สืบค้นเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) จากฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ (Thesis Database) ของบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร
การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อศึกษา เปรียบเทียบ หาความสัมพันธ์หาอำนาจพยากรณ์ และหาแนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารที่ส่งผลต่อประสิทธิผลการบริหารงานวิชาการในโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 2 ตามความคิดเห็นของผู้บริหารโรงเรียนและครูผู้สอนการวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยแบบผสมผสาน โดยกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ผู้บริหารและครูผู้สอนในโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 2 ปีการศึกษา 2565 จำนวน 329 คน ประกอบด้วยผู้บริหารโรงเรียน 108 คน และครูผู้สอน 221 คน กำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างตามตารางของ Krejcie and Morgan และใช้การสุ่มแบบหลายขั้นตอน (Multi - stage Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูลเป็นแบบสอบถาม แบบมาตราส่วนประมาณค่า 2 ด้าน คือ ด้านที่ 1 ภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหาร มีอำนาจจำแนกอยู่ระหว่าง 0.48 - 0.89 มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.96 ด้านที่ 2 ประสิทธิผลการบริหารงานวิชาการในโรงเรียนมีอำนาจจำแนกอยู่ระหว่าง 0.77 - 0.89 มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.93 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบ t - test ชนิด Independent Samples ส่วนการทดสอบขนาดของโรงเรียน ใช้การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One - Way ANOVA) การวิเคราะห์ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์อย่างง่ายของเพียร์สัน (Pearson’s Product - Moment Correlation Coefficient) และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณแต่ละขั้นตอน (Stepwise Multiple Regression Analysis)
ผลการวิจัยพบว่า
1. ภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหาร โดยรวม อยู่ในระดับมาก
2. ผลการเปรียบเทียบภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหาร จำแนกตามสถานภาพการดำรงตำแหน่ง โดยรวมไม่แตกต่างกัน จำแนกตามขนาดของโรงเรียนโดยรวม พบว่า แตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
3. ประสิทธิผลการบริหารงานวิชาการในโรงเรียน โดยรวม อยู่ในระดับมาก
4. ผลการเปรียบเทียบประสิทธิผลการบริหารงานวิชาการในโรงเรียน จำแนกตามสถานภาพการดำรงตำแหน่ง โดยรวมไม่แตกต่างกัน จำแนกตามขนาดของโรงเรียนโดยรวม แตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
5. ภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารกับประสิทธิผลการบริหารงานวิชาการในโรงเรียน มีความสัมพันธ์กันในทางบวกอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 โดยมีความสัมพันธ์อยู่ในระดับต่ำ (rxy = 0.293)
6. ภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหาร ด้านการพัฒนาวิชาชีพครูและบุคลากรด้านวิชาการ สามารถพยากรณ์ประสิทธิผลการบริหารงานวิชาการในโรงเรียน ได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 โดยมีอำนาจพยากรณ์ ร้อยละ 10.7 และ มีความคลาดเคลื่อนมาตรฐาน ของการพยากรณ์เท่ากับ ±.52866
7. แนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารที่ส่งผลต่อประสิทธิผลการบริหารงานวิชาการในโรงเรียน คือ ด้านการพัฒนาวิชาชีพครูและบุคลากรด้านวิชาการ ดังนี้ 1) ผู้บริหารต้องมีความรู้ความสามารถ วิชาชีพและการบริหารงานด้านวิชาการ 2) ผู้บริหาร ต้องเป็นต้นแบบที่ดีในวิชาชีพและการบริหารงานวิชาการ 3) ผู้บริหารสนับสนุนให้มีการใช้สื่อเทคโนโลยีและนวัตกรรม ให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงของสังคม 4) ผู้บริหารให้การส่งเสริมสนับสนุน ช่วยเหลือ แก่ครูและบุคลากรด้านวิชาการ ในการพัฒนาตนเองด้านวิชาชีพ และการบริหารงานวิชาการ และ 5) ผู้บริหารให้ความสำคัญในการจัดให้มีการอบรม สัมมนา เพื่อเพิ่มความรู้ ความสามารถ และทักษะ ในการทำงานให้แก่ครูและบุคลากร
The purposes of this mixed method research were to examine, compare, and determine the relationship, identify the predictive power, and establish guidelines for developing instructional leadership of administrators affecting the effectiveness of academic affairs administration in schools under Sakon Nakhon Primary Educational Service Area Office 2. The sample group, obtained through multi - stage random sampling, consisted of 329 participants, including 108 school administrators and 221 teachers working in schools under Sakon Nakhon Primary Educational Service Area Office 2 in the academic year 2022. The Krejcie and Morgan table was also applied for determining the sample size. The tool for data collection was a set of questionnaires on instructional leadership with the discriminative power ranging from 0.48 to 0.89 and the reliability of 0.96, and the effectiveness of academic affairs administration in schools with the discriminative power ranging from 0.77 to 0.89 and the reliability of 0.93. Statistics for data analysis were frequency, percentage, mean, standard deviation, t - test for Independent Samples, One - Way ANOVA, Pearson’s product -moment correlation coefficient, and Stepwise multiple regression analysis.
The findings were as follows:
1. The instructional leadership of administrators was overall at a high level.
2. The overall instructional leadership of administrators, classified by positions, did not differ. There was a significant difference at the .01 level of significance across school sizes.
3. The effectiveness of the school academic affairs administration was overall at a high level.
4. The overall effectiveness of the school academic affairs administration showed no difference in terms of positions. In terms of school sizes, there was a significantly different at the .01 level of significance.
5. The instructional leadership of administrators and the effectiveness of the school academic affairs administration had a positive relationship at the .01 level of significance with a low level (rxy = .293).
6. The instructional leadership consisting of the professional development of teachers and school personnel in academic affairs could predict the effectiveness of school academic affairs administration at the .01 level of significance with the predictive power of 10.7 percent and the standard error of estimate of ±.52866.
7. The guidelines for developing administrators’ instructional leadership affecting the effectiveness of the school academic affairs administration regarding professional development of teachers and personnel in academic affairs, were: 1) Administrators must possess knowledge and abilities of the profession and academic affairs administration, 2) Administrators must be good role models in the profession and academic affairs administration, 3) Administrators should encourage technology and innovation utilization to keep pace with social changes, 4) Teachers and academic personnel should receive administrative support for self-professional development and academic affairs administration, and 5) Administrators should give organizing training and seminars a high priority to improve teachers’ and personnel’s knowledge, competence, and skills.
ลำดับที่ | ดาวน์โหลดไฟล์ | ขนาดไฟล์ |
1 | fulltext | 11,210.40 KB |