ฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ (E-Thesis) SNRU

สืบค้นเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) จากฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ (Thesis Database) ของบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร

ชื่อวิทยานิพนธ์
ปัจจัยทางการบริการที่ส่งผลต่อประสิทธิผลการจัดการเรียนรวมในโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาในจังหวัดสกลนคร
Administrative Factors Affecting the Effectiveness of Inclusive Education Management in Schools under the Primary Educational Area Office in Sakon Nakhon Province
ผู้จัดทำ
ชัชวาล ไวแสน รหัส 64421229112 ระดับ ปริญญาโท
หลักสูตร
ครุศาสตรมหาบัณฑิต (ค.ม.) สาขาวิชา การบริหารการศึกษา
ปี พ.ศ.
2566
ที่ปรึกษา
รองศาสตราจารย์ ดร.ไชยา ภาวะบุตร ประธานที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.วิจิตรา วงศ์อนุสิทธิ์ กรรมการที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์
บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา เปรียบเทียบ หาความสัมพันธ์ หาอำนาจพยากรณ์ และหาแนวทางการพัฒนาปัจจัยทางการบริหารที่ส่งผลต่อประสิทธิผลการจัดการเรียนรวมในโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาในจังหวัดสกลนครตามความคิดเห็นของผู้บริหารสถานศึกษาและครูผู้สอน การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยแบบผสมผสาน โดยกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษาและครูผู้สอนในโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาในจังหวัดสกลนคร ปีการศึกษา 2565 จำนวน 398 คน ประกอบด้วย ผู้บริหารสถานศึกษา 109 คน และครูผู้สอน 289 คน กำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างตามตารางของ Krejcie and Morgan และใช้การสุ่มกลุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้น (Stratified Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูลเป็นแบบสอบถาม แบบมาตราส่วนประมาณค่า 2 ด้าน คือ ด้านที่ 1 ปัจจัยทางการบริหาร มีอำนาจจำแนกอยู่ระหว่าง 0.60 - 0.83 มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.96 ด้านที่ 2 ประสิทธิผลการจัดการเรียนรวมในโรงเรียน มีอำนาจจำแนกอยู่ระหว่าง 0.33 - 0.84 มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.95 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานการทดสอบ t-test ชนิด Independent Samples การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว One-Way ANOVA) การวิเคราะห์ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์อย่างง่ายของเพียร์สัน (Pearson’s Product-Moment Correlation Coefficient)

และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณแต่ละขั้นตอน (Stepwise Multiple Regression Analysis)
             ผลการวิจัยพบว่า

                 1. ปัจจัยทางการบริหาร โดยรวม อยู่ในระดับมาก

                 2. ผลการเปรียบเทียบปัจจัยทางการบริหารจำแนกตามสถานภาพการดำรงตำแหน่งและขนาดของโรงเรียนโดยรวมพบว่า แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ.01

                 3. ประสิทธิผลการจัดการเรียนรวมในโรงเรียน โดยรวม อยู่ในระดับมาก

                 4. ผลการเปรียบเทียบประสิทธิผลการจัดการเรียนรวมในโรงเรียน จำแนกตามสถานภาพการดำรงตำแหน่งและขนาดของโรงเรียนโดยรวม แตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01

                 5. ปัจจัยทางการบริหารกับประสิทธิผลการจัดการเรียนรวมในโรงเรียนมีความสัมพันธ์กันในทางบวกอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 โดยมีความสัมพันธ์อยู่ในระดับต่ำ (rxy = 0.280)

                 6. ปัจจัยทางการบริหาร ด้านการพัฒนาบุคลากรและด้านการจูงใจ สามารถพยากรณ์ประสิทธิผลการจัดการเรียนรวมในโรงเรียน ได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
โดยมีอำนาจพยากรณ์ ร้อยละ 31.70 และมีความคลาดเคลื่อนมาตรฐานของการพยากรณ์เท่ากับ ±.34377

                 7. แนวทางการพัฒนาปัจจัยทางการบริหารที่ส่งผลต่อประสิทธิผลการจัดการเรียนรวมในโรงเรียน คือ ด้านการพัฒนาบุคลากรและด้านการจูงใจ ดังนี้ 1) ส่งเสริมให้ครูและบุคลากรเข้ารับการอบรมประชุม และสัมมนาเกี่ยวกับการจัดการเรียนรวมอย่างต่อเนื่อง 2) ส่งเสริมและพัฒนาครูบุคลากรในด้านการจัดการเรียนการสอนสำหรับนักเรียนที่มีความต้องการจำเป็นพิเศษที่เรียนรวมในชั้นเรียนปกติ 3) ผู้บริหารมีความเป็นมิตรกับครูและบุคลากรในโรงเรียน และ 4) ผู้บริหารยกย่องชมเชย หรือประกาศเกียรติคุณครูและบุคลากรทางการศึกษาที่มีผลงานดีเด่น
 

Abstract

The mixed methods research study aimed to explore, compare, and ascertain the relationship, determine the predictive power, and establish guidelines for developing administrative factors that affected the effectiveness of inclusive education managementin schools under the Primary Educational Service Area Office (PESAO) in Sakon Nakhon Province, as perceived by school administrators and teachers. A total of 398 participants were included in the research sample, comprising 109 school administrators and 289 teachers who worked under the PESAO in Sakon Nakhon Province in the 2022 academic year. Participant selection for the study involved employing stratified random sampling, based on the sample size determined using the Krejcie and Morgan table. Questionnaires with the following two aspects were used for data collection: administrative factors and the effectiveness of inclusive education management in schools with the discriminative power ranging from 0.60 to 0.83, and 0.33 to 0.84, and reliability of 0.96, and 0.95, respectively. Statistics for data analysis included frequency, percentage, mean and standard deviation, Independent Samples t-test, One-Way ANOVA, Pearson's product-moment correlation coefficient, and Stepwise multiple regression analysis.

             The results revealed that:
                 1. The administrative factors were overall at a high level.
                 2. The administrative factors, classified by participants’ positions and school sizes, showed overall differences at the .01 level of significance.
                 3. The effectiveness of inclusive education management in schools was overall at a high level.
                 4. The effectiveness of inclusive education management in schools, categorized by participants’ positions and school sizes showed overall differences at the .01 level of significance.
                 5. The administrative factors and the effectiveness of inclusive education management in schools had a positive correlation at the .01 level of significance, with a low level of correlation (rxy = 0.280).
                 6. The administrative factors in terms of personnel development and motivation could predict the effectiveness of inclusive education management in schools at the .01 level of significance with the predictive power of 31.70 percent and the standard error of estimate of ±.34377.
                 7. Guidelines for developing the administrative factors affecting the effectiveness of inclusive education management in schools comprised 1) promoting the attendance of teachers and personnel in ongoing training programs and seminars that focus on inclusive education continuously, 2) promoting and enhancing the professional development of teachers and personnel in teaching and learning management for students with special needs into mainstream classrooms, 3) fostering a supportive working environment for teachers and personnel in schools, and 4) recognizing teachers and educational personnel who demonstrate outstanding achievements through certificates or public commendations.

คำสำคัญ
ปัจจัยทางการบริหาร การจัดการเรียนรวม
Keywords
Administrative Factors, Inclusive Education
ไฟล์วิทยานิพนธ์
ลำดับที่ ดาวน์โหลดไฟล์ ขนาดไฟล์
1 fulltext 6,935.37 KB
วันที่นำเข้าข้อมูล
27 ตุลาคม 2566 - 15:32:20
View 223 ครั้ง


^