ฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ (E-Thesis) SNRU

สืบค้นเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) จากฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ (Thesis Database) ของบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร

ชื่อวิทยานิพนธ์
สมรรถนะประจำสายงานของครูที่ส่งผลต่อประสิทธิผลการจัดการเรียนรู้ของครูในโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสกลนคร
Teacher Functional Competency Affecting the Effectiveness of Learning Management of Teacher Schools under the Secondary Educational Service Area Office Sakon Nakhon
ผู้จัดทำ
มงกุฎ วงศ์สาคร รหัส 64421229106 ระดับ ปริญญาโท
หลักสูตร
ครุศาสตรมหาบัณฑิต (ค.ม.) สาขาวิชา การบริหารการศึกษา
ปี พ.ศ.
2566
ที่ปรึกษา
ดร. สุมัทนา หาญสุริย์ ประธานที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. ภัทรดร จั้นวันดี กรรมการที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์
บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษา เปรียบเทียบ หาความสัมพันธ์ หาอำนาจพยากรณ์ และหาแนวทางการพัฒนาสมรรถนะประจำสายงานของครูที่ส่งผลต่อประสิทธิผลการจัดการเรียนรู้ของครูในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสกลนครตามความคิดเห็นของผู้อำนวยการโรงเรียน หัวหน้างานวิชาการ และครูผู้สอน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ผู้อำนวยการโรงเรียน หัวหน้างานวิชาการ และครูผู้สอน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสกลนคร ปีการศึกษา 2565 จำนวน 346 คน ประกอบด้วย ผู้อำนวยการโรงเรียน 45 คน หัวหน้างานวิชาการ 45 คน และครูผู้สอน 256 คน กำหนด ขนาดกลุ่มตัวอย่างตามตารางของ Krejcie and Morgan และใช้การสุ่มกลุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้นภูมิ (Stratified Random Sampling) เครื่องมือเป็นแบบสอบถามและแบบสัมภาษณ์ โดยแบบสอบถามสมรรถนะประจำสายงานของครู  มีอำนาจจำแนกอยู่ระหว่าง 0.44 - 0.71 มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.79 และประสิทธิผลการจัดการเรียนรู้ของครู มีอำนาจจำแนกอยู่ระหว่าง 0.37 - 0.85 มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.78 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One - Way ANOVA) การวิเคราะห์ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์อย่างง่ายของเพียร์สัน (Pearson’s Product - Moment Correlation Coefficient) และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ  แต่ละขั้นตอน (Stepwise Multiple Regression Analysis)

                 ผลการวิจัยพบว่า

        1. สมรรถนะประจำสายงานของครู โดยรวม อยู่ในระดับมาก

        2. ประสิทธิผลการจัดการเรียนรู้ของครู โดยรวม อยู่ในระดับมาก

        3. สมรรถนะประจำสายงานของครู จำแนกตามสถานภาพ การดำรงตำแหน่งและประสบการณ์ในการปฏิบัติงาน พบว่า โดยรวมไม่แตกต่างกัน และจำแนกตามขนาดของโรงเรียน โดยรวมแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

        4. ประสิทธิผลการจัดการเรียนรู้ของจำแนกตามสถานภาพ การดำรงตำแหน่งและประสบการณ์ในการปฏิบัติงาน พบว่า โดยรวมไม่แตกต่างกัน และจำแนกตามขนาดของโรงเรียน โดยรวมแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01

        5. สมรรถนะประจำสายงานของครูกับประสิทธิผลการจัดการเรียนรู้ ของครูมีความสัมพันธ์กันในทางบวกอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 โดยมีความสัมพันธ์อยู่ในระดับสูง (rxy = 0.758)

