ฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ (E-Thesis) SNRU

สืบค้นเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) จากฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ (Thesis Database) ของบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร

ชื่อวิทยานิพนธ์
ความต้องการจำเป็นและแนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำดิจิทัลของผู้บริหารโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 3
Needs Assessment and Guidelines for Developing Digital Leadership of School Administrators under Sakon Nakhon Primary Educational Service Area Office 3
ผู้จัดทำ
วรวุฒิ ไชยสัตย์ รหัส 64421229127 ระดับ ป.โท ภาคพิเศษ
หลักสูตร
ครุศาสตรมหาบัณฑิต (ค.ม.) สาขาวิชา การบริหารการศึกษา
ปี พ.ศ.
2566
ที่ปรึกษา
รองศาสตราจารย์ ดร.ศิกานต์ เพียรธัญญกรณ์ ประธานที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์ ดร.ประภัสร สุภาสอน กรรมการที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์
บทคัดย่อ

การศึกษาวิจัยในครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อศึกษา เปรียบเทียบ และหาแนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำดิจิทัลของผู้บริหารโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 3 ตามความคิดเห็นของผู้บริหารโรงเรียนและครูผู้สอน กลุ่มตัวอย่างได้แก่ ผู้บริหารโรงเรียนและครูผู้สอน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 3 ปีการศึกษา 2565 จำนวน 374 คน โดยใช้การสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้น (Stratified random sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถามเกี่ยวกับสภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์ภาวะผู้นำดิจิทัลของผู้บริหารโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 3 โดยสภาพปัจจุบันของแบบสอบถามภาวะผู้นำดิจิทัลของผู้บริหารโรงเรียน มีค่าอำนาจจำแนกอยู่ระหว่าง .630 - .898 และมีค่าความเชื่อมั่น เท่ากับ .988 แบบสอบถามสภาพที่พึงประสงค์มีค่าอำนาจจำแนกอยู่ระหว่าง .507 - .974 และค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ .991 ตามลำดับสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลคือ ค่าร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย (Mean) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation) ทดสอบสมมติฐานโดยใช้สถิติการทดสอบค่าสถิติที (t - test) การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว ใช้สถิติทดสอบ One - Way ANOVA และการคำนวณระดับความต้องการจำเป็นใช้วิธี Modified Priority Needs Index (PNImodified ) โดยใช้สูตร  PNImodified  = (I-D)/ D

             ผลการวิจัย พบว่า

                 1. สภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์ภาวะผู้นำดิจิทัลของผู้บริหารโรงเรียน โดยรวมอยู่ในระดับมากและมากที่สุดตามลำดับ

                2. สภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์ภาวะผู้นำดิจิทัลของผู้บริหารโรงเรียน จำแนกตามสถานภาพการดำรงตำแหน่ง พบว่า โดยรวมและรายด้านไม่แตกต่างกัน จำแนกตามขนาดโรงเรียน พบว่า โดยรวมแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และจำแนกตามประสบการณ์การในการปฏิบัติงาน พบว่า ไม่แตกต่างกัน

                3. ความต้องการจำเป็นของภาวะผู้นำดิจิทัลของผู้บริหารโรงเรียน โดยเรียงลำดับความสำคัญของความต้องการจำเป็นจากมากไปหาน้อย ดังนี้ 1) ด้านการบริหารจัดการโครงสร้าง 2) ด้านความสามารถในการใช้ดิจิทัล 3) ด้านความเป็นผู้นำดิจิทัล ด้านการสื่อสาร 4) ด้านการสร้างวัฒนธรรมดิจิทัล และ 5) ด้านการมีวิสัยทัศน์ดิจิทัล

