ฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ (E-Thesis) SNRU

สืบค้นเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) จากฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ (Thesis Database) ของบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร

ชื่อวิทยานิพนธ์
โมเดลความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของประสิทธิผลการบริหารโรงเรียนมัธยมศึกษาในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
The Causal Relationship Model of Administrative Effectiveness of Secondary Schools in the Northeastern Region
ผู้จัดทำ
ศยานนท์ ศิริขันธ์ รหัส 63632250115 ระดับ ป.เอก ภาคพิเศษ
หลักสูตร
ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (ปร.ด.) สาขาวิชา การบริหารการศึกษา
ปี พ.ศ.
2566
ที่ปรึกษา
รองศาสตราจารย์ ดร.ศิกานต์ เพียรธัญญกรณ์ , รองศาสตราจารย์ ดร.จิณณวัตร ปะโคทัง
บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อ 1) ศึกษาตัวแปรในโมเดลความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของประสิทธิผลการบริหารโรงเรียนมัธยมศึกษาในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 2) พัฒนาและตรวจสอบความสอดคล้องกลมกลืนของโมเดลความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของประสิทธิผลการบริหารโรงเรียนมัธยมศึกษาในภาคตะวันออกเฉียงเหนือกับข้อมูลเชิงประจักษ์ 3) หาแนวทางพัฒนาตัวแปรที่มีอิทธิพลทางตรงต่อประสิทธิผลการบริหารโรงเรียนมัธยมศึกษาในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ การดำเนินการวิจัย แบ่งออกเป็น 3 ระยะ ประกอบด้วย ระยะที่ 1 สร้างโมเดลสมมติฐาน โดยมีขั้นตอน ดังนี้ ขั้นที่ 1 การศึกษาและวิเคราะห์เอกสารเป็นการศึกษาหลักการ ทฤษฎี แนวคิดเกี่ยวกับปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิผลการบริหารโรงเรียนมัธยมศึกษา และขั้นที่ 2 การศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิผลการบริหารโรงเรียนมัธยมศึกษาจากผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 9 คน ระยะที่ 2 การตรวจสอบความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ กลุ่มตัวอย่างคือโรงเรียน จำนวน 640 โรงเรียน ผู้ให้ข้อมูลประกอบด้วย ผู้บริหารสถานศึกษา และครู ในโรงเรียนมัธยมศึกษาภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ประจำปีการศึกษา 2565 จำนวน 1,280 คน ระยะที่ 3 การหาแนวทางพัฒนาปัจจัยที่ส่งผลทางตรงต่อประสิทธิผลการบริหารโรงเรียนมัธยมศึกษาในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ โดยการวิเคราะห์โมเดลสมการโครงสร้าง (SEM) และการวิเคราะห์ตัวแบบเชิงเส้น โดยใช้สถิติ ไค-สเควร์ (Chi-Square) วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรม SPSS และโปรแกรมสำเร็จรูป LISREL ซึ่งเป็นการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณโดยสถิติขั้นสูง และสัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 9 คน พร้อมทั้งประเมินแนวทางพัฒนาปัจจัยที่ส่งผลทางตรงต่อประสิทธิผลการบริหารโรงเรียมัธยมศึกษาในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ โดยผู้เชี่ยวชาญจำนวน 5 คน

ผลการวิจัยพบว่า

1. ตัวแปรที่นำมาศึกษาในโมเดลความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของประสิทธิผลการบริหารโรงเรียนมัธยมศึกษาในภาคตะวันออกเฉียงเหนือที่สร้างขึ้น ประกอบด้วย ตัวแปรสาเหตุมี 4 ตัวแปร ทุกตัวมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก ได้แก่ 1) ภาวะผู้นำของผู้บริหารในยุคดิสรัปชั่น (x ̅ = 4.35) 2) สภาพแวดล้อมและวัฒนธรรมสถานศึกษา (x ̅ = 4.36) 3) สมรรถนะของครูและบุคลากรทางการศึกษาในการจัดกระบวนการเรียนรู้ (x ̅ = 4.36)  และ 4) สถานศึกษาแห่งนวัตกรรมโดยใช้เทคโนโลยีและสารสนเทศ (x ̅ = 4.35) ส่วนตัวแปรประสิทธิผลการบริหารโรงเรียนมัธยมศึกษา มีค่าอยู่ในระดับมาก (x ̅ = 4.32) เช่นกัน

2. โมเดลความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของประสิทธิผลการบริหารโรงเรียนมัธยมศึกษาในภาคตะวันออกเฉียงเหนือที่สร้างขึ้นมีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ โดยค่าไคว์-สแควร์ (Chi-Square) มีค่าเท่ากับ 102.02 ที่องศาอิสระ (df) เท่ากับ 107 ค่าความน่าจะเป็น (P-Value) เท่ากับ .61807 ค่าไค-สแควร์สัมพัทธ์ (χ2/df) เท่ากับ .95 นั่นคือ โมเดลมีความกลมกลืนดี แสดงว่ายอมรับสมมติฐานหลักที่ว่าโมเดลที่พัฒนาขึ้น สอดคล้องกลมกลืนกับข้อมูลเชิงประจักษ์ ซึ่งสอดคล้องกับผลการวิเคราะห์ค่าดัชนีความกลมกลืน (GFI) มีค่าเท่ากับ .99 ค่าดัชนีความกลมกลืนที่ปรับแก้แล้ว (AGFI) มีค่าเท่ากับ .98 ซึ่งมีค่าเข้าใกล้ 1 และค่าดัชนีรากกำลังสองเฉลี่ยของส่วนที่เหลือ (RMR) มีค่าเท่ากับ .00 ซึ่งเข้าใกล้ศูนย์ และนำโมเดลไปให้ผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 9 คน ยืนยัน พบว่า ผู้เชี่ยวชาญทุกคนยืนยันโมเดลตามผลการวิเคราะห์