        6. สมรรถนะประจำสายงานของครู จำนวน 3 ด้าน 1) การสร้างความสัมพันธ์และความร่วมมือกับชุมชนเพื่อการจัดการเรียนรู้ 2) การบริหารหลักสูตร และ การจัดการเรียนรู้ และ 3) การวิเคราะห์ สังเคราะห์ และการวิจัยเพื่อพัฒนานักเรียน ที่สามารถพยากรณ์ประสิทธิผลการจัดการเรียนรู้ของครู ได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 โดยมีอำนาจพยากรณ์ ร้อยละ 64.70 และ มีความคลาดเคลื่อนมาตรฐานของการพยากรณ์เท่ากับ .22624       

        7. แนวทางการพัฒนาสมรรถนะประจำสายงานของครู จำนวน 3 ข้อ ที่ส่งผลต่อประสิทธิผลการจัดการเรียนรู้ของครู คือ 1) การสร้างความสัมพันธ์และความร่วมมือกับชุมชนเพื่อการจัดการเรียนรู้ 2) การบริหารหลักสูตรและการจัดการเรียนรู้   3) การวิเคราะห์สังเคราะห์ และการวิจัยเพื่อพัฒนานักเรียน

Abstract

The purposes of this research were to examine, compare, and determine the relationship, identify the predictive power, and establish guidelines for developing functional competency of teachers affecting the effectiveness of learning management of teachers in schools under the Secondary Educational Service Area Office Sakon Nakhon (SESAO Sakon Nakhon), as perceived by school directors, heads of academic affairs, and teachers. The sample in the research, obtained through stratified random sampling, consisted of 45 school directors, 45 heads of academic affairs, and 256 teachers, yielding a total of 346 participants working under the SESAO Sakon Nakhon in the academic year 2022. The sample size was determined according to the table of Krejcie and Morgan. The research instruments included interview forms and a set of questionnaires on the functional competency of teachers and the effectiveness of learning management of teachers with the discriminative power ranging from 0.44 to 0.71, and 0.37 to 0.85 with the reliability of 0.79, and 0.78, respectively. Statistics for data analysis were frequency, percentage, mean, standard deviation, One - Way ANOVA Pearson’s product-moment correlation coefficient, and Stepwise multiple regression analysis.  

        The findings were as follows:

        1. The functional competency of teachers was overall at a high level.

        2. The effectiveness of learning management of teachers was overall at a high level.

        3. The functional competency of teachers as perceived by participants with different positions and work experience showed no differences overall, whereas there was a difference in school sizes at the .05 level of significance overall.

        4. The effectiveness of learning management of teachers, in terms of positions and work experience, overall showed no differences, whereas there was a difference in school sizes at the .01 level of significance overall.

        5. The functional competency of teachers and the effectiveness of learning management of teachers in schools had a positive relationship at the .01 level of significance with a high level of correlation (rxy= .758).

        6. The functional competency of teachers encompassed three aspects: 1) building relationships and collaboration with communities for learning management, 2) administering curriculum and learning management, and 3) engaging in analysis, synthesis, and research for student development. These aspects could predict the effectiveness of learning management of teachers at the  .01 level of significance with the predictive power of 64.70 percent and the Standard Error Estimate of ±.22624.

        7. The proposed guidelines for developing functional competency of teachers affecting the effectiveness of learning management of teachers in schools under SESAO  Sakon Nakhon consisted of three aspects needing improvement:                1) building relationships and collaboration with communities for learning management, 2) administering curriculum and learning management, and 3) engaging in analysis, synthesis, and research for student development

คำสำคัญ
สมรรถนะประจำสายงานของครู ประสิทธิผลการจัดการเรียนรู้ของครู
Keywords
Teacher Functional Competency, Effectiveness of Learning Management of Teacher
ไฟล์วิทยานิพนธ์
ลำดับที่ ดาวน์โหลดไฟล์ ขนาดไฟล์
1 fulltext 7,353.34 KB
วันที่นำเข้าข้อมูล
28 ตุลาคม 2566 - 09:50:28
View 125 ครั้ง


^