ฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ (E-Thesis) SNRU

สืบค้นเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) จากฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ (Thesis Database) ของบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร

ชื่อวิทยานิพนธ์
ความต้องการจำเป็น และแนวทางพัฒนาภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารโรงเรียนขนาดเล็ก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบึงกาฬ
Needs and Guidelines for Developing Transformational Leadership of Administrators from Small-Sized Schools under Bueng Kan Primary Educational Service Area Office
ผู้จัดทำ
พิตรพิบูล มนทาน้อย รหัส 64421229134 ระดับ ป.โท ภาคพิเศษ
หลักสูตร
ครุศาสตรมหาบัณฑิต (ค.ม.) สาขาวิชา การบริหารการศึกษา
ปี พ.ศ.
2566
ที่ปรึกษา
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สวัสดิ์ โพธิวัฒน์ , ดร.ระภีพรรณ ร้อยพิลา
บทคัดย่อ

การศึกษาวิจัยในครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อศึกษาสภาพที่เป็นจริง สภาพที่พึงประสงค์ ความต้องการจำเป็น และหาแนวทางพัฒนาภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารโรงเรียนขนาดเล็ก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบึงกาฬ กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ บุคลากรในโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบึงกาฬ ปีการศึกษา 2565 จำนวน 292 คน จำแนกเป็นผู้บริหารโรงเรียน จำนวน 73 คน และครูผู้สอน จำนวน 219 คน กำหนดกลุ่มตัวอย่างจากตารางของ Krejcie และ Morgan แล้วเลือกโดยสุ่มอย่างง่าย (Simple Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย เป็นแบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ ดังนี้ สภาพที่เป็นจริงมีค่าอำนาจจำแนกรายข้ออยู่ระหว่าง .91 - .95 และมีค่าความเชื่อมั่น เท่ากับ .81 และสภาพที่พึงประสงค์มีค่าอำนาจจำแนกรายข้ออยู่ระหว่าง .89 - .96 และค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ .96 ตามลำดับ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าดัชนีความต้องการจำเป็น ทดสอบสมมติฐานโดยใช้การวิเคราะห์ t-test และ One-way ANOVA

ผลการวิจัย พบว่า

1. สภาพที่เป็นจริงของภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารโรงเรียนขนาดเล็ก โดยรวมอยู่ในระดับมาก ส่วนสภาพที่พึงประสงค์ โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด 

2. ผลการเปรียบเทียบความแตกต่างสภาพที่เป็นจริงของภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารโรงเรียนขนาดเล็ก จำแนกตามตำแหน่งหน้าที่ พบว่า มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 สภาพที่พึงประสงค์ พบว่า โดยรวมและด้านการมีอิทธิพลอย่างมีอุดมการณ์ ด้านการสร้างแรงบันดาลใจ ด้านการกระตุ้นการใช้ปัญญา และด้านการคำนึงถึงความเป็นปัจเจกบุคคล แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ในส่วนด้านการมีวิสัยทัศน์ แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

3. ผลการเปรียบเทียบความแตกต่างสภาพที่เป็นจริงของภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารโรงเรียนขนาดเล็ก จำแนกตามประสบการณ์ในการปฏิบัติงาน พบว่า โดยรวมและรายด้านทุกด้าน ไม่แตกต่างกัน สภาพที่พึงประสงค์ โดยรวม พบว่า แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 เมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า ด้านการมีวิสัยทัศน์ แตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ในส่วนด้านการมีอิทธิพลอย่างมีอุดมการณ์ ด้านการสร้างแรงบันดาลใจ และด้านการกระตุ้นการใช้ปัญญา แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 

4. ความต้องการจำเป็นในการพัฒนาภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารโรงเรียนขนาดเล็ก สามารถจัดลำดับก่อนหลังได้ โดยเรียงลำดับความสำคัญของความต้องการจำเป็นจากมากไปหาน้อย ดังนี้ การมีอิทธิพลอย่างมีอุดมการณ์ การคำนึงถึงความเป็นปัจเจกบุคคล และการมีวิสัยทัศน์ 

