สืบค้นเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) จากฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ (Thesis Database) ของบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร
การศึกษาวิจัยในครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อศึกษา เปรียบเทียบ และหาแนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำเชิงจริยธรรมของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยจังหวัดสกลนคร ตามความคิดเห็นของผู้บริหารสถานศึกษา ข้าราชการครู ครูอาสาสมัครการศึกษานอกโรงเรียน ครู กศน.ตำบล และครูศูนย์การเรียนชุมชน กลุ่มตัวอย่างได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษา ข้าราชการครู ครูอาสาสมัครการศึกษานอกโรงเรียน ครู กศน.ตำบล และครูศูนย์การเรียนชุมชน สังกัดสำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยจังหวัดสกลนคร ปีการศึกษา 2565 จำนวน 181 คน โดยใช้การสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้น (Stratified random sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถามเกี่ยวกับสภาพปัจจุบันและสภาพ ที่พึงประสงค์ภาวะผู้นำเชิงจริยธรรมของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยจังหวัดสกลนคร โดยสภาพปัจจุบันของแบบสอบถามภาวะผู้นำเชิงจริยธรรมของผู้บริหารสถานศึกษา มีค่าอำนาจจำแนกอยู่ระหว่าง .558 - .845 และมีค่าความเชื่อมั่น เท่ากับ .985 แบบสอบถามสภาพที่พึงประสงค์ มีค่าอำนาจจำแนกอยู่ระหว่าง .386 - .933 และค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ .967 ตามลำดับสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลคือ ค่าร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย (Mean) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation) ทดสอบสมมติฐานโดยใช้การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว ใช้สถิติทดสอบ One-Way ANOVA และการคำนวณระดับความต้องการจำเป็นใช้วิธี Modified Priority Needs Index (PNI_modified) โดยใช้สูตร PNI_modified = (I-D)/ D
ผลการวิจัย พบว่า
1. สภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์ภาวะผู้นำเชิงจริยธรรมของผู้บริหารสถานศึกษา โดยรวมอยู่ในระดับมากและมากที่สุดตามลำดับ
2. สภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์ภาวะผู้นำเชิงจริยธรรมของผู้บริหารสถานศึกษา จำแนกตามสถานภาพการดำรงตำแหน่ง พบว่า โดยรวมและรายด้านแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 จำแนกตามขนาดสถานศึกษา พบว่า โดยรวมและรายด้านแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และ .05 ตามลำดับ และจำแนกตามประสบการณ์การในการปฏิบัติงาน พบว่า ไม่แตกต่างกัน
3. ความต้องการจำเป็นของภาวะผู้นำเชิงจริยธรรมของผู้บริหารสถานศึกษา โดยเรียงลำดับความต้องการจำเป็นจากมากไปหาน้อย ดังนี้ ด้านความยุติธรรม ด้านความเอาใจใส่และความเห็นอกเห็นใจผู้อื่น ด้านความซื่อสัตย์ ด้านความไว้วางใจ ด้านความเคารพ ในส่วนด้านที่อยู่อันดับสุดท้ายคือ ด้านความรับผิดชอบ
4. แนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำเชิงจริยธรรมของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยจังหวัดสกลนคร มี 3 ด้าน ดังนี้ 1) ด้านความยุติธรรม ผู้บริหารสถานศึกษาต้องบริหารงานโดยใช้กระบวนการที่ถูกต้องมีความเป็นธรรมในการตัดสินใจ 2) ด้านความเอาใจใส่และความเห็นอกเห็นใจผู้อื่น ผู้บริหารสถานศึกษาต้องร่วมทุกข์ร่วมสุขโดยไม่ละเลยทอดทิ้ง พึงช่วยเหลือเกื้อกูลซึ่งกันและกันอย่างสร้างสรรค์ โดยยึดมั่นในระบบคุณธรรม และ 3) ด้านความซื่อสัตย์ ผู้บริหารต้องปฏิบัติหน้าที่ด้วยความเที่ยงตรง และเที่ยงธรรมโดยไม่ก่อให้เกิดความเสียหายแก่ทางราชการ โดยไม่มีผลประโยชน์ทับซ้อน ไม่ใช้ตำแหน่งหน้าที่การงานเพื่อแสวงหาผลประโยชน์แก่ตนเองและพวกพ้อง ประพฤติปฏิบัติตนเป็นแบบอย่างที่ดีในการบริหารงานด้วยความซื่อสัตย์
The research aimed to examine, compare and establish guidelines for developing ethical leadership of school administrators under Sakon Nakhon Provincial Office of the Non-Formal and Informal Education (SNK-ONIE), as perceived by school administrators, government teachers, Non-Formal Education volunteer teachers (NIEV teachers), teachers in Sub-District Non-Formal and Informal Education Centers (SNIEC), and teachers in Community Learning Centers (CLCs) under SNK-ONIE. The sample group, obtained through stratified random sampling, consisted of 181 participants, including school administrators, government teachers, NIEV teachers, teachers in SNFE, and teachers in CLCs under SNK-ONIE in the academic year 2022. The tool for data collection was a set of questionnaires on current and desirable conditions for ethical leadership among school administrators under SNK-ONIE. The discriminative power ranged from .558 to .845 with the reliability of .985 for the current condition, and from .386 to .933 with the reliability of .967 for the desirable condition. Statistics for data analysis included percentage, mean, and standard deviation. The hypothesis was tested using One-Way ANOVA. The Modified Priority Needs Index (PNI_modified) method using the formula PNI_modified = (I-D)/D was also used for calculating needs.
The findings were as follows:
1. The current and desirable conditions of school administrators’ ethical leadership were overall at the high and highest levels, respectively.
2. The current and desirable conditions of school administrators’ ethical leadership, classified by positions showed differences at the .05 level of significance, both overall and in each aspect. The overall and individual significance values for differences in school sizes were .01 and .05 levels, respectively. In terms of work experience, there was no significant difference.
3. The needs of school administrators’ ethical leadership were arranged in descending order as follows: Justice, Caring and Empathy, Honesty, Trust, Respect, and Responsibility.
4. Guidelines for developing ethical leadership of school administratorsunder SNK-ONIE included three aspects: 1) Justice, school administrators must administer their work with fairness in decision-making by following the correct process; 2) Caring and Empathy, school administrators must share their successes and challenges with their staff members, while maintaining a productive collaboration and adhering to moral principles; 3) Honesty, school administrators must perform their duties with accuracy and fairness, avoiding any harm to the government, refraining from conflicts of interest, and from using their job positions for personal gain or practicing nepotism. In addition, they must lead by example and serve as positive role models for honesty in administration.
ลำดับที่ | ดาวน์โหลดไฟล์ | ขนาดไฟล์ |
1 | fulltext | 8,075.87 KB |