                4. แนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำดิจิทัลของผู้บริหารโรงเรียนที่ได้จากการศึกษาดูงานโรงเรียนที่มีความเป็นเลิศ (Best Practice) ในด้านการนำเทคโนโลยีดิจิทัลมาใช้ในการบริหารจัดการศึกษา จนประสบผลสำเร็จเป็นที่ประจักษ์ ควรได้รับการพัฒนาทั้งหมด 6 ด้าน ดังนี้ 1) ด้านการบริหารจัดการโครงสร้าง ผู้บริหารโรงเรียนต้องบริหารจัดการโครงสร้างพื้นฐานรูปแบบการทำงานที่เป็นรูปธรรมอย่างเป็นระบบและมีประสิทธิภาพ 2) ด้านความสามารถในการใช้ดิจิทัล ผู้บริหารโรงเรียนต้องใช้ความรู้ความสามารถด้านเทคโนโลยีดิจิทัลในการบริหารจัดการศึกษาได้อย่างมีประสิทธิภาพ 3) ด้านความเป็นผู้นำดิจิทัล ผู้บริหารโรงเรียนต้องมีภาวะผู้นำดิจิทัลอย่างชัดเจน เป็นแบบอย่างที่ดีในการนำเทคโนโลยีดิจิทัลมาใช้ในการบริหารงานสถานศึกษา 4) ด้านการสื่อสารดิจิทัล ผู้บริหารโรงเรียนต้องเป็นแบบอย่างที่ดีในการใช้เทคโนโลดิจิทัลในการติดต่อสื่อสารผ่านเครือข่ายสังคมออนไลน์ 5) ด้านการสร้างวัฒนธรรมดิจิทัล ผู้บริหารโรงเรียนต้องสร้างวัฒนธรรมดิจิทัล รู้กฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับเป็นอย่างดี และ6) ด้านการมีวิสัยทัศน์ดิจิทัล ผู้บริหารโรงเรียนต้องเป็นผู้นำวิสัยทัศน์ด้านเทคโนโลยีดิจิทัลให้ทุกคนในองค์กรมีส่วนร่วมในการออกแบบวิสัยทัศน์ เป้าหมาย พันธกิจ และกลยุทธ์ไปในทิศทางเดียวกัน

Abstract

The research aimed to examine, compare and establish guidelines for developing digital leadership of school administrators under Sakon Nakhon Primary Educational Service Area Office 3 (Sakon Nakhon PESAO 3) as perceived by school administrators and teachers. The sample group, obtained through stratified random sampling, included 374 school administrators and teachers under Sakon Nakhon PESAO 3 in the academic year 2022. The tool for data collection was a set of questionnaires on current and desirable conditions for school administrators’ digital leadership under Sakon Nakhon PESAO 3. The questionnaire on the current condition of school administrators’ digital leadership had the discriminative power from .630 to .898 and the reliability of .988. The desirable condition questionnaire had the discriminative power from .507 to .974 and the reliability of .991. Statistics for data analysis were percentage, mean, standard deviation, hypothesis testing using t-test, and One-Way ANOVA. Modified Priority Needs Index (PNImodified ) was calculated with needs assessment using the formula PNImodified  = (I-D)/D.

             The research results were as follows:

                 1. The overall current and desirable conditions of school administrators’ digital leadership were, respectively, at the high and highest levels.

                 2. The overall and individual current and desirable conditions of school administrators’ digital leadership, classified by positions, showed no differences. There were differences at the .01 level of significance in the school sizes, whereas there were no significant differences in terms of work experience.

                 3. The needs assessment of school administrators’ digital leadership was ranked in descending order as follows: 1) structural management, 2) digital literacy and usage, 3) digital leadership, 4) communication, 5) creation of digital culture, and 6) digital visions.

                 4. Guidelines for fostering school administrators’ digital leadership were obtained from a school visit of best practices for integrating digital technology in educational administration, with the following six areas in need of improvement: 1) Structural management, school administrators must manage systematically and effectively the underlying framework of the concrete work model; 2) Digital literacy and usage, school administrators must employ their knowledge of and skills in digital technology to administer education effectively; 3) Digital leadership, school administrators must demonstrate clear digital leadership and be good role models in integrating digital technology into practices, 4) Digital communication, school administrators must be good role models in  through n school administration; 4) Digital Communication, school administrators must set good examples in using digital technology to communicate via social networks; 5) Creation of digital culture, school administrators must foster a digital culture, and possess comprehensive legal knowledge, rules and regulations; and 6) Digital visions, school administrators must be leaders in digital technology visions by involving everyone in the organization in creating the vision, goal, mission and strategy statements that all point in the same direction.

คำสำคัญ
ความต้องการจำเป็น ภาวะผู้นำดิจิทัล
Keywords
Needs Assessment, Digital Leadership
ไฟล์วิทยานิพนธ์
ลำดับที่ ดาวน์โหลดไฟล์ ขนาดไฟล์
1 fulltext 5,796.17 KB
วันที่นำเข้าข้อมูล
3 สิงหาคม 2566 - 10:09:51
View 466 ครั้ง


^