ฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ (E-Thesis) SNRU

สืบค้นเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) จากฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ (Thesis Database) ของบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร

ชื่อวิทยานิพนธ์
ภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมของผู้บริหารที่ส่งผลต่อประสิทธิผลการบริหารโรงเรียนคุณภาพประจำตำบล สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาในจังหวัดสกลนคร
Innovative Leadership of Administrators Affecting the Effectiveness of the Subdistrict School Administration Quality under Primary Educational Service Area Office in Sakon Nakhon Province
ผู้จัดทำ
อภิชาติ มุงธิสาร รหัส 64421229102 ระดับ ป.โท ภาคพิเศษ
หลักสูตร
ครุศาสตรมหาบัณฑิต (ค.ม.) สาขาวิชา การบริหารการศึกษา
ปี พ.ศ.
2566
ที่ปรึกษา
ดร.เพ็ญผกา ปัญจนะ , ดร.บดินทร์ นารถโคษา
บทคัดย่อ

การศึกษาวิจัยในครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อศึกษา เปรียบเทียบ หาความสัมพันธ์ หาอำนาจพยากรณ์ของภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมของผู้บริหารที่ส่งผลต่อประสิทธิผลการบริหารโรงเรียนคุณภาพประจำตำบลในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาในจังหวัดสกลนคร และหาแนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมของผู้บริหารโรงเรียน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ผู้บริหารและครูผู้สอน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาจังหวัดสกลนคร ปีการศึกษา 2565 จำนวน 328 คน จำแนกเป็นผู้บริหารจำนวน 112 คน และครูผู้สอนจำนวน 216 คน กำหนดขนาดของกลุ่มตัวอย่างตามตารางของ Krejcie and Morgan และใช้การวิธีสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้น (Stratified Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ประกอบด้วย แบบสอบถามภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมของผู้บริหาร มีค่าความเชื่อมั่น เท่ากับ .973 และค่าอำนาจจำแนกอยู่ระหว่าง .268 - .894 แบบสอบถามประสิทธิผล การบริหารโรงเรียนคุณภาพประจำตำบล มีค่าความเชื่อมั่น เท่ากับ .981 และค่าอำนาจจำแนกอยู่ระหว่าง .486 - .923 และแบบสัมภาษณ์แนวทางพัฒนาภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมของผู้บริหาร ที่ส่งผลต่อประสิทธิผลการบริหารโรงเรียนคุณภาพประจำตำบล สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบ t-test ชนิด Independent Samples การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One-Way ANOVA) การวิเคราะห์ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์อย่างง่ายของเพียร์สัน (Pearson's Product-Moment Correlation Coefficient) และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณแต่ละขั้นตอน (Stepwise Multiple Regression Analysis)

ผลการวิจัย พบว่า

1. ภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมของผู้บริหารและประสิทธิผลการบริหารโรงเรียนคุณภาพประจำตำบลโดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด

2. ภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมของผู้บริหาร จำแนกตามสถานภาพการดำรงตำแหน่ง ขนาดโรงเรียน โดยรวมไม่แตกต่างกัน ส่วนประสบการณ์ในการปฏิบัติงาน แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ในขณะที่ประสิทธิผลการบริหารโรงเรียนคุณภาพประจำตำบลจำแนกตามสถานภาพการดำรงตำแหน่ง ขนาดโรงเรียน โดยรวมไม่แตกต่างกัน ส่วนประสบการณ์ในการปฏิบัติงาน แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01

3. ภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมของผู้บริหาร มีความสัมพันธ์ทางบวกกับประสิทธิผลการบริหารโรงเรียนคุณภาพประจำตำบล โดยรวมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 โดยภาพรวมมีความสัมพันธ์อยู่ในระดับสูงมาก (rxy =0.806)

4. ภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมของผู้บริหาร มีจำนวน 3 ด้าน ที่สามารถพยากรณ์ประสิทธิผลการบริหารโรงเรียนคุณภาพประจำตำบล ได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ได้แก่ ด้านการเป็นแบบอย่างที่ดีด้านนวัตกรรม (X5) ด้านการสร้างบรรยากาศที่ส่งเสริมนวัตกรรม (X4) และด้านการมีวิสัยทัศน์เชิงนวัตกรรมสู่การเปลี่ยนแปลง (X1) และมีซึ่งตัวแปรภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมของผู้บริหารทั้ง 3 ด้านนี้สามารถร่วมกันพยากรณ์ประสิทธิผลการบริหารโรงเรียนคุณภาพประจำตำบลได้ร้อยละ 66.10 มีความคลาดเคลื่อนมาตรฐานของการพยากรณ์ เท่ากับ ± .16343

5. แนวทางในการพัฒนาภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรม ด้านการเป็นแบบอย่างที่ดีด้านนวัตกรรม ผู้บริหารต้องเป็นแบบอย่างที่ดีด้านนวัตกรรมสามารถเป็นที่ปรึกษาและสนับสนุน ให้บุคลากรได้พัฒนาความรู้ความสามารถเชิงนวัตกรรม ด้านการสร้างบรรยากาศที่ส่งเสริมนวัตกรรม ผู้บริหารมีการสร้างชุมชนแห่งการเรียนรู้ สร้างเทคโนโลยีสนับสนุนการเรียนรู้ ส่งเสริมการทำงานแบบมีส่วนร่วม โรงเรียนต้องมีสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการทำงาน มีการนำนวัตกรรมมาใช้ ด้านการมีวิสัยทัศน์เชิงนวัตกรรมสู่การเปลี่ยนแปลง ผู้บริหารต้องพัฒนาทักษะการใช้เทคโนโลยี ใช้ความรู้ ความสามารถ ในการกระตุ้นโน้มน้าว จูงใจบุคลากร มีการกำหนดวิสัยทัศน์
 

Abstract

The research aimed to examine, compare, identify the relationship, determine the predictive power of administrators' innovative leadership affecting the effectiveness of the subdistrict school administration quality under Primary Education Service Area Office in Sakon Nakhon Province, and establish guidelines for developing school administrators’ innovative leadership. The samples were 112 administrators and 216 teachers, yielding a total of 328 participants working under Primary Educational Service Area Office in Sakon Nakhon Province, in the academic year 2022. The sample size was determined according to the table of Krejcie and Morgan and stratified random sampling. The tool for data collection was a set of questionnaires on administrators’ innovative leadership with the reliability of .973 and the discriminative power ranging from .268 to .894, and on the effectiveness of subdistrict school administration quality with the reliability of .981 and the discriminative power ranging from .486 to .923, and an interview form for developing administrators’ innovative leadership affecting the effectiveness of the subdistrict school administration quality. Statistics for data analysis were frequency, percentage, mean, standard deviation, Independent Samples t-test, One-Way ANOVA, Pearson's product-moment correlation coefficient, and Stepwise multiple regression analysis.

The findings revealed that:

1. The administrators' innovative leadership and the effectiveness of the subdistrict school administration quality were overall at the highest level.

2. The overall administrators' innovative leadership showed no difference in terms of position or school sizes, whereas there was a difference in work experience at the .01 level of significance. There was no variation in the overall effectiveness of the subdistrict school administration quality according to position and school sizes, although there was difference in work experience at the .01 level of significance.

3. The overall administrators' innovative leadership was positively correlated with the effectiveness of the subdistrict school administration quality and showed differences at the .01 level of significance with a very high level of correlation (rxy = 0.806).

4. The administrators’ innovative leadership consisted of three aspects: exemplary innovation (X5), innovation-conducive atmosphere (X4), and visions to support innovative changes (X1). The aforementioned variables were able to jointly predict the effectiveness of the subdistrict school administration quality at the .01 level of significance with a 66.10 percent and a standard error of estimate of ± .16343.

5. The guidelines for developing innovative leadership consisted of exemplary innovation, administrators must be good role models for innovation by guiding and supporting personnel to improve their knowledge and abilities in innovation. In terms of innovation-conducive atmosphere, administrators should create a professional learning community by providing technologies to support learning and promoting work participation. Schools must have a conducive working environment and implement innovations. In terms of visions to support innovative changes, administrators must improve their technological skills, apply their knowledge and abilities to inspire personnel, and create visions.
 

คำสำคัญ
ภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรม, ประสิทธิผลการบริหารโรงเรียนคุณภาพประจำตำบล
Keywords
Innovative Leadership, Effectiveness of the Subdistrict School Administration Quality
ไฟล์วิทยานิพนธ์
ลำดับที่ ดาวน์โหลดไฟล์ ขนาดไฟล์
1 fulltext 5,629.77 KB
วันที่นำเข้าข้อมูล
29 พฤศจิกายน 2566 - 13:50:58
View 843 ครั้ง


^