ฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ (E-Thesis) SNRU

สืบค้นเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) จากฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ (Thesis Database) ของบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร

ชื่อวิทยานิพนธ์
ความต้องการจำเป็นและแนวทางการพัฒนาประสิทธิผลการบริหารงานพัสดุในโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบึงกาฬ
Needs Assessment and Guidelines for Developing the Effectiveness of Supply Administration in Schools under Bueng Kan Primary Educational Service Area Office
ผู้จัดทำ
ทัดชัย วงค์คำจันทร์ รหัส 64421229128 ระดับ ป.โท ภาคพิเศษ
หลักสูตร
ครุศาสตรมหาบัณฑิต (ค.ม.) สาขาวิชา การบริหารการศึกษา
ปี พ.ศ.
2566
ที่ปรึกษา
ดร.สุมัทนา หาญสุริย์ , ดร.รัชฎาพร งอยภูธร
บทคัดย่อ

การศึกษาวิจัยในครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อศึกษา สภาพปัจจุบัน สภาพที่พึงประสงค์ ความต้องการจำเป็น และหาแนวทางการพัฒนาประสิทธิผลการบริหารงานพัสดุในโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบึงกาฬ ตามความคิดเห็นของผู้บริหารสถานศึกษาและครูผู้สอน กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษาและครูผู้สอน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบึงกาฬ ปีการศึกษา 2565 จำนวน 330 คน จำแนกเป็นผู้บริหารสถานศึกษา จำนวน 104 คน และครูผู้สอน จำนวน 226 คน โดยใช้การสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้น (Stratified Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถามเกี่ยวกับสภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์ของประสิทธิผลการบริหารงานพัสดุในโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบึงกาฬ โดยสภาพปัจจุบันของแบบสอบถามของประสิทธิผลการบริหารงานพัสดุในโรงเรียน มีค่าอำนาจจำแนกอยู่ระหว่าง .376 - .847 และมีค่าความเชื่อมั่น เท่ากับ .956 แบบสอบถามสภาพที่พึงประสงค์มีค่าอำนาจจำแนกอยู่ระหว่าง .421 - .882 และค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ .972 ตามลำดับ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าดัชนีความต้องการจำเป็น

ผลการวิจัย พบว่า

1. ประสิทธิผลการบริหารงานพัสดุในโรงเรียน สภาพปัจจุบันโดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง (x ̅ = 3.47) ส่วนสภาพที่พึงประสงค์ของโดยรวมอยู่ในระดับมาก(x ̅ = 4.15)

2. สภาพปัจจุบันของประสิทธิผลการบริหารงานพัสดุในโรงเรียน จำแนกตามสถานภาพการดำรงตำแหน่ง โดยรวม พบว่า มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 จำแนกตามประสบการณ์ในการปฏิบัติงาน พบว่า มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และจำแนกตามขนาดโรงเรียน โดยรวม พบว่า มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 

3. สภาพที่พึงประสงค์ของประสิทธิผลการบริหารงานพัสดุในโรงเรียนจำแนกตามสถานภาพการดำรงตำแหน่ง พบว่า โดยรวมและรายด้านไม่แตกต่างกัน จำแนกตามประสบการณ์ในการปฏิบัติงาน พบว่า มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และจำแนกตามขนาดโรงเรียน โดยรวม พบว่า มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 

4. ความต้องการจำเป็นในการพัฒนาประสิทธิผลการบริหารงานพัสดุในโรงเรียน ตามความคิดเห็นของผู้บริหารสถานศึกษาและครูผู้สอน โดยเรียงลำดับความสำคัญของความต้องการจำเป็นจากมากไปหาน้อย ดังนี้ อันดับแรก คือ ด้านการเก็บ การบันทึก การเบิกจ่าย รองลงมา คือ ด้านการบำรุงรักษา การตรวจสอบ ลำดับสุดท้ายมีสองด้าน คือ ด้านการยืมและด้านการจำหน่ายพัสดุ 

5. แนวทางการพัฒนาประสิทธิผลการบริหารงานพัสดุในโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบึงกาฬ ที่ได้จากการลงพื้นที่ศึกษาดูงานโรงเรียนที่มีความเป็นเลิศ (Best Practice) ในการบริหารงานพัสดุในโรงเรียน จนประสบผลสำเร็จเป็นที่ประจักษ์ ควรได้รับการพัฒนาทั้งหมด 4 ด้าน ดังนี้ 1) ด้านการเก็บ การบันทึก การเบิกจ่าย 2) ด้านการยืม 3) ด้านการบำรุงรักษา การตรวจสอบและ 4) ด้านการจำหน่ายพัสดุ 
 

Abstract

This research study aimed to examine the current and desirable conditions, and needs, and to establish guidelines for developing the effectiveness of supply administration under Bueng Kan Primary Educational Service Area Office (Bueng Kan PESAO), as perceived by school administrators and teachers. The sample group, obtained through stratified random sampling, consisted of 104 school administrators and 226 teachers working under Bueng Kan PESAO in the academic year 2022, yielding a total of 330 participants. The tools for data collection included a set of questionnaires on current and desirable conditions of the effectiveness of supply administration in schools under Bueng Kan PESAO with the discriminative power ranging from .376 to .847, and from .421 to .882 and the reliability of. 956 and .972, respectively. The statistics for data collection included percentage, mean, standard deviation, and Priority Needs Index.

The findings were as follows:

1. The current condition of the effectiveness of supply administration in schools was overall at a moderate level (x ̅ = 3.47), whereas the desirable condition was overall at a high level (x ̅ = 4.15).

2. The overall current condition of the effectiveness of supply administration in schools, classified by position, work experience, and school sizes, indicated a significant difference at the .01 level. 

3. The desirable condition of the effectiveness of supply administration in schools, classified by position, was not different overall and in each aspect. A significant difference was found regarding work experience at the .01 level, whereas there was a significant difference at the .05 level in terms of school sizes.

4. The need for improving the effectiveness of supply administration in schools, as perceived by school administrators and teachers, was ranked in order of priority from the most to the least as follows: Collection, records, and requisition, followed by maintenance and inspection, borrowing, and disposal of supplies, respectively.

5. Guidelines for improving the effectiveness of supply administration in schools under Bueng Kan PESAO, drawn from field study visits of best-practice schools with effective supply administration, comprised four aspects needing improvement as follows: 1) Collection, records, requisition, 2) Borrowing 3) Maintenance and inspection, and 4) Disposal of supplies.
 

คำสำคัญ
ความต้องการจำเป็น แนวทางการพัฒนา การบริหารงานพัสดุ
Keywords
Needs, Development Guidelines, Supply Administration
ไฟล์วิทยานิพนธ์
ลำดับที่ ดาวน์โหลดไฟล์ ขนาดไฟล์
1 fulltext 4,746.11 KB
วันที่นำเข้าข้อมูล
5 กรกฎาคม 2566 - 10:04:24
View 462 ครั้ง


^