สืบค้นเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) จากฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ (Thesis Database) ของบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร
การวิจัยครั้งนี้เป็นงานวิจัยเชิงสหสัมพันธ์ (Correlation Research) มีความมุ่งหมายเพื่อศึกษาเปรียบเทียบ ศึกษาความสัมพันธ์ และหาแนวทางการพัฒนาความสัมพันธ์ระหว่างการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลกับประสิทธิผลการบริหารงานในโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบึงกาฬ กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษา ครูผู้สอนและครูผู้รับผิดชอบงานด้านเทคโนโลยีดิจิทัล ในปีการศึกษา 2565 จำนวน 330 คน กำหนดขนาดของกลุ่มตัวอย่างโดยใช้ตารางของเครจซี่และมอร์แกนและสุ่มแบบหลายขั้นตอน (Multi-Stage Random Sampling) การเก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม ชนิดมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ คือแบบสอบถามการใช้เทคโนโลยีดิจิทัล มีความเชื่อมั่น เท่ากับ .930 และแบบสอบถามประสิทธิผลการบริหารงานโรงเรียน มีความเชื่อมั่น เท่ากับ .929 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติทดสอบค่าเอฟ (F-test) การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One-Way ANOVA) และค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์อย่างง่ายของเพียร์สัน (Pearson’s Product-Moment Correlation Coefficient)
ผลการวิจัยพบว่า
1. การใช้เทคโนโลยีดิจิทัลกับประสิทธิผลการบริหารงานในโรงเรียน อยู่ในระดับมากที่สุด
2. การใช้เทคโนโลยีดิจิทัลกับประสิทธิผลการบริหารงานในโรงเรียน จำแนกตามสถานภาพกับประสบการณ์ในการปฏิบัติงาน พบว่า โดยรวมมีความคิดเห็นแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .05 ขนาดของโรงเรียนมีความคิดเห็นไม่แตกต่างกัน
3. ความสัมพันธ์ระหว่างการใช้เทคโนโลยีดิจิทัล (X) และประสิทธิผลการบริหารงานในโรงเรียน (Y) มีความสัมพันธ์ทางบวก อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 อยู่ในระดับสูงมาก (rXY = .980)
4. แนวทางการพัฒนาการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลในโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบึงกาฬ เสนอแนะไว้ 4 ด้าน ประกอบด้วย 1) ด้านการสื่อสารดิจิทัล ผู้บริหารต้องติดตามข่าวสารการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีดิจิทัลและการสื่อสารอยู่เสมอ ต้องกระตุ้นให้บุคลากรมีความเข้าใจการสื่อสารผ่านสื่อ และเครื่องมือทางดิจิทัลในแง่มุมต่าง ๆ 2) ด้านการใช้ดิจิทัล ผู้บริหารโรงเรียนต้องมีทักษะการใช้ดิจิทัลในการบริหารงานโรงเรียน และส่งเสริมให้บุคลากรสามารถนำทักษะการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลเข้ามาช่วยในการปฏิบัติงานได้อย่างเหมาะสม 3) ด้านการสร้างดิจิทัล ผู้บริหารต้องมีเครือข่ายเพื่อสร้างนวัตกรรมบริการดิจิทัล ต้องเป็นผู้นำในการสร้างสรรค์ความรู้ใหม่และส่งเสริมให้บุคลากรเข้ารับการอบรมการสร้างสื่อดิจิทัล และ 4) ด้านการประเมินดิจิทัล ผู้บริหารมีการวัดและประเมินผลการปฏิบัติงานโดยใช้เทคโนโลยีดิจิทัล จัดทำระบบการประเมิน มาตรฐานการประเมินการใช้เทคโนโลยีดิจิทัล และผู้บริหารเป็นผู้นำทางด้านการประเมินดิจิทัล
The purposes of this correlation research were to examine, compare, and identify the relationship and establish guidelines for developing the relationship between the use of digital technology and the administrative effectiveness in schools under Bueng Kan Primary Educational Service Area Office. The sample group consisted of 330 participants, including school administrators, teachers, and teachers in charge of digital technology from the academic year 2022. The sample size was determined using Krejcie and Morgan’s table and multi-stage random sampling. The data collection involved sets of 5-point Likert scale questionnaires with the reliability of .930 on the use of digital technology, and the reliability of .929 on the administrative effectiveness in schools. The data analysis was frequency, percentage, mean, standard deviation, the one-way ANOVA F test, and Pearson's product-moment correlation coefficient.
The findings were as follows:
1. The use of digital technology and the administrative effectiveness in schools were at the highest level.
2. The use of digital technology and the administrative effectiveness in schools, classified by participants’ positions and work experience, overall, were differences at the .05 level of significance, but there were no differences in school sizes.
3. There was a positive relationship between the use of digital technology (X) and the administrative effectiveness in schools (Y) at the .01 level of significance with the highest level (rXY = .980).
4. The guidelines for improving the use of digital technology in schools under Bueng Kan Primary Educational Service Area Office encompassed four aspects: 1) Digital Communication: Administrators must consistently stay updated on digital technology and communication. They must ensure that personnel understand the various aspects of communication through digital media and tools, 2) Digital Use: Administrators must have digital skills in school administration and encourage personnel to integrate digital technology skills in performing their duties appropriately, 3) Digital Creation: Administrators must establish a network for fostering digital service innovation, and be a leader that creates new knowledge and encourage personnel to engage in digital media training, and 4) Digital Assessment: Administrators are responsible for measuring and evaluating performance using digital technology, and implement an assessment system and standards for assessing the effective use of digital technology. Administrators should also take the lead in digital assessment practices.
ลำดับที่ | ดาวน์โหลดไฟล์ | ขนาดไฟล์ |
1 | fulltext | 8,222.25 KB |