5.  แนวทางพัฒนาภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารโรงเรียนขนาดเล็ก จากการลงพื้นที่ศึกษาดูงานโรงเรียนที่มีความเป็นเลิศ (Best Practice) ทั้ง 2 โรงเรียน ผู้วิจัยสามารถสรุปเป็นแนวทางพัฒนาภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงผู้บริหารโรงเรียนขนาดเล็ก ในแต่ละด้าน ดังนี้ 1) การมีอิทธิพลอย่างมีอุดมการณ์ ผู้บริหารโรงเรียนควรประพฤติปฏิบัติตนเป็นแบบอย่างหรือเป็นโมเดลสำหรับครูหรือบุคลากร เป็นผู้นำด้านนวัตกรรม  มีเป้าหมายที่ชัดเจน 2) การคำนึงถึงความเป็นปัจเจกบุคคล ผู้บริหารโรงเรียนควรพัฒนาศักยภาพของครูให้สูงขึ้น มีการทำงานเป็นทีม ทำงานแบบพี่แบบน้อง ทำงานเป็นระบบตามสายงานรับผิดชอบ โดยเปิดโอกาสให้ครูได้เรียนรู้สิ่งใหม่ ๆ และ 3) การมีวิสัยทัศน์ ผู้บริหารโรงเรียนต้องมีการกำหนดวิสัยทัศน์ร่วมกันของทุกภาคส่วนอย่างชัดเจน
 

Abstract

This research study aimed to examine current and desirable conditions, and needs, and establish guidelines for developing transformational leadership of administrators from small-sized schools under Bueng Kan Primary Educational Service Area Office. The sample group consisted of school personnel working under Bueng Kan Primary Educational Service Area office in the academic year 2022, totaling 292 participants, including 73 school administrators and 219 teachers. A sample was drawn from Krejcie and Morgan's table and was randomly selected. The research tool utilized was a 5-point rating scale questionnaire assessing current conditions, with the discriminative power ranging from .91 to .95 and the reliability of .81, as well as desirable conditions, with the determinative power ranging from .89 to .96 and the reliability of .96. Statistics for data analysis were percentage, mean, standard deviation and Priority Needs Index. The hypothesis was tested using t-test analysis, and One-way ANOVA.

The findings were as follows:    

1. The current conditions of transformational leadership of small-sized school administrators were overall at a high level, whereas the desirable conditions were overall at the highest level.

2. The comparison results on the differences revealed that the current conditions of transformational leadership of small-sized school administrators with different positions showed differences at the .01 level of significance. The desirable conditions showed that idealized influence, inspirational motivation, Intellectual stimulation, and individualized consideration were different at the .01 level of significance in overall and each aspect. In terms of vision, there was a difference at the .05 level of significance.

3. The comparison results on the differences revealed the current conditions of transformational leadership of small-sized school administrators with different work experience, overall and in each aspect, showed no differences. The overall desirable conditions differed at the .01 level of significance. When considering each aspect, the vision was different at the .01 level of significance. Idealized influence, inspirational motivation, and intellectual stimulation differed at the .05 level of significance.

4. The need for developing transformational leadership among small-sized school administrators could be prioritized by ordering the needs from the most to the least importance as follows: Idealized Influence, Individualized Consideration, and Vision.

5. Guidelines for developing transformational leadership of small-sized school administrators were derived from two study visits to the best practice schools comprised: 1) Idealized Influence, school administrators should be role models or models for teachers or personnel, and innovative leaders with clear goals, 2) Individualized Consideration, school administrators should cultivate the capabilities of teachers, foster teamwork, promote a family-like work environment, and adhere to a clear chain of responsibility by providing opportunities for teachers to acquire new knowledge and skills, and 3) Vision, school administrators must create a clear and shared vision of all sectors.
 

คำสำคัญ
ความต้องการจำเป็น ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลง
Keywords
Needs, Transformational Leadership
ไฟล์วิทยานิพนธ์
ลำดับที่ ดาวน์โหลดไฟล์ ขนาดไฟล์
1 fulltext 10,142.45 KB
วันที่นำเข้าข้อมูล
5 กรกฎาคม 2566 - 09:44:35
View 278 ครั้ง


^