ฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ (E-Thesis) SNRU

สืบค้นเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) จากฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ (Thesis Database) ของบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร

ชื่อวิทยานิพนธ์
ปัจจัยความเครียดของผู้บริหารที่ส่งผลต่อสมรรถนะทางการบริหารของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาสกลนคร เขต 1
Stress Factors of Administrators Affecting the Administrative Competence of School Administrators under Sakon Nakhon Educational Service Area Office 1
ผู้จัดทำ
วิศรุต มากกลาง รหัส 64421229132 ระดับ ปริญญาโท
หลักสูตร
ครุศาสตรมหาบัณฑิต (ค.ม.) สาขาวิชา การบริหารการศึกษา
ปี พ.ศ.
2566
ที่ปรึกษา
รองศาสตราจารย์ ดร.ศิกานต์ เพียรธัญญกรณ์ ประธานที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์ ดร.ฤทัยทรัพย์ ดอกคำ กรรมการที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์
บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา เปรียบเทีบบ หาความสัมพันธ์ หาอำนาจพยากรณ์ และหาแนวทางปรับระดับปัจจัยความเครียดของผู้บริหารที่ส่งผลต่อสมรรถนะทางการบริหารของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา สกลนคร เขต 1 ตามความคิดเห็นของผู้บริหาร กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยเป็นผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 1 จำนวน   109 คน ประกอบด้วย ผู้บริหารสถานศึกษาเพศชาย จำนวน 71 คน และผู้บริหารสถานศึกษาเพศหญิง จำนวน 38 คน จากโรงเรียน 109 โรงเรียน วิธีสุ่มตัวอย่างใช้การสุ่มแบบหลายขั้นตอน (Multi – Stage Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถาม มีลักษณะเป็นมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ แบ่งเป็น 3 ตอน คือ ตอนที่ 1 สถานภาพและข้อมูลทั่วไป ตอนที่ 2 ปัจจัยความเครียดของผู้บริหาร มีค่าอำนาจจำแนกระหว่าง 0.53 - 0.91 และมีค่าความเชื่อมั่น 0.98 และตอนที่ 3 สมรรถนะทางการบริหารของผู้บริหาร มีค่าอำนาจจำแนกอยู่ระหว่าง 0.46 - 0.92 และมีค่าความเชื่อมั่น 0.99 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบที (t-test ชนิด Independent Samples) การทดสอบเอฟ (F-test) ชนิดOne-Way ANOVA ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์อย่างง่ายของเพียร์สัน และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณแต่ละขั้นตอน            

 

             ผลการวิจัยพบว่า

                 1. ปัจจัยความเครียดของผู้บริหารสถานศึกษา โดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง

                 2. สมรรถนะทางการบริหารของผู้บริหารสถานศึกษาโดยรวม อยู่ในระดับมากที่สุด

                 3. ปัจจัยความเครียดของผู้บริหารสถานศึกษา จำแนกตามเพศของผู้บริหาร ขนาดโรงเรียน และประสบการณ์ในการปฏิบัติงาน พบว่า โดยรวมไม่มีความแตกต่างกัน

                 4. สมรรถนะทางการบริหารของผู้บริหารสถานศึกษา จำแนกตามเพศของผู้บริหาร ขนาดโรงเรียน และประสบการณ์ในการปฏิบัติงาน พบว่า โดยรวมไม่มีความแตกต่างกัน

                 5. ปัจจัยความเครียดของผู้บริหารสถานศึกษาโดยรวม (X) กับสมรรถนะทางการบริหารของผู้บริหารสถานศึกษาโดยรวม (Y) มีความสัมพันธ์กัน อยู่ในระดับต่ำ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01

                 6. ปัจจัยความเครียดของผู้บริหารสถานศึกษา ที่นำมาวิเคราะห์จำนวน 5 ด้าน พบว่า มีจำนวน 2 ด้าน ที่สามารถพยากรณ์สมรรถนะทางการบริหารของผู้บริหารสถานศึกษาได้ โดยมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ได้แก่ ด้านสภาพแวดล้อม และด้านความสัมพันธ์ของบุคคลในหน่วยงาน

                 7. การวิจัยครั้งนี้ได้นำเสนอแนวทางปรับระดับปัจจัยความเครียดของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อสมรรถนะทางการบริหารของผู้บริหารสถานศึกษาซึ่งมี     2 ด้าน คือ ด้านสภาพแวดล้อม และด้านความสัมพันธ์ของบุคคลในหน่วยงาน ให้มีความเหมาะสม

Abstract

The purposes of this research were to examine, compare, and determine the relationship, identify the predictive power, and establish guidelines for managing the level of stress factors affecting the administrative competence of school administrators under Sakon Nakhon Educational Service Area Office 1, as perceived by administrators. The sample group, obtained through multi-stage random sampling, included 71 male school administrators and 38 female school administrators, yielding a total of 109 participants working under Sakon Nakhon Primary Educational Service Area Office 1. The instrument comprised a set of 5-point scale questionnaires with three parts as follows:  Part 1: Demographic characteristics and personal information, Part 2: Stress levels of administrators with the discriminative power ranging from 0.53 to 0.91, and the reliability of 0.98, and Part 3: Administrative competency of administrators with the discriminative power ranging from 0.46 to 0.92 and the reliability of 0.99. Statistics for data analysis were frequency, percentage, mean, standard deviation, t-test for Independent Samples, One-way ANOVA F-test, Pearson's simple correlation coefficient, and Stepwise multiple regression analysis.

             The findings were as follows:

                 1. The stress factors of administrators were overall at a medium level.

                 2. The administrative competency of school administrators was overall at the highest level.

                 3. The stress factors of school administrators classified by administrators’ gender, school sizes, and work experience overall showed no differences.

                 4. The administrative competency of school administrators, classified by administrators’ gender, school sizes, and work experience overall showed no differences.

                 5. The stress factors of school administrators (X) and the administrative competency of school administrators (Y) had a low-level relationship at the .01 level of significance.

                 6. The stress factors of school administrators were analyzed covering five aspects. Out of these, two aspects, namely the environment and interpersonal relationships within the organization, could predict the administrative competency of school administrators at the .01 level of significance.

                 7. This research has proposed guidelines for managing the level of stress factors of administrators affecting the administrative competency of school administrators in two aspects: the environment and interpersonal relationships within the organization.

คำสำคัญ
ปัจจัยความเครียด สมรรถนะทางการบริหาร
Keywords
Stress Factors, Administrative Competency
ไฟล์วิทยานิพนธ์
ลำดับที่ ดาวน์โหลดไฟล์ ขนาดไฟล์
1 fulltext 7,752.42 KB
วันที่นำเข้าข้อมูล
27 ตุลาคม 2566 - 15:42:44
View 247 ครั้ง


^