ฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ (E-Thesis) SNRU

สืบค้นเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) จากฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ (Thesis Database) ของบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร

ชื่อวิทยานิพนธ์
ความต้องการจำเป็นและแนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงในยุควิถีใหม่ของผู้บริหารสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 2
Needs and Guidelines for Developing Transformational Leadership in the New Normal Era of School Administrators under Sakon Nakhon Primary Educational Service Area Office 2
ผู้จัดทำ
วงศกร เพียรชนะ รหัส 64421229111 ระดับ ป.โท ภาคพิเศษ
หลักสูตร
ครุศาสตรมหาบัณฑิต (ค.ม.) สาขาวิชา การบริหารการศึกษา
ปี พ.ศ.
2566
ที่ปรึกษา
ดร.เพ็ญผกา ปัจจนะ , รองศาสตราจารย์ ดร.ทัศนา ประสานตรี
บทคัดย่อ

การวิจัยในครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อศึกษา เปรียบเทียบและศึกษาความต้องการจำเป็นและแนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงในยุควิถีใหม่ของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 2  ตามความคิดเห็นของผู้บริหารสถานศึกษาและครูผู้สอน กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษาและครูผู้สอน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 2 ปีการศึกษา 2565 จำนวน 329 คน จำแนกเป็นผู้บริหารสถานศึกษา จำนวน 108 คน และครูผู้สอน จำนวน 221 คน โดยใช้การสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้น (Stratified random sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล เป็นแบบสอบถามสภาพปัจจุบันของภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงในยุควิถีใหม่ มีค่าอำนาจจำแนก อยู่ระหว่าง 0.601 – 0.912 และมีค่าความเชื่อมั่น เท่ากับ 0.986 และแบบสอบถามสภาพที่พึงประสงค์มีค่าอำนาจจำแนกอยู่ระหว่าง 0.460 – 0.979 และค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.989 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าดัชนีความต้องการจำเป็น การทดสอบสมมติฐานใช้สถิติการทดสอบค่าสถิติที (t-test) การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One-Way ANOVA) และการคำนวณระดับความต้องการจำเป็นใช้วิธี Modified Priority Needs Index (PNImodified) 

ผลการวิจัย พบว่า

1. ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงในยุควิถีใหม่มีสภาพปัจจุบันโดยรวมอยู่ในระดับมาก (x ̅ = 3.99) ส่วนสภาพที่พึงประสงค์โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด (x ̅ = 4.85)

2. สภาพปัจจุบันของภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงในยุควิถีใหม่ จำแนกตามประสบการณ์ในการปฏิบัติงาน โดยรวม พบว่า มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ส่วนจำแนกตามสถานภาพการดำรงตำแหน่งและขนาดโรงเรียนโดยรวม พบว่าไม่แตกต่างกัน 

3. สภาพที่พึงประสงค์ของภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงในยุควิถีใหม่ จำแนกตามสถานภาพการดำรงตำแหน่ง โดยรวม พบว่า มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ส่วนจำแนกตามประสบการณ์ในการปฏิบัติงาน และจำแนกตามขนาดโรงเรียน โดยรวม พบว่า มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 

4. ความต้องการจำเป็นในการพัฒนาภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงในยุควิถีใหม่ ตามความคิดเห็นของผู้บริหารสถานศึกษาและครูผู้สอน โดยเรียงลำดับความสำคัญของความต้องการจำเป็นจากมากไปหาน้อย คือ ด้านการตัดสินใจและมีความยืดหยุ่นตามสถานการณ์ ด้านทักษะเทคโนโลยีดิจิทัล และลำดับสุดท้าย คือ ด้านการคำนึงถึงความเป็นปัจเจกบุคคล 

5. แนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงในยุควิถีใหม่ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 2 ที่ได้จากการเก็บข้อมูลภาคสนามของโรงเรียนที่มีความเป็นเลิศ (Best Practice) เกี่ยวกับภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงในยุควิถีใหม่ ทั้ง 3 ด้าน จนประสบผลสำเร็จเป็นที่ประจักษ์ มี 3 ด้าน ดังนี้ 1) ด้านการตัดสินใจและมีความยืดหยุ่นตามสถานการณ์ ผู้บริหารสถานศึกษาควรใช้กระบวนการของการพัฒนาและวิเคราะห์ตัวเลือก และเลือกระหว่างตัวเลือกที่มีอยู่ เพื่อแก้ปัญหาหรือคว้าโอกาสที่มีอยู่ไว้ได้และการปรับตัวให้เข้ากับสถานการณ์ต่าง ๆ 2) ด้านทักษะเทคโนโลยีดิจิทัล ควรนำเทคโนโลยีมาใช้ในงานที่เกี่ยวกับการประมวลผลข้อมูลเพื่อให้ได้สารสนเทศ ที่นำมาสนับสนุนการทำงาน 3) ด้านการคำนึงถึงความเป็นปัจเจกบุคคล ควรมีกระบวนการวินิจฉัยและยกระดับความต้องการของบุคลากรโดยคำนึงถึงความเป็นเอกัตถะบุคคลเป็นสำคัญ
 

Abstract

The purposes of this research were to study, compare, and examine needs and guidelines for developing transformational leadership in the new normal era of school administrators under Sakon Nakhon Primary Educational Service Area Office 2 (SNK-PESAO 2), as perceived by school administrators and teachers. The sample group, selected through stratified random sampling, consisted of 329 participants, including 108 school administrators and 221 teachers working under SNK-PESAO 2 in the academic year 2022. The instrument for data collection included sets of questionnaires on current conditions of transformational leadership in the new normal era under SNK-PESAO 2 with the discriminative power ranging from 0.601 to 0.912 and the reliability of 0.986 and a set of questionnaires on desirable conditions with the discriminative power from 0.460 to 0.979 and the reliability of 0.989. Statistics for data analysis were percentage, mean, standard deviation, and Priority Needs Index. The hypothesis was tested using a t-test, and One-Way ANOVA. The Modified Priority Needs Index (PNImodified = (I-D)/D was calculated to decide the level of needs.

The results showed that:

1. The current conditions regarding transformational leadership in the new normal era were overall at a high level (x ̅= 3.99). However, at the highest level (x ̅= 4.85), the desirable conditions for transformational leadership were overall observed. 

2. The overall current conditions of transformational leadership in the new normal era, classified by position and work experience showed differences at the .05 level of significance, but there were no differences in school sizes. 

3. The desirable conditions of transformative leadership in the new normal era, classified by position, showed no differences overall and in each aspect. In terms of work experience and school sizes, overall, there were differences at the .05 level of significance.

4. The need for developing transformational leadership in the new normal era as perceived by participants was established by ranking in order of significance, starting from the most to the least important, namely decision-making and flexibility, followed by digital technology skills, and individualized consideration. 

5. Guidelines for developing transformative leadership in the new normal era under Sakon Nakhon Primary Educational Service Area Office 2 were derived from filed notes of exemplary practices in all three aspects requiring improvement as follows: 1) Decision-Making and Flexibility. School administrators should utilize the systematic process of developing and analyzing alternatives and making decisions on already-existing alternatives in order to effectively address challenges or capitalize on opportunities and adapt to changing circumstances; 2) Digital Technology Skills. School administrators should employ technology that is integrated with data processing capabilities to gather relevant information to support their work; and 3) Individualized Consideration. It is recommended that a procedure for diagnosing and upgrading personnel needs be established, treating individuals as significant stakeholders in the process. 
 

คำสำคัญ
ความต้องการจำเป็น ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงในยุควิถีใหม่
Keywords
Needs, Transformational Leadership in the New Normal Era
ไฟล์วิทยานิพนธ์
ลำดับที่ ดาวน์โหลดไฟล์ ขนาดไฟล์
1 fulltext 4,936.45 KB
วันที่นำเข้าข้อมูล
5 กรกฎาคม 2566 - 10:15:20
View 659 ครั้ง


^