ฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ (E-Thesis) SNRU

สืบค้นเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) จากฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ (Thesis Database) ของบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร

ชื่อวิทยานิพนธ์
ความต้องการจำเป็นและแนวทางการพัฒนาการดำเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนของโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 1
Needs and Guidelines for Developing the Operation of the Student Assistance System for Educational Opportunity Expansion Schools under Sakon Nakhon Primary Education Service Area Office 1
ผู้จัดทำ
เชาวลิต ยิ้มแย้ม รหัส 64421229126 ระดับ ป.โท ภาคพิเศษ
หลักสูตร
ครุศาสตรมหาบัณฑิต (ค.ม.) สาขาวิชา การบริหารการศึกษา
ปี พ.ศ.
2566
ที่ปรึกษา
รองศาสตราจารย์ ดร.สายันต์ บุญใบ , ดร.ชรินดา พิมพบุตร
บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความต้องการจำเป็นและแนวทางการพัฒนาการดำเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนของโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 1 กลุ่มตัวอย่าง ที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ผู้บริหารโรงเรียนและครูประจำชั้น ในโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา ประจำปีการศึกษา 2565 จำนวน 320 คน กำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างใช้ตารางของ Krejcie and Morgan วิธีการเลือกกลุ่มตัวอย่างใช้การเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) และการสุ่มกลุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้น (Stratified Random Sampling) จำแนกเป็น ผู้บริหารโรงเรียน จำนวน 65 คน และครูประจำชั้น จำนวน 255 คน เครื่องมือที่ใช้ ในการเก็บข้อมูลเป็นแบบสอบถามประมาณค่า 5 ระดับ เกี่ยวกับสภาพปัจจุบัน มีค่าอำนาจจำแนกอยู่ระหว่าง .626 - .898 และมีค่าความเชื่อมั่น เท่ากับ .988 และสภาพที่พึงประสงค์มีค่าอำนาจจำแนกอยู่ระหว่าง .438 - .957 และค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ .949   ประกอบไปด้วย 1) ด้านการรู้จักนักเรียนเป็นรายบุคคล  2) ด้านการคัดกรองนักเรียน 3) ด้านการพัฒนาส่งเสริมนักเรียน 4) ด้านการป้องกันและแก้ไขปัญหา และ 5) ด้านการ ส่งต่อนักเรียน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ทดสอบสมมติฐานโดยใช้การวิเคราะห์ t - test, One - Way ANOVA และ ค่าระดับ ความต้องการจำเป็น Modified Priority Needs Index (PNImodified)

ผลการวิจัยพบว่า

1. สภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์ในการดำเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนของโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา ตามความคิดเห็นของผู้บริหารโรงเรียน และครูประจำชั้น โดยรวมอยู่ในระดับมาก และมากที่สุดตามลำดับ

2. สภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์ในการดำเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนของโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา ตามความคิดเห็นของผู้บริหารโรงเรียน และครูประจำชั้น จำแนกตามสถานภาพการดำรงตำแหน่ง ขนาดโรงเรียน และประสบการณ์โดยรวมและรายด้าน ไม่แตกต่างกัน

3. ความต้องการจำเป็นในการดำเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนของโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา ตามความคิดเห็นของผู้บริหารโรงเรียน และครูประจำชั้น เรียงตามลำดับตามความต้องการจำเป็นจากมากไปหาน้อยดังนี้ ด้านการพัฒนาส่งเสริมนักเรียน ด้านการคัดกรองนักเรียน ด้านการป้องกันและแก้ไขปัญหา ด้านการส่งต่อนักเรียน และด้านการรู้จักนักเรียนเป็นรายบุคคล 

4. แนวทางการพัฒนาการดำเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนของโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา จำนวน 5 ด้าน ประกอบด้วย ควรมีการวางแผนการดำเนินงานเพื่อเก็บรวบรวมข้อมูลพื้นฐานของนักเรียนเป็นรายบุคคล จัดทำแนวทางในการรวบรวมข้อมูลที่ชัดเจนในด้านต่างๆ ควรมีการคัดกรองนักเรียนเป็น 3 กลุ่ม คือกลุ่มปกติ กลุ่มเสี่ยง และกลุ่มมีปัญหา โดยมีแบบเยี่ยมบ้านแบบประเมินพฤติกรรมเด็ก SDQ เป็นรายบุคคลตามกลุ่มที่คัดกรอง เพื่อดำเนินการเกี่ยวกับการส่งเสริมและพัฒนานักเรียน กลุ่มปกติ กลุ่มเสี่ยงและกลุ่มมีปัญหา โดยการจัดกิจกรรมโฮมรูม และการจัดกิจกรรมประชุมผู้ปกครองชั้นเรียนอย่างต่อเนื่องและรายงานผลการดำเนินงานในการจัดกิจกรรมทุกครั้ง ควรให้คำแนะนำปรึกษาเบื้องต้นแก่นักเรียน และมีการบันทึกผลการช่วยเหลือ แก้ไขปัญหาและติดตามผลนักเรียน และควรสร้างระบบ ขั้นตอน ในการส่งต่อทั้งการช่วยเหลือจากภายในและการช่วยเหลือจากภายนอก
 

Abstract

The purposes of this research were to examine the needs and guidelines for developing the operation of the student assistance system for educational opportunity expansion schools (EOES) under Sakon Nakhon Primary Education Service Area Office 1 (SNK - PESAO 1). The sample groups were school administrators and class teachers in EOES schools.The samples were 320 students under SNK - PESAO 1 in the second semester of the academic year 2022. The sample size was determined using the Krejcie and Morgan tables. The samples, 65 school administrators, and 255 class teachers were selected by purposive sampling, and stratified random sampling. The research instrument was a 5 – level rating scale questionnaire on the current condition with the discriminative power ranging from .626 - .898 and the reliability of .988 and the desirable condition with the discriminative power ranging from .438 - .957 and the reliability of .949 consisting of 1) individual reference, 2) student screening, 3) student development and support, 4) prevention and solution, and 5) referral. The statistics used for data analysis were percentage, mean, and standard deviation. The hypothesis was tested by using t-test, One-Way ANOVA, and Modified Priority Needs Index (PNImodified).

The results revealed that:

1. Current and desirable conditions for the operation of the student assistance system of the EOES schools under SNK - PESAO 1, as perceived by school administrators and class teachers were overall at a high level, and the highest level, respectively.

2. Current and desirable conditions for the operation of the student assistance system of the EOES schools under SNK - PESAO 1, classified by participants’ position, school sizes, and work experience, showed no differences overall and each aspect.

3. Needs for the operation of the student assistance system of the EOESs under SNK - PESAO 1, as perceived by participants were sorted in the following order: student development and support, screening, prevention and solution, referral, and individual reference.

4. Guidelines for developing the operation of the student assistance system for the EOES schools consisted of five aspects: Setting operational plans for collecting basic information on individual students as well as establishing clear guidelines for obtaining data in various aspects. The screening process should categorize students into three groups: normal, at - risk, and problematic. Home visit forms and students’ behavior assessments were utilized to obtain relevant information. The Strengths and Difficulties Questionnaire (SDQ) was also required to be conducted with the normal student group. Schools are advised to organize ongoing homeroom activities and parent - teacher meetings for at - risk, and problematic students, and report all activity operations. Students should receive preliminary counseling and their progress should be recorded. A referral system should be established to receive assistance from both internal and external resources.
 

คำสำคัญ
ความต้องการจำเป็น แนวทางพัฒนา ระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน
Keywords
Needs, Development Guidelines, Student Assistance System
ไฟล์วิทยานิพนธ์
ลำดับที่ ดาวน์โหลดไฟล์ ขนาดไฟล์
1 fulltext 6,026.63 KB
วันที่นำเข้าข้อมูล
25 กรกฎาคม 2566 - 21:53:59
View 524 ครั้ง


^