3. การวิจัยครั้งนี้ได้นำเสนอแนวทางพัฒนาตัวแปรที่มีอิทธิพลต่อประสิทธิผลการบริหารโรงเรียนมัธยมศึกษาในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ โดยปัจจัยที่ส่งผลทางตรง 4 ตัว คือ 1) ภาวะผู้นำของผู้บริหารในยุคดิสรัปชั่นโดยผู้บริหารควรมีความรู้ ความสามารถ กล้าคิดนอกกรอบอย่างสร้างสรรค์เป็นแบบอย่างด้านคุณธรรมจริยธรรมและเทคโนโลยีดิจิทัล 2) สภาพแวดล้อมและวัฒนธรรมสถานศึกษาโดยผู้บริหารควรมุ่งเน้นหลักนิติธรรมและทำงานเป็นทีมเพื่อให้ผู้เรียนมีคุณภาพ 3) สมรรถนะของครูและบุคลากรทางการศึกษาในการจัดกระบวนการเรียนรู้โดยผู้บริหารควรส่งเสริมให้ครูและบุคลากรทางการศึกษาใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้ที่หลากหลายในเชิงบูรณาการที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ และ 4) สถานศึกษาแห่งนวัตกรรมโดยใช้เทคโนโลยีและสารสนเทศโดยผู้บริหารควรให้ความสำคัญกับเทคโนโลยีและสารสนเทศ ผลักดันให้ครูใช้เทคโนโลยีจัดการเรียนรู้
 

Abstract

The purposes of this research were: 1) to examine variables in the causal relationship model of the administrative effectiveness of secondary schools in the northeastern region, 2) to develop and verify the concordance of the causal relationship model of the administrative effectiveness of secondary schools in the northeastern region with the empirical data, and 3) to establish guidelines for developing variables that directly affect the administrative effectiveness of secondary schools in the northeastern region. The three-phase research was conducted: Phase I was related to constructing a hypothesis model with the following steps: Step 1-examining and analyzing documents on principles, theories, and concepts on factors affecting the administrative effectiveness of secondary schools, and Step 2-examining factors affecting the administrative effectiveness of secondary schools through nine expert interviews; Phase II was related to verifying the concordance with the empirical data. The sample consisted of 1,280 informants, including school administrators and teachers from 640 secondary schools in the academic year 2021; Phase III was related to establishing the guidelines for developing factors that directly affected the administrative effectiveness of secondary schools in the northeastern region. The model analysis of structural equation modeling (SEM) and a linear model were analyzed using Chi-Square statistics. The data was also analyzed through SPSS and LISREL programs for advanced statistical quantitative data analysis and interviews with nine experts, along with evaluating the guidelines for developing factors that directly affected the administrative effectiveness of secondary schools in the northeastern region with five experts.

The findings were as follows:

1. The four causal variables in the developed causal relationship model ofthe administrative effectiveness of secondary schools in the northeastern region all had high average levels, namely 1) leadership of administrators in the disruption era (x ̅ = 4.35), 2) school environment and culture (x ̅ = 4.36), 3) competencies of teachers and educational personnel in organizing the learning process (x ̅ = 4.36), and 4) innovative educational institutions using technology and information (x ̅ = 4.35). The variable of the administrative effectiveness of secondary schools also achieved a high average level (x ̅ = 4.32).

2. The developed causal relationship model of the administrative effectiveness of secondary schools in the northeastern region was consistent with the empirical data with the chi-square of 102.02, the degrees of freedom (df) of 107, the probability (p-value) of .61807, and the relative chi-square (χ2/df) of .95. The established model link the GFI of .99, the adjusted AGFI of .98, which approaches 1, and the root-mean-square index of the residual value (RMR) of .00, which approaches zero, showed that the model had a good harmony, proving that the main hypothesis was accepted and that it was consistent with the empirical data and the analysis results. The results of the analysis demonstrated that all nine experts agreed with the developed model.

3. The guidelines for developing variables influencing the administrative effectiveness of secondary schools in the northeastern region consisted of the four directly influenced factors as follows: 1) leadership of administrators in the disruption era, administrators should have knowledge and abilities, think outside the box and creatively, and be role models of moral and ethical conduct, and digital technologies, 2) school environment and culture, administrators should focus on the rule of law and teamwork to ensure learners’ quality, 3) competencies of teachers and educational personnel in organizing the learning process, administrators should encourage teachers and educational personnel to use a variety of learning management models in an integrated, student-centered manner, and 4) innovative educational institutions using technology and information, administrators should pay attention to technology and information, and encourage teachers to use technology for learning management.
 

คำสำคัญ
โมเดลความสัมพันธ์เชิงสาเหตุ ประสิทธิผลการบริหารโรงเรียนมัธยมศึกษา
Keywords
The Causal Relationship Model, Administrative Effectiveness of Secondary Schools.
ไฟล์วิทยานิพนธ์
ลำดับที่ ดาวน์โหลดไฟล์ ขนาดไฟล์
1 fulltext 14,301.86 KB
วันที่นำเข้าข้อมูล
8 พฤษภาคม 2566 - 11:44:54
View 327 ครั้ง


^