตุลาคม 2566 - 09:18:24
View 283 ครั้ง


^